วันนี้ (12 ก.ค.2567) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา
ในคดีระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 3 เป็นโจทก์ฟ้อง นายบรรยิน ตั้งภากรณ์ กับพวกรวม 6 คน เป็นจำเลยกรณีใช้กำลังประทุษร้ายเอาตัวพี่ชายของผู้พิพากษา ในคดีโอนหุ้นนายชูวงษ์ แซ่ตั๊ง ไปกักขังหน่วงเหนี่ยวและใช้ความปลอดภัยในชีวิตของพี่ชายผู้พิพากษาเป็นข้อต่อรองเรียกค่าไถ่เพื่อข่มขืนใจผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่หรือละเว้นการปฎิบัติตามหน้าที่
ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะการประชุมทางจอภาพผ่านสัญญาณโทรคมนาคมระหว่างศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางกับเรือนจำกลางบางขวางและเรือนจำกลางคลองเปรม
ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า นายบรรยิน จำเลยที่ 1 รับในฎีกาว่า ไม่พอใจโจทก์ร่วมอย่างรุนแรง โดยมีความเชื่อว่า โจทก์ร่วมไม่เป็นกลางจึงทึกทักคือเหมาเอาเป็นจริงเป็นจังว่า ถูกโจทก์ร่วมกลั่นแกล้ง จำเลยที่ 1 ตัดสินใจกระทำการแก้แค้นโจทก์ร่วม แต่เปลี่ยนใจไปลักพาตัวพี่ชาย ของโจทก์ร่วม ไปแทนแล้ววางแผนให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกน้อง สะกดรอยติดตามโจทก์ร่วมกับพี่ชายจนทราบที่พัก
ประสงค์จะลักพาตัวพี่ชายของโจทก์ร่วมไปเพื่อต่อรองให้โจทก์ร่วมพิพากษาคดีดังกล่าวให้เป็นประโยชน์แก่ตัวเอง
เช่นนี้การที่จำเลยที่ 1 คิดวางแผนและไตร่ตรอง เพื่อลักพาตัวพี่ชายของผู้พิพากษาไป แล้วจึงลงมือกระทำความผิดตามแผนโดยมิใช่กระทำไปโดยปัจจุบันทันด่วน บ่งชี้ว่า จำเลยที่1 มีเจตนาฆ่าผู้ตายอันเป็นการไตร่ตรองไว้ก่อน
ส่วนจำเลยที่ 4 และ 5 และที่ 6 ก่อนเกิดเหตุจำเลย ที่ 1 บอกให้จำเลยที่ 6 ไปส่งจำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นลูกน้องของจำเลยที่ 6 ไปช่วยงานทวงหนี้
หลังเกิดเหตุจำเลยที่หกมอบเงินค่าตอบแทนการทำงานที่จำเลยที่สี่และที่ห้าและนำเสื้อผ้าของจำเลยที่สี่และที่ห้าที่สวมใส่ในวันเกิดเหตุไปเผาทำลาย
พฤติกรรมเหล่านี้ของจำเลยทั้ง 6 ย่อมเป็นอันรับรู้กันในคณะบุคคลเยี่ยงจำเลยทั้ง 6 เป็นอย่างดีว่า การไปทวงหนี้มีความหมายถึงการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายแก่บุคคลอื่น ตั้งแต่การบังคับข่มขู่ อุ้มหายไปจนถึงการฆ่าเผาหนังยางเพื่อทำลายหลักฐาน
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 ว่ามีเหตุให้รถโทษแก่จำเลยหรือไม่ ศาลระบุว่า คดีนี้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การรับสารภาพตั้งแต่ชั้นจับกลุ่มและสอบ
โดยจำเลยที่ 3 นำเจ้าพนักงานไปชี้สถานที่เกิดเหตุทั้งหมด เป็นผลให้พนักงานสอบสวนแสวงหาและรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆได้อย่างละเอียดทุกขั้นตอน
อ่านข่าว : ศาลฎีกา ยืนประหาร “บรรยิน” ฆ่า “เสี่ยชูวงษ์”
ซึ่งศาลล่างทั้งสองก็นำคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 3 และรับข้อเท็จจริงของจำเลยที่ 4 และที่ 5 มาประกอบดุลพินิจ ช่างน้ำหนักพยานในการรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นระยะตลอดทั้งเรื่องคำให้การในชั้นจับกลุ่มและชั้นสอบสวนของจำเลยที่สามถึงที่ห้าจึงเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานและให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณานับเป็นเหตุบรรเทาโทษโทษ
ศาลฎีกาเห็นสมควรลดโทษให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ไปตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชอบแล้วด้วยเหตุนี้จึงมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งแม้ให้การปฏิเสธแต่ก็ยอมรับข้อเท็จจริงในส่วนที่อยู่ในความรู้เห็นของตัวเองทั้งสิ้นและมิได้ฎีกา
ส่วนจำเลยที่ 1 หรือ นายบรรยิน ให้การรับข้อเท็จจริงภายหลังทราบว่า จำเลยที่3 ถึงที่ 5 ให้การรับสารภาพในชั้นจับกลุ่มและสอบสวนเป็นการรับข้อเท็จจริงเพราะจำนวนต่อพยานหลักฐาน จึงไม่ถือว่า เป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ประกอบกับพฤติการณ์ของจำเลย ที่1 เคยรับราชการตำรวจ ในตำแหน่งพันตำรวจโท , เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
ประกอบกับมีทนายความแก้ต่างให้ย่อมทราบถึงขั้นตอนและกฎหมายวิธีพิจารณาความว่า สามารถใช้สิทธิ์ในการอุทธรณ์และฎีกาคำพิพากษาต่อไปได้
การที่จำเลยที่ 1 ใช้วิธีการที่ผิดบังคับผู้พิพากษา ผู้พิจารณาคดี เพื่อให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่และร่วมกับพวกกระทำผิดในที่สาธารณะโดยไม่ยำเกรงต่อกฎหมายจึงถือเป็นคดีอุกฉกรรจ์ ที่เป็นภัยต่อสังคมโดยรวม และส่งผลกระทบกระเทือนต่อกระบวนการยุติธรรมอย่างร้ายแรงจึงสมควรลงโทษสถานหนักและไม่ลดโทษให้แก่จำเลยที่หนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่หนึ่งมานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
ศาลฎีกาพิพากษาแก้ว่า ลดโทษให้จำเลยที่ 2 - 5 และบังคับโทษตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จากที่แก้คงเป็นตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จำคุกจำเลยที่ 2 เป็นเวลา 33 ปี 4 เดือน ส่วนจำเลยที่ 3- 6 ให้จำคุกตลอดชีวิต
อ่านข่าว :
ปิดคดี "ลุงเปี๊ยก" ประเดิม พ.ร.บ.อุ้มหาย สั่งฟ้อง 8 ตำรวจทำทรมาน
ปคบ.-อย. บุกจับแหล่งผลิตโบท็อกปลอม ยึดกลาง 26,000 ชิ้น