ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เงินกีบ "เฟ้อหนัก" รัฐกระตุ้นคนใช้เงินในประเทศ

ภูมิภาค
19 ก.ค. 67
11:34
4,161
Logo Thai PBS
เงินกีบ "เฟ้อหนัก" รัฐกระตุ้นคนใช้เงินในประเทศ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ภาวะเงินเฟ้อในลาวที่อ่อนค่าอย่างหนักในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา จนรัฐต้องรณรงค์ให้ใช้เงินกีบในลาว ขณะที่กลุ่มผู้รับจ้างทั่วไปสะท้อนว่า ภาวะแบบนี้ก็ต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดแบบเดือนชนเดือน

ภาวะเงินเฟ้อในลาวที่อ่อนค่าอย่างหนักในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา จากอัตราแลกเปลี่ยนบาท 1,000 บาทต่อ 600,000 กีบ ตอนนี้ก็พุ่งสูงกว่า 700,000 กีบ เงินกีบที่เฟ้อต่อเนื่องจนกลายเป็นไวรัล รณรงค์ให้ใช้เงินกีบในลาว และต้องยอมรับว่าภาวะเงินเฟ้อค่อนข้างกระทบกำลังซื้อทั้งในฝั่งไทยและลาว โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน รับจ้างทั่วไป และข้าราชการชั้นผู้น้อย ที่มีเงินเดือนราว ๆ 2,000,000 กีบ หรือประมาณเดือนละ 2-3,000 บาท กลุ่มผู้รับจ้างทั่วไปสะท้อนว่า ภาวะแบบนี้ก็ต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดแบบเดือนชนเดือน

ทันทีที่นักท่องเที่ยวชาวไทยข้ามพรมแดนบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 ฝั่งนครหลวงเวียงจันทน์ ก็ต้องนำเงินบาทมาแลกเป็นเงินกีบที่จุดให้บริการ โดยวันนี้ (19 ก.ค.2567) อัตราแลกเปลี่ยน 1,000 บาท อยู่ที่ 710,000 กีบ เพื่อจับจ่ายใช้สอยตามห้างร้าน ร้านค้า และร้านอาหาร

ภาวะเงินเฟ้อในนครหลวงเวียงจันทน์ที่ผันผวนอย่างต่อเนื่อง ทำให้การกำหนดราคาสินค้าอุปโภคต้องปรับเปลี่ยนทุกวัน จากการสำรวจห้างร้านและร้านสะดวกซื้อในฝั่งไทย ที่เริ่มเข้าไปลงทุนในฝั่งลาวและเริ่มขยายสาขาก็พบว่า ราคาสินค้าบางตัวแพงกว่าบ้านเรา

เช่น ปลากระป๋องแบรนด์ยอดนิยม ขายในร้านสะดวกซื้อในไทย ตกกระป๋องละ 18 บาท แต่ถ้าเป็นในห้างและร้านสะดวกซื้อในนครหลวงเวียงจันทน์อยู่ที่ 22-28 บาท ส่วนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็แพงกว่าไทยซองละเกือบ 2 บาท สาเหตุที่สินค้าราคาแพงเพราะต้องนำเข้าจากไทยและรัฐบาลลาวเรียกเก็บภาษามูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7 เพิ่มเป็นร้อยละ 10

กลุ่มผู้รับจ้างสะท้อนว่า ภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทบกับการจับจ่ายใช้สอยของชาวลาว โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน รับจ้างทั่วไป และข้าราชการชั้นผู้น้อย เพราะค่าแรงเท่าเดิม คือเฉลี่ยเดือนละ 1,800,000-2,500,000 กีบ หรือคิดเป็นเงินไทยเฉลี่ยราวๆ เดือนละ 2-3,000 บาท แต่เมื่อนำเงินกีบไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ต้องใช้เงินกีบเพิ่มขึ้น เงินเดือนที่ได้รับกับค่าใช้จ่ายแบบประหยัด เรียกได้ว่าแทบเดือนชนเดือน คนขับรถตู้ชาวลาวให้บอกว่า ต้องใช้เงินแบบเดือนชนเดือน ถ้าไม่พอก็ต้องหากู้ยืม ใครที่พอทีต้นทุนอยู่บ้างก็ไม่เดือร้อน 

ลำบากอยู่ ใช้เงินเดือนชนเดือนเหมือนกัน บางเดือนไม่ทันก็หยิบยืมมา มีพี่มีน้องก็ยืมกันไป มีก็ใช้ ไม่มีก็ผลัดเดือนต่อไป

สอดคล้องกับห้างค้าปลีกในไทยที่ จ.หนองคาย ยอมรับว่า อัตราเงินเฟ้อในลาวที่พุ่งสูง กระทบกับกำลังซื้อและการจับจ่ายใช้สอย โดยพบว่าลูกค้าชาวลาวปรับพฤติกรรมจากเดิมมาเดือนละ 1-2 ครั้ง ก็จะมีเพียงเดือนละครั้ง การใช้จ่ายจากครั้งละ 5,000 บาท ก็จะเหลือเพียง 1-2,000 บาท

ถ้านักท่องเที่ยวไทยข้ามไปนครหลวงเวียงจันทน์ แลกเงิน 1,000 บาท จะได้เงินกีบ 710,000-750,000 กีบ ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการที่ถูกต้องหรือตลาดมืด ไม่มีเรตตายตัว แต่ถ้าชาวลาวที่ข้ามมาไทย จะแลกเงิน 1,000 บาท ต้องใช้เงินกีบสูงถึง 900,000 กีบ จึงจะได้เงิน 1,000 บาทมาถือ นี่สะท้อนถึงความเชื่อไม่เชื่อมั่นในเสถียรภาพของสกุลเงินกีบของลาว

ขณะที่ ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคการท่องเที่ยว จ.หนองคาย สะท้อนว่า ภาคการท่องเที่ยวจากไทยไปนครหลวงเวียงจันทน์และแขวงอื่น ๆ ตอนนี้นักท่องเที่ยวลดลง ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในลาวในขณะนี้ แต่เกิดจากการบูลลี และการทำคอนเทนต์ เพื่อสร้างกระแส จนกระทบต่อการท่องเที่ยว

มีข้อเสนอแนะจากนักธุรกิจและผู้ประกอบการที่เข้าไปลงทุนในลาว ว่ารัฐบาลลาวเปิดจุดรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ถูกต้องตามกฎหมาย กำหนดเรตการแลกเปลี่ยน ทั้งขายและรับซื้อคืนที่ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดกระแสการปั่นค่าเงิน จนทำให้เงินกีบอ่อนค่าอยู่ในขณะนี้

อ่านข่าวเพิ่ม : 

"จุลพันธ์" กางไทม์ไลน์สภาถกงบดิจิทัลวอลเล็ต 1.2 แสนล้าน

19 ก.ค.เปิดเดินรถไฟกรุงเทพ-เวียงจันทน์ เที่ยวแรก 21.25 น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง