วันนี้ (25 ก.ค.2567) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทาง แก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำเพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ ที่มี นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นประธาน นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล เป็นรองประธาน
เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง กรณีผลกระทบจากปลาหมอคางดำอีกครั้ง โดยในวันนี้จะต้องมีผู้บริหารของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด หรือ CPF เข้าชี้แจงข้อมูลต่าง ๆ
อย่างไรก็ตามก่อนการประชุม มีเจ้าหน้าที่ซีพีเดินทางมายังรัฐสภา พร้อมนำหนังสือ ของ นายเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร ผู้บริหารสูงสุดด้านการวิจัยและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ระบุว่า ไม่สามารถเดินทางมาชี้แจงได้ เนื่องจากติดภารกิจ
สำหรับประเด็นที่อนุกรรมาธิการ ต้องการทราบจากซีพีเอฟ มี 3 ประเด็นคือ
1.รายงานการขออนุญาต และได้รับอนุญาตจากกรมประมงให้นำเข้า “ปลาหมอคางดำ” เมื่อปี 2553 พร้อมเหตุผล และความจำเป็น รวมทั้ง Proposal
ในกรณี เพื่อ “วิจัยทดลอง” ต้องระบุ ดังนี้
- เนื้อในเอกสาร ที่เป็น รายชื่อโครงการวิจัยชื่ออะไรกันแน่
- ใคร เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย
- ใช้งบประมาณในการวิจัยเท่าไร
- สมมติฐานของการวิจัย คืออะไร
- ระเบียบวิธีการวิจัย (Research Methodology) เป็นอย่างไร เลี้ยงตรงไหน บ่อเปิด - บ่อปิดเป็นอย่างไร
- มีกระบวนการกั้น หรือ ป้องกัน ไม่ให้ปลาหลุดออกไปข้างนอก มากน้อยแค่ไหนอย่างไร และการรายงานแต่ละขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ
2.“หลักฐาน” การทำลาย และ ฝังกลบ ซากปลาหมอคางดำ จำนวน 2,000 ตัว ที่ส่งให้กับ “คณะกรรมการด้านความหลากหลายและความปลอดภัยทางชีวภาพ” ของกรมประมง (Institutional Biosafety Committee : IBC) พร้อมภาพถ่าย ตัวอย่างซากปลาหมอคางดำ
3. “หลักฐาน” การนำส่งตัวอย่าง “ซากปลาหมอคางดำ” ให้กรมประมง หรือให้กับ “คณะกรรมการด้านความหลากหลายและความปลอดภัยทางชีวภาพ” ของกรมประมง เช่น หนังสือตอบรับ
อ่านข่าว : รู้จัก “ศูนย์วิจัย CPF” ไม่มีบ่อปิด-ฝังกลบ “ซากปลา” ที่ไหน
"บอร์ด กยท." ซื้อ "ปลาหมอคางดำ" 1,000 ตัน ทำ "น้ำหมักชีวภาพ"