ครวญช้างและสัตวแพทย์โรงพยาบาลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ต้องคอยดูแลช้างพังมะลิง อายุ 4 ปี ที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลช้างอย่างใกล้ชิด หลังตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ในช้าง หรือ EEHV
หลังจากเมื่อ 4 วันก่อน เจ้าของช้างสังเกตเห็นว่า "ช้างพังมะลิ" มีอาการง่วงนอน และนอนกลางวันมากกว่าปกติ ด้วยความเป็นห่วงเจ้าของช้างจึงติดต่อมายังโรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยฯ และนำตัวช้างเข้ามารับการตรวจรักษาทันที
ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง ขณะนี้พบช้างพังอายุ 4 ปี ติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ ซึ่งทำลายระบบเลือด ทีมสัตวแพทย์เร่งให้การรักษาและดูแลอย่างใกล้ชิด
เบื้องต้น สัตวแพทย์ได้ตรวจร่างกาย และเจาะเลือดเพื่อไปตรวจสอบทันที และพบว่า ผลเป็นบวก ติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ไวรัสในช้าง (EEHV) ทางสัตวแพทย์ได้ให้การรักษาทันที ล่าสุดพบว่า ช้างสามารถทานอาหารได้ ขับถ่ายได้ แต่ภาพรวมอาการยังน่าเป็นห่วงเพราะตรวจพบว่า ช้างมีเลือดออกภายใน
สพ.ญ.วรางคณา ลังการ์พินธุ์ หรือหมอโบนัส หัวหน้างานโรงพยาบาลช้าง ลำปาง
สพ.ญ.วรางคณา ลังการ์พินธุ์ หัวหน้างานโรงพยาบาลช้างลำปางฯ ระบุว่า อาการช้างค่อนข้างน่าเป็นห่วง แต่โชคดีที่เจ้าของช้างเชือกนี้สังเกตเห็นพฤติกรรมช้างเปลี่ยนไป และรีบแจ้งสัตวแพทย์ฯและนำตัวช้างมาตรวจรักษาได้ทันท่วงทีก่อนที่อาการจะลุกลามไปมากกว่านี้
เบื้องต้นได้รักษาอาการป่วยมาอย่างต่อเนื่องและผลเป็นที่น่าพอใจ แต่ยังพบว่าช้างมีอาการเลือดออกภายในร่างกายจึงจำเป็นต้องถ่ายเลือดช้าง โดยขณะนี้เริ่มกระบวนการถ่ายเลือดช้างแล้วเพื่อรักษาช้างให้หายเป็นปกติเร็ววัน
ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง ขณะนี้พบช้างพังอายุ 4 ปี ติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ ซึ่งทำลายระบบเลือด ทีมสัตวแพทย์เร่งให้การรักษาและดูแลอย่างใกล้ชิด
ด้าน น.สพ.ดร.ทวีโภค อังควานิช หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยฯเปิดเผยว่า ในปี 2567 พบว่า พื้นที่ทางภาคเหนือมีช้างเล็กหรือช้างเด็กติดไวรัสเฮอร์ปีส์ไวรัสในช้าง หรือ EEHV นับแล้วกว่า 10 เชือกถูกส่งมาพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย รวมแล้ว 5 เชือก รักษาหายขาดไป 2 เชือก ล้มไป 2 เชือก
ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง ขณะนี้พบช้างพังอายุ 4 ปี ติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ ซึ่งทำลายระบบเลือด ทีมสัตวแพทย์เร่งให้การรักษาและดูแลอย่างใกล้ชิด
ขณะนี้พักรักษาอีก 1 เชือก คือ "พังมะลิ" ทั้งนี้ เชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ ถือว่า เป็นไวรัสที่อันตรายต่อช้างเล็กเป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้ประกอบการให้บริการช้างท่องเที่ยว ควาญช้าง เจ้าของช้างให้สังเกตช้างของตนเองตลอดเวลาโดยเฉพาะพฤติกรรมช้างที่เปลี่ยนไปสำหรับโรคนี้ถือเป็นอันตรายสำหรับช้างเล็ก มีอัตราการตายสูงถึงร้อยละ 70-80 หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
อ่านข่าว : เฮอร์ปีส์ไวรัส ภัยร้ายที่คนเลี้ยงช้างต้องเฝ้าระวัง
สุดเศร้า "หนูแดง" ลูกช้างป่วยโรคเฮอร์ปีส์ไวรัสตายแล้ว
ไม่พบเชื้อเฮอร์ปีส์ "ลูกช้างป่าทับลาน" พาเดินเล่นหลังเข้าเฝือกขา