ไทยพีบีเอส คว้ารางวัลสื่อสารเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่

สังคม
24 ก.ค. 67
14:12
268
Logo Thai PBS
ไทยพีบีเอส คว้ารางวัลสื่อสารเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
รายการฟังเสียงประเทศไทย ทางไทยพีบีเอส ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณรางวัลสื่อสารเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ประเภทสื่อมวลชน

วันที่ 23 ก.ค.2567 รายการฟังเสียงประเทศไทย ทางไทยพีบีเอส ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณรางวัลสื่อสารเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ประเภทสื่อมวลชน ซึ่งจัดขึ้นโดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 

โครงการรางวัลสื่อสารเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ เป็นกิจกรรมสำคัญส่วนหนึ่งภายใต้โครงการพัฒนาระบบการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของงานวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ซึ่งมุ่งหวังส่งเสริมกำลังใจแก่บุคคล-องค์กร-คณะบุคคล ทุกภาคส่วนในการสื่อสารสาระความรู้ สาระประโยชน์ไปสู่การรับรู้ และการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาพื้นที่

เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติแก่บุคคล องค์กร หรือคณะบุคคล ที่สื่อสารข้อมูลสาระความรู้ สาระประโยชน์ ผ่านช่องทางการสื่อสารทั้งออนไลน์หรือออฟไลน์ สู่การรับรู้ของสาธารณชน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในคุณค่าความรู้ และกระตุ้นให้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีในพื้นที่

และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล องค์กร หรือคณะบุคคล กับ บพท.ในการเชื่อมโยงความร่วมมือกัน เผยแพร่ข้อมูลความรู้จากงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยีพร้อมใช้ ไปสู่การรับรู้ของสาธารณะ แล้วนำไปต่อยอด ขยายผลใช้ประโยชน์ในการพัฒนาพื้นที่

สำหรับโล่ประกาศเกียรติคุณรางวัลสื่อสารเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทประกอบด้วย

ประเภทที่ 1 นักวิจัย นวัตกร ได้แก่

1.รศ.ดร.ซุกรี หะยีสาแม
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เรื่อง “ห่วงโซ่คุณค่าปูทะเล สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้”

2.รศ.ดร.สมัคร แก้วสุกแสง
รองอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
เรื่อง “ห่วงโซ่คุณค่ากระจูด แก้จน”

3.รศ.ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เรื่อง “สมุทรสงครามอยู่ดี..ฟื้นความมีชีวิตชีวาสู่อัมพวา”

4.ผศ.ดร.สุพัชชา ชูเสียงแจ้ว
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง
เรื่อง “นวัตกรรมการเลี้ยงหอยนางรมแบบคอนโด”

5.รศ.ดร.วสันต์ พลาศัย
รองอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สร้างโอกาสทางสังคม เพื่อยกระดับรายได้ขจัดความยากจน

6.มะเสาวดี ไสสากา
หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา
เรื่อง การขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน สู่วิสาหกิจเพื่อสังคม

ประเภทที่ 2 หน่วยราชการ ได้แก่

1.มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
โครงการคนกาฬสินธุ์ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Kalasin Happiness Model-KHM)
สานพลังภาคี แก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จแม่นยำ 

ประเภทที่ 3 สื่อมวลชน ได้แก่

1.สำนักข่าวไทยพับลิก้า

2.สำนักข่าวสาลิกา

3.รายการฟังเสียงประเทศไทย (ไทยพีบีเอส)

4.นายเพาซี ยะซิง
ประธานกลุ่ม MOJO ชายแดนใต้

5.นางสาวพัชรา ยิ่งดำนุ่น
สถานีวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

6.นายวีรชน ไชยชะอุ่ม
อสมท.กาฬสินธุ์

7.นายสุปัน รักเชื้อ
นักข่าว-นักจัดรายการวิทยุ 

ประเภทที่ 4 ประชาสังคม ได้แก่

1. เพจ Forestbook

2. เครือข่ายสื่อสาธารณะท้องถิ่น(ภาคอีสาน)

3. นายมูฮำมัดอายุบ ปาทาน
ที่ปรึกษาสภาประชาสังคมชายแดนใต้

อ่านเพิ่ม :

โมเดลแก้จน เติมความรู้-สร้างอาชีพ ลดรุนแรงชายแดนใต้

เด็กไทยสร้างชื่อ คว้า 3 เหรียญเงิน 1 ทองแดง บนเวทีคณิตศาสตร์โอลิมปิก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง