ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"นางฟ้าหมวกเขียว" First Aid คนแรกหมู่เกาะอ่างทอง

สิ่งแวดล้อม
23 ก.ค. 67
10:35
309
Logo Thai PBS
"นางฟ้าหมวกเขียว"  First Aid คนแรกหมู่เกาะอ่างทอง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไม่เจ็บนะลูกนะ แสบนิดเดียว เอาทรายออกจากแผลนะคะ ทนนิดนึง ไม่แสบนะ 

น้ำเสียงอ่อนโยนของ "พี่แจ๋ว" กมัยธร ปราณประวิตร พนักงานผู้ช่วยพยาบาล ประจำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ที่คอยปลอบประโลมสาวน้อยลูกครึ่งชาวสวิสวัย 4 ขวบในชุดสีชมพูสดใส ทำให้แม่ของเธอ และนักท่องเที่ยวทั้งคนไทย และชาวต่างชาติคนอื่น ๆ ที่รอคิวทำแผลรู้สึกผ่อนคลายขึ้น

พี่แจ๋ว นางฟ้าหมวกเขียวประจำหมู่เกาะอ่างทอง กำลังทำแผลให้น้องไซย่า

พี่แจ๋ว นางฟ้าหมวกเขียวประจำหมู่เกาะอ่างทอง กำลังทำแผลให้น้องไซย่า

พี่แจ๋ว นางฟ้าหมวกเขียวประจำหมู่เกาะอ่างทอง กำลังทำแผลให้น้องไซย่า

"พี่แจ๋ว" สำรวจบาดแผลบริเวณหลังเท้าด้านซ้าย ของน้องไซย่า ที่ปรากฏเป็นรอยยาวเกือบ 2 ซม. พร้อมกับสอบถามข้อมูลเบื้องต้น จากแม่ของเธอที่คอยส่งกำลังใจอยู่ใกล้ ๆ

บาดแผลแบบนี้ เป็นรอยหินบาด ล้างแผลทำความสะอาดด้วยนอร์มัลซาไลน์ และทาเบตาดีน ปิดแผลกันน้ำ เป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้น อีก 1-2 วันก็เล่นน้ำได้

หลังทำแผลเสร็จสาวน้อยชู 2 นิ้วสู้ตายอย่างอารมณ์ดี แม้จะต้องอดเล่นน้ำไป 1-2 วัน พร้อมกับขนมทานเล่นจากพี่แจ๋ว เป็นรางวัลสำหรับคนเก่ง

อ่านข่าว  พีคสุดรอบ 10 ปี "ปะการังหมู่เกาะอ่างทอง" ฟอกขาวเกิน 80%

บรรยากาศการท่องเที่ยวหน้าเกาะอ่างทอง ทั้งการพายเรือคายัค ดูปะการังน้ำตื้น

บรรยากาศการท่องเที่ยวหน้าเกาะอ่างทอง ทั้งการพายเรือคายัค ดูปะการังน้ำตื้น

บรรยากาศการท่องเที่ยวหน้าเกาะอ่างทอง ทั้งการพายเรือคายัค ดูปะการังน้ำตื้น

ห้องทำงาน First Aid กลางเกาะอ่างทอง

บทสนทนาที่นุ่มนวลทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ บวกกับหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส และการทำงานที่คล่องแคล่ว กลายเป็นภาพประทับใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง และทำให้ห้องปฐมพยาบาล (First Aid) ประจำเกาะทางทะเลแห่งแรก มีผู้ป่วยแวะเวียนมาไม่ขาดสาย

"พี่แจ๋ว" เล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ทำหน้าที่นางฟ้าหมวกเขียวประจำห้องปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First Aid) ของเกาะอ่างทอง และแห่งแรกของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

เนื่องจากหมู่เกาะอ่างทอง เป็นเกาะทางทะเลที่ต้องเดินทางไปกลับระหว่างฝั่งดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี และเกาะสมุยราว 1 ชั่วโมง ดังนั้นการรับมือกับเคสเจ็บป่วย อุบัติเหตุ การปฐมพยาบาล ห้ามเลือดทำแผล จึงมีความสำคัญก่อนที่จะนำตัวส่งต่อไปยังมือแพทย์ในโรงพยาลที่ใกล้สุด

โดยเฉพาะหากเกิดอุบัติเหตุกับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนเกาะอ่างทอง พบว่า 90% เป็นชาวต่างชาติแถบยุโรป รัสเซีย ซึ่งส่วนใหญ่จะเดินทางมากับทริปทัวร์แบบ One Day Trip ไปในเกาะท่องเที่ยว 4-5 จุดเพื่อทำกิจกรรมดำน้ำดูปะการังน้ำตื้น พายเรือคายัค ปีนเขา และขึ้นจุดชมวิวผาจันทร์จรัส มักเกิดอุบัติเหตุได้ทุกนาที

อ่านข่าว ช็อก! ประกาศขาย "เกาะราบ" อ้างมีเอกสารสิทธิ

ห้องปฐมพยาบาล (First Aid) ประจำเกาะทางทะเลแห่งแรก

ห้องปฐมพยาบาล (First Aid) ประจำเกาะทางทะเลแห่งแรก

ห้องปฐมพยาบาล (First Aid) ประจำเกาะทางทะเลแห่งแรก

เป็นลม-แผลถลอก-ฮีทสโตรก-ใบพัดเรือ

ไม่ว่าจะเป็นแผลถลอก หินบาด ลื่น หกล้ม ข้อเท้าพลิก น้ำร้อนลวก เป็นลม ฮีทสโตรก อาเจียน ท้องเสีย ยันโดนใบพัดเรือเลือดสาดเป็นแผลฉกรรจ์ ก็ต้องถึงมือ "พี่แจ๋ว" ทุกราย ถ้ามาที่เกาะนี้ แต่หากเคสหนักทางอุทยานฯประสานไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียงทันที หลังเสร็จการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

เคสหนักสุดคือลูกเรือโดนใบพัดเรือฟัน ต้องเย็บแผล 7 เข็ม ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติ เช่น แผลหินบาด เหยียบปะการัง โดนหอยเม่นตำ ลื่นล้ม โดนแมงกะพรุนพิษ แผลถลอก และฮีทสโตรกที่มากสุดวันละ 3-5 คน

ห้องทำงาน First Aid ที่มีป้ายโลโก้สีแดง พร้อมข้อความภาษาอังกฤษ ตัดกับระแนงไม้สีขาวดูโปร่งตา ด้านในมีเตียงสะอาดให้ผู้ป่วย 1 เตียง เครื่องกระตุกหัวใจ (AED) อุปกรณ์ปฐมพยาบาล กล่องยา และป้ายประกาศนียบัต 5 ใบที่การันตี "พี่แจ๋ว" ผ่านการอบรมในหลักสูตรต่างๆ ทั้งของ สพฉ. กระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และรับรองเป็นพนักงานผู้ช่วยพยาบาลจากโรงเรียนสุราษฎร์การบริบาล Nurse aid (NA.)

ควักเงินเรียนเสริมหลักสูตร-ประจำการคนแรก

พี่แจ๋ว บอกว่า ก่อนหน้านี้มักมีคำถามจากนักท่องเที่ยว ซึ่งส่วนใหญ่ 90% เป็นต่างชาติที่สอบถามว่าเราเป็นพยาบาล ใช่หมอหรือไม่ ที่จะดูเขา ทั้งที่ใส่ชุดเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า และอยู่ตรงจุดนี้มาหลายปี

รวมทั้งผ่านการฝึกอบรมกู้ชีพกู้ภัย และอบรมฉุกเฉินทางการแพทย์ ด้วยเพราะชุดเจ้าหน้าพิทักษ์ป่าอาจเรียกความมั่นใจกับชาวต่างชาติที่ต้องการให้ทำแผลหรือปฐมพยาบาลได้ดีพอ

ตัดสินใจไปเรียนเพิ่มเติมในหลักสูตรพนักงานผู้ช่วยพยาบาล มา 6 เดือนโดยออกเงินเรียนเองเพื่อเสริมความรู้ให้ตัวเองและการันตีความปลอดภัยต่อนักท่องเที่ยว และผ่านการรับรองคุณวุฒิ จึงเป็นที่มาของการสวมชุดขาวหมวกเขียวของกรมอุทยานฯ
ป้ายประกาศนียบัตร ใบรับรองหลักสูตร เพิ่มความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว

ป้ายประกาศนียบัตร ใบรับรองหลักสูตร เพิ่มความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว

ป้ายประกาศนียบัตร ใบรับรองหลักสูตร เพิ่มความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว

เธอบอกว่าความตั้งใจถึงขั้นจะไปเรียนต่อจนจบหลักสูตรพยาบาลที่ต้องใช้เวลาอย่างน้อยอีก 2 ปีแม้ว่าอายุจะเข้าสู่วัย 50 ปี แต่ตารางเรียนเป็นช่วงเสาร์-อาทิตย์จึงยังไม่ลงตัว เพราะว่าต้องทำงานทุกวันต้องมาเปิดห้องพยาบาลตั้งแต่เวลา 07.30-16.00 น.

รวมทั้งการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ใช้วิธีครูพักลักจำจากไกด์ จากลูกสาวและเรียนรู้ด้วยตัวเอง จึงพอพูดคุยสื่อสารกับชาวต่างชาติได้ในระดับหนึ่ง

นายสุทิน พรหมปลัด หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง

นายสุทิน พรหมปลัด หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง

นายสุทิน พรหมปลัด หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง

ชื่นชมจนท.ทุ่มเท-หนุนมี First Aid ทุกเกาะ

ขณะที่นายสุทิน พรหมปลัดหัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง บอกว่า ชื่นชม "พี่แจ๋ว" หรือนางกมัยธร เพราะเธอทุ่มเทและควักเงินไปเรียนต่อหลักสูตรการปฐมพยาบาลมาจนเป็นได้รับความเชื่อถือทั้งนักท่องเที่ยว ไกด์ ลูกเรือที่เคยผ่านการปฐมพยาบาลจากที่เกาะอ่างทอง

อยากให้มีพยาบาลประจำทุกอุทยานฯ โดยเฉพาะเกาะท่องเที่ยวทางฝั่งอ่าวไทยช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.นี้จะพีคมากเป็นชาวต่างชาติ 80-90% บางครั้งมีบาดแผลเล็กน้อย ชาวต่างชาติจะวิ่งไปที่ห้อง First Aid ทันที โดยความสำคัญเรื่องปลอดภัยและใบรับรองจากคนที่มาดูแลเป็นลำดับแรก

หมู่เกาะอ่างทองถือเป็นอีกหนึ่งจุดที่ชาวยุโรป ตะวันออกกลาง รัสเซีย อิสราเอล มาเยือนในเดือน ก.ค.-ส.ค.นี้ เฉลี่ยปีละ 150,000-160,000 คนและสร้างเม็ดเงินกว่า 35-40 ล้านบาทต่อปี

อ่านข่าวอื่นๆ ไม่แผ่ว! แก๊งลอบตัด "ไม้พะยูง" ป่าเขาใหญ่-ทับลาน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง