วันนี้ (2 ส.ค.2567) เมื่อเวลา 16.00 น.นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล ชี้แจงเนื้อหาและสรุปข้อต่อสู้ในเอกสารคำ แถลงปิดคดี ที่พรรคก้าวไกล ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนที่ถึงวันที่ 7 ส.ค.นี้ ศาลรัฐธรรมนูญ นัดอ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคก้าวไกล
อ่านข่าว “ชัยธวัช-พิธา” จ่อแถลงคดียุบพรรคก้าวไกล 2 ส.ค.นี้
นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล
นายชัยธวัช กล่าวว่า การที่รัฐธรรมนูญมิได้กำหนดให้ไว้เป็นอำนาจพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยได้ และศาลรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 210 วรรค 1 ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบว่าด้วยกฎหมายร่างกฎหมายพิจารณาวิฉิจฉัยอำนาจหน้าที่ของสภา และองค์กรอิสระ และหน้าที่อำหนาจหน้าที่บัญญติในรัฐธรรมนูญ
แต่ในบทบัญญัติปี 2540-2550 มีบทบัญญัติไว้ แต่ในปี 2560 ไม่มีบทบัญญัติไว้ชัดแจ้ง แม้ว่าพรป.นักการเมืองจะให้อำนาจวินิจฉัยยุบพรรคการเมือง คือกรณียุบพรรคอนาคตใหม่
การทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ การทำคำวินิจฉัยไม่ได้เปิดช่องใดๆ ให้ออกกฎหมายใดเพิ่มเขตอำนาจศาล นอกเหนือจากที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ดังนั้น จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงไม่สามรถนำคดียุบพรรคอนาคตใหม่มาเป็นบรรทัดฐานในการยุบพรรคก้าวไกลได้
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์
กกต.ยื่นยุบพรรคมิชอบด้วยกฎหมาย
นอกจากนี้ การยื่นำคำร้องในคดีนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้ยุบพรรคก้าวไกลมิชอบด้วยกฎหมาย เพราะการเสนอคดีของกกต.มิชอบด้วยกฎหมาย
เหตุผลคือการที่นายทะเบียนพรรคการเมืองให้ขยายข้อเท็จจริง เพราะเห็นว่าต้องรวบรวมอีกจำนวนมาก เพื่อให้ข้อเท็จจริงที่ แต่กกต.มุ่งหมายยุบพรรรคก้าวไกลโดยไม่รอให้นายทะเบียน
อ่านข่าว "ชัยธวัช"แถลงชี้คำร้องยุบ "ก้าวไกล" ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การเสนอคำร้อง เป็นข้อกล่าวหาที่แตกต่างจากข้อกล่าคดีเดิม 3/2567 ที่ให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล เลิกกระทำ แต่ กกต.กลับไม่แสวงหาข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน และไม่เปิดโอกาสให้พรรคก้าวไกลมีโอกาสโต้แย้งในขั้นตอนเสนอ ศาลเป็นการวินิจฉัยด้วยข้อกล่าวกล่าวหาใหม่มาใช้ในการยุบพรรค
ศาลรัฐธรรมนูญต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่
อ่านข่าว กสม.ชี้ "ทักษิณ" รับสิทธิรักษาพยาบาลเหนือนักโทษอื่น
“ก้าวไกล” ประเดิมพรรคแรกถูกยุบหลังมีกฎหมายปี 60
ด้านนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กล่าวว่า มีเส้นแบ่งระหว่างคดีของพรรคก้าวไกล และพรรคอื่นในอดีต ที่เคยถูกยุบมาจากระเบียบของ กกต.ที่เพิ่งผ่านเป็นกฎหมาย ก.พ.2560 ไม่ว่าจะเป็นพรรคอนาคตใหม่ ไทยรักษาชาติ หรือย้อนตั้งแต่ไทย รักไทย ไม่มีระเบียบของกกต.ในการการรวบรวมพยานหลักฐานในการยุบพรรค
พรรคก้าวไกลเป็นพรรคแรกที่มีกระบวนการนี้เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ทำให้พรรคก้าวไกลไม่เหมือนทินพรรคอื่นที่ถูกยุบ
นายพิธา ระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2549 มีพรรคการเมืองถูกยุบ 33 พรรค นักการเมือง 249 คนถูกตัดสิทธิทางการเมือง และมีพรรคที่รอด และยกคำร้องในปี 2553 หรือ 14 ปีก่อนคดีนั้นถูกยกคำร้อง เรียกว่าเป็น 1 ใน 34 พรรคที่เข้าสู่คดียุบพรรค
เหตุที่รอดและยกคำร้องเพราะกระบวนการร้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายทะเบียนไม่ได้ทำตามสิ่งที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ให้ความเห็น ดังนั้นกรณีของพรรคก้าวไกล จึงมีเส้นแบ่งกระบวนการยุคพรรคที่ กกต.ไม่ได้ทำตามกฎหมาย
ทำให้พรรคไม่มีโอกาสรับรู้ข้อกล่าวหา ไม่มีโอกาสที่ต่อสู้ และโอกาสที่เสียไป เนื่องจาก กกต.ไม่ได้ทำตามระเบียบของตัวเองที่ร่างขึ้นเมื่อปี 2560
นายพิธา และนายชัยธวัช แถลงปิดสู้คดียุบพรรคก้าวไกล
นายพิธา ระบุว่า พรรคก้าวไกล เห็นว่าการปกป้องการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ไม่สามารถปกป้องด้วยการใช้กำลัง แต่ควรใช้วิธีเพื่อปรับสมดุล ตามยุคสมัยให้ระบอบนี้มีความยั่งยืน และได้รับการยอมรับจากประชาชน
เพราะที่ผ่านมาการโจมตี เรื่องความจงรักภักดีมีผู้นำไปใช้ในทางการเมืองและนำไปสู่การรัฐประหาร ตรวจสอบ จึงเสนอให้มีการแก้ไข ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อสร้างสมดุลที่ได้สัดส่วนระหว่างการคุ้มครองพระเกียรติยศ กับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน และรักษาดุลยภาพของ และความมั่นคงของสถาบัน รวมถึงแก้ไขความแตกต่างขัดแย้งอย่างมีวุฒิภาวะ
มั่นใจในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายของพรรคก้าวไกล เชื่อว่าพรรคก้าวไกลจะไม่ถูกยุบ ได้รับความยุติธรรม เหมือนกับพรรคการเมืองหนึ่งที่เคยได้รับเมื่อ 14 ปีแล้ว
ส่วนแนวทางหลังคำนิวิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีที่เป็นโทษกับพรรคก้าวไกลนั้น นายพิธา ยอมรับว่า คิดเอาไว้ แต่ยังไม่ถึงเวลา ตอนนี้โฟกัสในการใช้เวลาในการทำหน้าที่ผู้แทนอย่างเต็มที่
นอกจากนี้ การเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างการชุมนุมของประชาชนสามารถทำได้โดยไม่มีความรุนแรง และพรรคก้าวไกลจะไม่มีส่วนร่วมกับสิ่งที่ทำให้เกิดความรุนแรงเพื่อประโยชน์ของพรรคก้าวไกลอย่างแน่นอน ซึ่งกิจกรรมในวันที่ 7 ส.ค.นี้ ไม่ใช่การปลุกมวลชน แต่พรรคก้าวไกลเป็นสถาบันการเมืองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมมาโดยตลอด
ปัดกระแสเตรียมพรรคสำรอง
ส่วนกระแสข่าวว่าทางพรรคก้าวไกลมีการดิวพักสำรองไว้โดยล่าสุดคือพรรคถิ่นกาขาวชาววิไลนั้น นายพิทักษ์ กล่าวว่า ยังไม่ได้คิดถึงตรงนั้น เพราโฟกัสกับการสู้คดียุบพรรค เมื่อถึงเวลาคงจะมีการพูดคุยเรื่องนี้ ตอนนี้ก็ยังไม่มีมติใด ๆ และหากคำตัดสินไม่เป็นคุณ
ส่วนตัวก็ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคใหม่แล้ว และพรรคการเมืองทั่วไปก็จะมีกฎเกณฑ์ในการเรียกประชุมพรรค และสส. เพื่อดำเนินการต่าง ๆ ตามขั้นตอน ซึ่งตนก็ไม่สามารถตอบแทนได้
สมาชิกพรรค ยังคงมีความเป็นปึกแผ่นไม่ได้แตกอย่างที่เป็นกระแสข่าว ในกลุ่มแชทไลน์ยังคงมีการพูดคุย เรื่องกฎหมายในการเสนอวาระ และการตรวจสอบรัฐบาลเหมือนเดิมไม่มีอะไรที่ต้องเป็นห่วง
หลังจากเสร็จสิ้นการแถลง มีมวลชนจำนวนหนึ่งที่มาร่วมฟังการแถลง ให้กำลังใจพร้อมถ่ายรูปกับนายพิธา และชัยธวัช พร้อมพูดคุยสั้น ๆ ว่า มั่นใจว่า พรรคก้าวไกลจะรอด จากนั้นทั้งสองคนได้กล่าวขอบคุณมวลชนที่มาให้กำลังใจ
สำหรับการอ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคก้าวไกล วันที่ 7 ส.ค.นี้ เวลา 09.30 น. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยให้คู่กรณีฟัง ในวันเวลาเดียวกัน 15.00 น.
ทั้งนี้ หากวันที่ 7 ส.ค.ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำตัดสินยุบพรรคก้าวไกล จะส่งให้กรรมการบริหารพรรคก้าวไกลจะถูกตัดสิทธิทางการเมือง 10 คนดังนี้
- พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
- นายชัยธวัช ตุลาธน
- ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์
- ณกรณ์พงศ์ ศุภนิมิตรตระกูล
- นายปดิพัทธ์ สันติภาดา
- สมชาย ฝั่งชลจิตร
- นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล
- เบญจา แสงจันทร์
- อภิชาติ ศิริสุนทร
- สุเทพ อู่อ้น
อ่านข่าวอื่นๆ
เปิดรายชื่อ กก.บห.พรรคก้าวไกล หลังศาลรัฐธรรมนูญนัดชี้ขาดคดียุบพรรค
ประกาศเขตอำนาจศาลรธน.รับ 2 ศาลคดีใหญ่ 7 และ 14 ส.ค.นี้
"ศิริกัญญา" ยังหวังไม่ถูกยุบก้าวไกล เตรียมแผนสำรอง-ดีลหลายพรรค