วันที่ 15 ก.ค.2567 เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้เปิดประตูระบายน้ำ ที่บริเวณอาคารควบคุมน้ำออก ของสำนักงานระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ หลังจากต้องปิดไปเพื่อทำการซ่อมแซมระบบวาล์วน้ำ เมื่อวันที่ 14 ก.ค.ที่ผ่านมา จนเป็นสาเหตุที่ทำให้ปลาที่อยู่ในบึงมักกะสันขาดออกซิเจน จนลอยขึ้นบนผิวน้ำเป็นจำนวนมาก
โดยซากปลาที่ลอยเกลื่อนบนผิวน้ำ ทางสำนักงานเขตราชเทวี จะจัดเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความสะอาดมาเก็บออกไป ในช่วงเวลา 09.00 น. วันนี้ (16 ก.ค.)
ขณะที่ตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา พบว่ายังคงมีประชาชน ทยอยมาจับปลาที่บึงมักกะสัน ตามที่เห็นในสื่อออนไลน์ หรือ เห็นตามข่าวต่างๆ
อ่านข่าว : ชาวบ้านนับร้อย แห่จับ "ปลาหมอคางดำ-ปลานิล" บึงมักกะสัน
นายสุรเชศษฐ หนึ่งในประชาชนที่มาจับปลา เปิดเผยว่า ทราบข้อมูลมาจากเพื่อน และเห็นข่าวผ่านเฟซบุ๊ก ว่า มีปลาน็อกน้ำอยู่ที่บริเวณนี้ หลังเลิกงานจึงตัดสินสินใจเดินทางมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อมาจับปลาที่นี่ แต่เมื่อมาถึงก็รู้สึกตกใจ เพราะตั้งแต่ตกปลามาก็ไม่เคยเจอปลาเยอะขนาดนี้ โดยได้ใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง สามารถจับปลาได้ 3 กระสอบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลานิลมากกว่าปลาหมอคางคำ ส่วนปลาที่จับได้หลังจากนี้จะนำไปทำปลาตากแห้งไว้รับประทาน
อ่านข่าว :
เข้าใจใหม่! ปลากะพงขาวใช้กินลูก ไม่ได้กินปลาหมอคางดำตัวใหญ่
กทม.หาทางสกัด "ปลาหมอคางดำ" จ่อลงทะเบียนเยียวยาเกษตรกร
เปิดรายงานฉบับเต็ม "คณะกรรมการสิทธิฯ" ใครทำ "ปลาหมอคางดำ" ระบาด?