ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กรมประมง ยันไม่พบข้อมูลส่งตัวอย่างนำเข้า "ปลาหมอคางดำ"

สังคม
16 ก.ค. 67
08:14
2,789
Logo Thai PBS
กรมประมง ยันไม่พบข้อมูลส่งตัวอย่างนำเข้า "ปลาหมอคางดำ"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อธิบดีกรมประมง เผยไม่พบข้อมูลการนำส่งตัวอย่าง "ปลาหมอคางดำ" ของเอกชนรายใหญ่ และ ไม่พบความชัดเจน เรื่องการทำลายทิ้ง ยืนยัน พร้อมทำความจริงให้ปรากฏ

นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยถึงความชัดเจนและข้อเท็จจริง การนำเข้าปลาหมอคางดำ ของ บริษัทเอกชนรายใหญ่ พ.ศ.2549 ที่สังคมตั้งข้อสงสัยว่าเป็นสาเหตุของการแพร่ระบาดในขณะนี้ ว่ามีบริษัทหนึ่งได้นำปลาหมอคางดำ โดยได้ขออนุญาตกรมประมงโดยถูกต้องเข้ามาปี 2549 แต่ปี 2549 ยังไม่ได้นำเข้ามาจริง

นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยกับพีบีเอสออนไลน์ ว่า พ.ศ.2549 มีบริษัทหนึ่ง ได้มีการขออนุญาตนำปลาหมอคางดำ จากกรมประมงอย่างถูกต้อง และมีการขออนุญาตอีกครั้งในปี 2553 โดยนำเข้ามาช่วงเดือน ธ.ค.2553 วัตถุประสงค์การนำเข้าเพื่อปรับปรุงพันธุ์ เพื่อป้องกันโรค เพื่อเลี้ยงทนเค็ม และเพิ่มผลผลิต โดยพบข้อมูล จำนวนที่ได้อนุญาตโดยการผ่านด่าน มีข้อมูลระบุไว้ว่ามี จำนวน 2,000 ตัว แต่พบว่ามีการตายระหว่างนำเข้าค่อนข้างเยอะ ซึ่งเป็นการขอนำเข้าจากประเทศกานา (Ghana) และนำไปเลี้ยงที่ จ.สมุทรสงคราม

เมื่อนำปลาไปเลี้ยงในการชี้แจงบอกว่า ไม่ได้ผล และได้นำปลาไปทำลาย ซึ่งทางกรมประมงได้สอบถามไปว่า ปลาที่นำไปทำลาย ได้มีการส่งมายังกรมประมงหรือไม่

อ่านข่าว : กทม.หาทางสกัด "ปลาหมอคางดำ" จ่อลงทะเบียนเยียวยาเกษตรกร

บัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง

บัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง

บัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง

14 ปี ก็ต้องรับผิดชอบต่อสังคม

ขณะที่ไล่เรียงกรมประมงมีระบบการควบคุมการเก็บตัวอย่างอย่างไร ก็พบว่าสัตว์น้ำ เมื่อใบอนุญาตออกไปให้นำส่งเข้ามายังกลุ่มที่ดูแล เมื่อนำส่งจะมีสมุดกลุ่ม ซึ่งเมื่อไปดูย้อนหลังจากทั้งสองแห่ง ไม่พบว่ามีการบันทึกการนำส่งปลาตัวอย่างของปลาชนิดนี้ ส่วนการทำลาย หรือการหลุดรอดในวันนั้น ก็ยังไม่ยืนยัน

หลังจากนั้น ระยะเวลาผ่านมาแล้ว 14 ปี แต่อะไรที่มีร่องรอย หรือทำแล้วสังคมหมดความคลางแคลงใจ อะไรที่เป็นข้อบ่งชี้ แม้แต่มันอาจจะไม่ 100% แต่ถ้าคิดว่าใช่ ความรับผิดชอบก็ต้องมี ถึงไม่รับผิดชอบต่อกฎหมาย ก็ต้องรับผิดชอบต่อสังคม อะไรที่เกิดขึ้น ก็ต้องร่วมรับผิดชอบ ทางกรมประมงก็ถามหาอยู่

“ฉะนั้นผมในนามอธิบดีกรมประมง ก็ทำเต็มที่ที่จะดูว่า มีอะไรอยู่ในกรมผม ผมเอกซเรย์แล้ว เมื่อไม่มีก็ต้องไปหาหลักฐานที่ดีที่สุด ที่จะต้องยืนยันเพื่อดำเนินการในเรื่องนี้”

ทำหมันปลาใช้หลักการเหนี่ยวนำโครโมโซม

สำหรับการประชุมติดตาม มีอยู่ด้วยกัน 5 เรื่อง เรื่องแรกคือเรื่องทำหมัน คือจะทำอย่างไรให้เกิดความรวดเร็ว ทำให้เกิดข้อเท็จจริง ได้มีการระดมตั้งคณะทำงานชุดหนึ่ง ระดมนักวิชาการ เผื่อระหว่างทางเกิดเหตุแทรกซ้อน หรือเกิดปัจจัยอะไรที่ต้องมาคุม

ทั้งนี้การทำหมันจะใช้หลักการเหนี่ยวนำโครโมโซม เพื่อให้ปลาหมอคางดำในธรรมชาติเป็นหมัน ซึ่งคาดว่าจะปล่อยลงสู่ธรรมชาติได้ในเดือน ธ.ค.นี้ ที่ จ.เพชรบุรี

เรื่องที่สองคือ เรื่อง 6 มาตรการที่คิดกันไว้แล้ว จึงต้องนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่วันที่ 16 ก.ค.ที่กระทรวง ดูว่าแต่ละจังหวัดที่ส่งข้อมูลมาเป็นยังไง ความชุกชุม หรือต้องเร่งมือตรงไหน

เรื่องที่ 3 เรื่องการสร้างความเข้าใจ ต้องมาดูว่าปัจจุบันที่สื่อสารอยู่ ยังขาดความเข้าใจประเด็นไหน โดยเฉพาะความรู้ทางวิชาการ ความรู้ที่จำเป็นต้องใช้ รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาของต่างประเทศ

เรื่องที่ 4 คือเรื่องที่ท่านกรรมาธิการเชิญไปชี้แจง ข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่เป็นจริงที่สุด และมีอยู่จริง เพราะบางครั้งข้อมูล 14 ปี ที่ผ่านมา มันอยู่ตรงไหน และมีการส่งตัวอย่างกันยังไง บริษัทผู้นำเข้าบริษัทไหน มีกี่บริษัท นำเข้าแล้ว เจ้าหน้าที่ ที่ไปตรวจ ณ วันนั้น ได้รายงานข้อมูลมาว่าอย่างไร การไปตรวจภายหลัง พบอะไร ยังไง เรา-ต้องเอาข้อเท็จจริงนี้มาสู่สังคมให้ได้

กรณีที่กฎหมายต้องนำมาใช้ กรณีที่ผู้ก่อต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อสังคม ต่อสิ่งแวดล้อม ต้องย้อนกลับไปดูว่า กฎหมาย ณ ขณะนั้น และกฎหมายในปัจจุบันเป็นอย่างไร

ทั้งนี้ พ.ร.ก.การประมง 2558 ได้กำหนดในมาตรา 65 ที่ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดนำเข้า ซึ่ง พ.ร.บ.ประมง พ.ศ.2490 ไม่มีข้อห้ามไว้เฉพาะ

ซึ่งในวันนั้นกฎหมายยังไม่มีเฉพาะ เมื่อเกิดเหตุเหล่านี้ จึงมาแก้กฎหมายเมื่อปี 2558 และใส่ไว้ในมาตรา 65 ห้ามมิให้ผู้ใดนำสัตว์น้ำจากต่างประเทศ ที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และบางชนิดก็ห้ามเพาะเลี้ยง ให้ออกเป็นประกาศกระทรวง

“แต่ยังไม่มีบทกำหนดโทษที่ชัดเจน จึงให้กองกฎหมายไปคิดมา จะได้นำเสนอใส่ไปให้ชัดว่า เมื่อได้นำมาแล้วให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่ส่วนราชการกำหนด”

“ปลาหมอคางดำ” ระบาด 14 จังหวัด

ใน 14 จังหวัด ที่ระบาดแบ่งเป็นจังหวัดที่ชุกชุมหนาแน่น สีแดง กับจังหวัดที่สีเขียว คือ เพิ่งระบาด จังหวัดที่หนาแน่น ประกอบด้วย สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ เพชรบุรี บางขุนเทียน กรุงเทพฯ

โดยเฉพาะสมุทรสาคร จะพบชุกชุมหนาแน่นที่สุด นอกนั้นก็ยังประปราย
ส่วนจังหวัดที่เพิ่งพบบางพื้นที่ ได้แก่ ที่ อ.ระโนด จ.สงขลา และ อ.ปากพนัง อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช นอกนั้นยังพบเล็กน้อยที่ จ.สุราษฎร์ธานี

ส่วนจุดที่คาดไม่ถึงคือ ที่ จ.จันทบุรี ฉะนั้นเห็นว่าพฤติกรรมของปลาชนิดนี้ อาจจะชอบอยู่ปากแม่น้ำ ที่ความเค็มไม่มาก ไม่ชอบน้ำจืด อาจจะทำให้สิ่งเหล่านี้รุกเข้าไป วิธีการสกัดคือให้มันออกมาให้มากที่สุด ปล่อยปลานักล่าให้มากที่สุด ทำกันชนให้ สร้างการเรียนรู้

อ่านข่าว : เปิดรายงานฉบับเต็ม "คณะกรรมการสิทธิฯ" ใครทำ "ปลาหมอคางดำ" ระบาด?

5 มาตรการเร่งด่วนสกัด “ปลาหมอคางดำ”

สำหรับ 5 มาตรการ ที่เร่งด่วนคือ
1.จับออกมาใช้ประโยชน์
2.การปล่อยปลานักล่าไปควบคุม เนื่องจากปลาหมอคางดำ เป็นปลากินพืช นักล่าที่จะไปใช้คุม ก็ต้องเป็นปลากินสัตว์ เช่น ปลากะพง
3.นำไปใช้ประโยชน์ เช่น ทำน้ำปลา นำไปเป็นอาหาร
4.สำรวจเฝ้าระวัง ไม่ให้แพร่กระจายมากไปกว่านี้ ไปถึงไหนตอนนี้ต้องสกัดกั้น ซึ่งจะใช้รูปแบบ ของประมงอำเภอ ทั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้รายงานเข้ามา

5.สร้างความรู้ความเข้าใจ ไม่ให้ตระหนก ให้ตระหนักว่าสิ่งที่เข้ามาแล้ว เราจะทำอย่างไร สร้างการรับรู้เพื่อนำไปใช้มาตรการต่าง ๆ ต้องให้เข้าใจว่าปลาหมอคางดำไม่อันตราย เขาเหมือนปลานิล เหมือนปลาหมอเทศ อยู่ที่ว่าเราจะนำไปทำเป็นเมนูได้อย่างไร 

อ่านข่าว : ไขปริศนา! ทำไมต้องใช้ "ปลากะพงขาว" จัดการ "ปลาหมอคางดำ"

 

อ่านข่าว :

ชาวบ้านนับร้อย แห่จับ "ปลาหมอคางดำ-ปลานิล" บึงมักกะสัน

เข้าใจใหม่! ปลากะพงขาวใช้กินลูก ไม่ได้กินปลาหมอคางดำตัวใหญ่ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง