ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้จัก "โรคไข้โอโรพุช" อันตรายหรือไม่ การติดต่อของโรคเกิดจากอะไร

สังคม
2 ส.ค. 67
14:07
1,070
Logo Thai PBS
รู้จัก "โรคไข้โอโรพุช" อันตรายหรือไม่ การติดต่อของโรคเกิดจากอะไร
อ่านให้ฟัง
05:03อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"โรคไข้โอโรพุช" อันตรายหรือไม่ การติดต่อของโรคเกิดจากอะไร ทั่วโลกพื้นพบผู้ป่วยที่ไหนบ้าง ใครเดินทางไปประเทศที่มีรายงานการระบาดของโรคนี้ แนะป้องวิธีป้องกันตัวเอง

หลายคนอาจได้ติดตามข่าว กรณีที่กระทรวงสาธารณสุขของประเทศบราซิลรายงาน เมื่อวันที่ 25 ก.ค.2567 ว่า พบผู้ป่วย "โรคไข้โอโรพุช" หรือ Oropouche Fever เสียชีวิต 2 คนแรกของโลกที่บราซิล 

ข้อมูล เมื่อวันที่ 23 ก.ค.2567 ที่ผ่านมา พบรายงานผู้ป่วยในบราซิลทั้งหมด 7,236 คน คิดเป็นอัตราป่วยเสียชีวิต ร้อยละ 0.03 ผู้เสียชีวิตทั้ง 2 คน เป็นเพศหญิง อายุน้อยกว่า 30 ปี ไม่มีโรคประจำตัว ในช่วงที่ป่วยมีอาการคล้ายไข้เลือดออก โดยผู้ป่วยอาศัยอยู่ที่รัฐบาเฮีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล

นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้ข้อมูลว่า โรคไข้โอโรพุช พบมากในประเทศแถบลาตินอเมริกาและแคริบเบียน โดยในเดือน มิ.ย.2567 มีรายงานผู้ป่วยในประเทศโบลิเวีย เปรู คิวบา และโคลอมเบีย ส่วนในไทยยังไม่เคยพบรายงานผู้ป่วยจนถึงปัจจุบัน

"โรคไข้โอโรพุช" เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง คือ Oropouche virus (OROV) ไวรัสชนิดนี้เป็นเชื้อประจำถิ่น ในพื้นที่ "ลุ่มแม่น้ำอเมซอน" และ "ไม่ใช่โรคติดต่ออุบัติใหม่"  

การพบผู้ป่วยมีรายงานในประเทศ แถบอเมริกาใต้ เช่น

  • บราซิล
  • เปรู
  • อาเจนตินา
  • โบลิเวีย
  • โคลอมเบีย

และ แถบแคริบเบียน เช่น

  • ปานามา
  • ตรินิแดด และ โตเบโก

เชื้อมีระยะฟักตัวโดยทั่วไป คือ 4-8 วัน อยู่ในช่วง 3-12 วัน โดยประมาณร้อยละ 16 มีอาการเลือดออก เช่น จุดเลือดออกที่ผิวหนัง เลือดกำเดา และเลือดออกตามไรฟัน) และมีรายงานเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningoencephalitis) แต่พบได้น้อย ส่วนอาการของโรค สามารถเช็กอาการได้ดังต่อไปนี้ 

  • ไข้เฉียบพลัน
  • หนาวสั่น
  • ปวดหัว
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ปวดข้อ
  • ปวดกระบอกตา
  • ผื่น

อ่านข่าว : ครั้งแรกของโลก! เสียชีวิต 2 คน “ไข้โอโรพุช” ระบาดบราซิล

นพ.อภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ให้ข้อมูลว่า การติดต่อของโรค มีแมลงเป็นพาหะ โดยพาหะนำโรคหลัก คือ "ตัวริ้น" (Culicoides paraensis) ซึ่งพบมากในทวีปอเมริกา

นอกจากนี้ ยุงบางชนิดสามารถเป็นพาหะของไวรัส OROV ได้ เช่น Culex quinquefasciatus, Coquillettidia venezuelensis, Mansonia venezuelensis และ Aedes serratus 

ปัจจุบันยังไม่มีรายงานการพบตัวริ้นที่เป็นพาหะหลักในประเทศไทย รวมถึงยังไม่มีรายงานในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังไม่พบหลักฐานการแพร่ระบาดระหว่างคนสู่คน ความเสี่ยงหลักของการพบผู้ติดเชื้อในประเทศไทยอาจมาจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปพื้นที่ที่มีการระบาด ซึ่งความเป็นไปได้ยังคงต่ำมาก

อีกทั้งความรุนแรงของโรคค่อนข้างน้อย ผู้เชี่ยวชาญทางระบาดวิทยาให้ความเห็นว่า ความเสี่ยงการระบาดของโรคนี้ในประเทศไทยค่อนข้างต่ำ

แต่ต้องระมัดระวังในกลุ่มผู้เดินทางไปประเทศดังกล่าว ควรป้องกันตนเองไม่ให้ถูกแมลงและยุงกัด สังเกตอาการภายหลังเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงประมาณ 2 สัปดาห์

และหากเจ็บป่วยมีอาการคล้ายโรคไข้เลือดออก คือ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะรุนแรง หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ และปวดข้อ ควรรีบไปพบแพทย์

สำหรับประชาชนที่เดินทางไปในประเทศไปที่มีรายงานการระบาดของโรคนี้โดยเฉพาะประเทศในทวีปอเมริกาใต้และแคริบเบียน มีคำแนะนำ ดังนี้

  • ป้องกันตนเองระหว่างที่เดินทางในต่างประเทศดังกล่าว ควรสวมเสื้อและกางเกงขายาว เพื่อป้องกันยุงและตัวริ้นกัด
  • ทาโลชั่นกันยุง และหลีกเลี่ยงการในสถานที่ที่มียุงหรือแมลงเยอะ
  • หากเดินทางกลับประเทศไทยแล้วมีอาการไข้เฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดกระบอกตา และผื่น ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ และรีบไปพบแพทย์ 
  • แจ้งประวัติการเดินทาง เพื่อดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคต่อไป สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร. 1422

อ่านข่าว : ไอโอซี เรียกร้องเคารพสิทธินักชกแอลจีเรีย

เยียวยา นทท.จีนต้นไม้ล้มทับสลิง Zipline ขาดตาย 1 คน

ไม่หวั่น! "อนุทิน" โยนดีอีคุมเชื่อมระบบ “ทางรัฐ-ThaiiD"

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-
ข่าวที่เกี่ยวข้อง