ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ปลาหมอคางดำระบาด 16 จังหวัด กรมประมง เปิด 6 มาตรการเร่งด่วน

สิ่งแวดล้อม
17 ก.ค. 67
11:08
7,510
Logo Thai PBS
ปลาหมอคางดำระบาด 16 จังหวัด กรมประมง เปิด 6 มาตรการเร่งด่วน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อธิบดีกรมประมง แถลงปม "ปลาหมอคางดำ" ระบาด 16 จังหวัด ยืนยันไม่พบข้อมูลส่งกลุ่มตัวอย่างปลาที่นำเข้า เร่งดำเนินการ 6 มาตรการเร่งด่วน กำจัดการแพร่ระบาด และ นำไปให้เกิดประโยชน์ พร้อมเสนอกฎหมายเพิ่มโทษทั้งอาญาและทางปกครอง

วันนี้ (17 ก.ค.2567) นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการครั้งแรก หลังกรณีการระบาดของปลาหมอคางดำ ปลาเอเลียนสปีชีส์ เพื่อชี้แจงมาตรการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำ

ก่อนหน้านี้มีการประชุมคณะทำงานแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำ ซึ่งมีตัวแทนจากเกษตรกร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าให้ข้อมูล เบื้องต้นมีมติในการรับซื้อปลาหมอคางดำกิโลกรัมละ 15 บาทเพื่อนำไปทำปลาป่น โดยจะตั้งจุดรับซื้อใน 16 จังหวัดที่พบการระบาดตั้งแต่สัปดาห์หน้า 

อ่านข่าว เทียบรายงาน "บริษัทนำเข้า-กรมประมง" ปมปลาหมอคางดำ

บัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง

บัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง

บัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง

อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า พ.ศ.2549 มีบริษัทหนึ่ง ได้มีการขออนุญาตนำปลาหมอคางดำ จากกรมประมงอย่างถูกต้อง และมีการขออนุญาตอีกครั้งในปี 2553 โดยนำเข้ามาช่วงเดือน ธ.ค.2553 วัตถุประสงค์การนำเข้าเพื่อปรับปรุงพันธุ์ เพื่อป้องกันโรค เพื่อเลี้ยงทนเค็ม และเพิ่มผลผลิต โดยพบข้อมูล จำนวนที่ได้อนุญาตโดยการผ่านด่านตรวจสัตว์น้ำสุวรรณภูมิ มีข้อมูลระบุไว้ว่ามี จำนวน 2,000 ตัว และได้สู่ฟาร์มเพาะเลี้ยง สมุทรสงคราม

อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่าเมื่อ 14 ปีที่แล้วได้มีกลไกควบคุมการนำเข้า ได้ตั้งคณะกรรมการระดับสถาบันด้านความปลอดภัยและความหลากหลายทางชีวภาพ กรมประมง ซึ่งการนำเข้าปลาชนิดดังกล่าวต้องผ่านคณะกรรมการฯ โดยมี 2 เงื่อนไข

1.ต้องเก็บตัวอย่าง ครีบดอง ส่งให้กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพสัตว์น้ำจืดสำนักและวิจัยกรมประมงน้ำจืด
2.เมื่อสิ้นสุดการทดลองให้รายงานผลการทดลอง หากการทดลองไม่เป็นผลให้ทำลายทั้งหมดโดยแจ้งกรมประมงเข้าตรวจสอบ

ขณะที่ตามกล่าวอ้างว่าบริษัทฯได้นำส่งกลุ่มตัวอย่าง 50 ตัวให้คณะวิจัยคณะกรรมการฯ โดยระบบจัดเก็บด้วยการอ้างอิง ได้มีการจัดเก็บ 2 ลักษณะ

1 ห้องตัวอย่างอ้างอิง เก็บทั้งตัวในขวดแก้วด้วยฟอร์มาลีน
2.ห้องปฏิบัติการเป็นการเก็บเนื้อเยื่อ ครีบปลา เลือด

ทั้งนี้กรมประมงได้ตรวจสอบเอกสารหรือหลักฐานการรับมอบตัวอย่างในสมุดลงทะเบียนรับตัวอย่างและฐานข้อมูลในระบบ ตั้งแต่ที่มีการนำเข้าจนถึงปี 2554 ปรากฏ​ว่า ไม่พบหลักฐานการรับตัวอย่างและขวดตัวอย่าง จากบริษัทนำเข้าแต่อย่างใด

สำหรับมาตรการแก้ไขให้ดำเนินการเป็นวาระสำคัญในการแก้ปัญหา ประกอบกับได้ตั้งคณะทำงาน รวม 47 คน ประชุม 2 ครั้งมีการตั้งคณะทำงานในพื้นที่ระบาด และพื้นที่กันชนป้องกันการระบาด

สำหรับมาตรการที่ดำเนินการมี 6 เรื่อง
1.การควบคุมปลาหมอคางดำทุกพื้นที่ ขณะนี้จับไปแล้วกว่า 1,000 ตัว เช่น .จ.สมุทรสาคร ให้ใช้อวนรุน ในพื้นที่ กทม.ได้นำเสนอที่จะใช้เครื่องมือนี้ ส่วนในแต่ละพื้นที่ให้พิจารณาไปตามบริบท

2.การกำจัดปลาหมอคางดำด้วยการปล่อยปลา เช่น ปลากะพงขาว ปลาอีกง ให้ตรงกับบริษทแต่ละพื้นที่ หรือถ้าเป็นน้ำจืด จำเป็นต้องใช้ปลาช่อน และ ปลากราย โดยเป็นการใช้ปลานักล่าเพื่อควบคุมตามธรรมชาติ

มาตรการที่ 3 การนำไปใช้ประโยชน์เป็นเรื่องสำคัญ ได้ใช้เป็นปลาป่นกว่า 500 กว่าตัน มีโปรตีนปลาสดกว่า 50% เพื้อเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงสัตว์น้ำ สัตว์บก และได้แปรรูปเป็นอาหาร ปลาแดดเดียว ปั้นขลิบ น้ำยาขนมจีน โดยมีคุณค่าอาหารไม่ด้อยกว่าปลานิล และปลาหมอเทศ

มาตรการที่ 5 ให้มีระบบการแจ้งข้อมูล เก็บข้อมูลเพื่อเฝ้าระวังไม่ให้แพร่ระบาด

มาตรการที่ 5 สร้างการรับรู้ การตระหนักให้มีส่วนร่วม และเป็นมาตรการที่เร่งโดยเร่งด่วน

6. โครงการวิจัยการเหนี่ยวนำชุดโครโมโซม 4 N โดยจะเปลี่ยนโครโมโซม ให้ปลาหมอคางดำเป็นหมัน เชื่อว่าจะช่วยลดการแพร่พันธุ์​ได้

ร่วมถึงการเสนอกฎหมายในการดำเนินการ ทั้งโทษทางอาญา และโทษปกครองให้รับผิดชอบต่อสังคม 

ขณะนี้ปลาหมอคางดำระบาดไปแล้ว 16 จังหวัด เป็นไปได้ทั้งเดินทางไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติ และ ถูกขนย้ายโดยประชาชน

สำหรับการรับซื้อปลาหมอคางดำ จะอยู่ 7-10 บาทต่อ ประสานแหล่งทุนแล้ว และจุดรับซื้อจะเป็นแพในชุมชน เช่น จ.สมุทรสาคร ซึ่งใน 5 จังหวัดที่เป็นแหล่งชุกชุม จะมีจุดรับซื้อหลายจุด เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ผู้รับซื้อ ส่วนผู้รับซื้อมีทั้งโรงงานและหน่วยงานราชการ จะเร่งขับเคลื่อนให้เป็นไปตามนโยบายแล้วให้เกิดผลในเวลารวดเร็ว โดยจะเริ่มได้ภายในอาทิตย์หน้า

 อ่านข่าว : 

"ซีพีเอฟ" แจงอนุ กมธ.ปมนำเข้า "ปลาหมอคางดำ"

กรมประมง ยันไม่พบข้อมูลส่งตัวอย่างนำเข้า "ปลาหมอคางดำ"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง