ความในใจ 1 ใน 23 คนทับลาน กับ "ข้อหาบุกรุกป่า"

สิ่งแวดล้อม
12 ก.ค. 67
11:31
987
Logo Thai PBS
ความในใจ 1 ใน 23 คนทับลาน กับ "ข้อหาบุกรุกป่า"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
คนจนไม่มีอะไรจะสู้ ถ้าเอากฎหมายมาฆ่าก็ตาย 

ทองตู่ พรอันแสง 1 ใน 23 ชาวบ้านที่โดนคดีบุกรุกป่าทับลานเมื่อปี 2554 พร้อม "บังอร" ภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก บอกว่า โดนคดีรุกป่าอุทยานแห่งชาติทับลาน ตั้งแต่ปี 2554 ตอนนี้อยู่ในชั้นฎีกา ครอบครัวได้ใช้พื้นที่ 10 ไร่ ปลูกพืชผสมผสาน ผักสวนครัว ข้าวโพด มันสำปะหลัง และทำโฮมสเตย์หลังเล็ก ๆ

นายทองตู่ 1 ใน 23 ชาวบ้านคดีรุกป่าทับลาน ปี 2554 และ ภารรยา นางบังอร

นายทองตู่ 1 ใน 23 ชาวบ้านคดีรุกป่าทับลาน ปี 2554 และ ภารรยา นางบังอร

นายทองตู่ 1 ใน 23 ชาวบ้านคดีรุกป่าทับลาน ปี 2554 และ ภารรยา นางบังอร

อ่านข่าว : "ทับลาน" มรดกโลก อุทยานแห่งชาติผืนป่าอีสานที่ใหญ่ที่สุด

ทองตู่ ในวัย 61 ปี ยอมรับน้อยใจว่าชาวบ้านดูแลพื้นที่ตรงนี้ ช่วยกันปลูกป่า ดับไฟป่า แต่สุดท้ายถูกจับกุมบุกรุก จึงอยากให้ไปใช้แนวเขตปี 2543 เพราะอยู่ที่นี่มาตั้งแต่อายุ 13 ปี และไม่เคยบุกรุกหรือตัดต้นไม้ในป่าสักต้น

ชาวบ้านช่วยกันทำแนวกันไฟ และดับไฟป่า ปลูกป่า บวชป่า ไม่มีเงินก็ใช้เงินออมชุมชนออกกันเอง ยืนยันว่าไม่ได้บุกรุก มีแต่ช่วยกันดูแล
นายทองตู่ 1 ใน 23 ชาวบ้านคดีรุกป่าทับลาน ปี 2554

นายทองตู่ 1 ใน 23 ชาวบ้านคดีรุกป่าทับลาน ปี 2554

นายทองตู่ 1 ใน 23 ชาวบ้านคดีรุกป่าทับลาน ปี 2554

ขณะที่ บังอร เล่าย้อนเรื่องเล่าแทนสามีที่พูดไม่ค่อยเก่งนัก ได้แต่นั่งให้กำลังใจข้าง ๆ กันว่า เมื่อปี 2517 นายหนู พ่อของนายทองตู่ ได้พาครอบครัวมาอยู่ที่นี่

เมื่อก่อนมีแต่ทางเกวียน ไม่มีทางรถยนต์ ต่อมาปี 2547 มีเจ้าหน้าที่มาแนะนำว่าชุมชนต้องการร่วมเป็นกลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำหรือไม่ ซึ่งเครือข่ายใน ต.ไทยสามัคคี ได้ร่วมกันทำกิจกรรมปลูกป่า บวชป่า เพื่อให้ลูกหลานร่วมดูแลรักษาผืน เพราะทำมาหากินบริเวณนี้

นางบังอร

นางบังอร

นางบังอร

ดูแลป่าทับลานกลายเป็นผู้ถูกคดีบุกรุกป่า

กระทั่งปี 2549 มีคนเข้าบอกว่าชุมชนมีการรวมกลุ่มออมทรัพย์กันอยู่แล้ว อยากทำโฮมสเตย์ ซึ่งตอนนั้นยังไม่รู้จักคำนี้ แต่อยากลองทำเพื่อหารายได้เสริม และให้ชุมชนเปิดรับคนภายนอกที่เข้ามาท่องเที่ยว โดยมีสมาชิก 20 หลังคาเรือนร่วมทำ แต่สุดท้ายสามีถูกดำเนินคดี เนื่องจากเป็นเจ้าของที่ดิน โดยยืนยันว่ามีหลักฐานใบ ภ.บ.ท.6

ตั้งแต่ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ก็ได้หยุดทำโฮมสเตย์ ซึ่งก่อนหน้านั้นรายได้ส่วนนี้ก็ไม่ได้มากนัก แต่นักท่องเที่ยวเข้ามาพักเดือนละ 1-2 ครั้ง

นายทองตู่ และนางบังอร

นายทองตู่ และนางบังอร

นายทองตู่ และนางบังอร

บังอร ตั้งคำถามว่า ผ่านมาช่วยดูแลผืนป่ามาตลอด เหตุใดหน่วยงานรัฐไม่เก็บคนไทยด้วยกันไว้ใช้งาน ให้เป็นประโยชน์กับทรัพยากรธรรมชาติ เพราะชาวบ้านช่วยกันได้มาก ไม่เคยได้รับเงินเดือน มีแต่ออกเงินกันเอง เพื่อไม่ให้เกิดไฟป่า หรือเขาหัวโล้น กลัวน้ำจะหลากมาท่วมชุมชนชาวบ้าน

ครอบครัวของนายทองตู่ สร้างครอบครัวที่นี่ มีลูกชาย 1 คน ขณะนี้อายุ 40 กว่าปี และหลานอีก 2 คน จึงรู้สึกกังวลเรื่องคดีบุกรุก

บังอร กล่าวด้วยน้ำตา ว่า เป็นห่วงสามีที่อายุ 60 กว่าปีที่ถูกดำเนินคดี และความหวังสุดท้าย อยากได้แนวเขตปี 43 และกันพื้นที่ออกมา และยกฟ้องชาวบ้าน

ชาวบ้านเข้าใจว่าด้วยแนวเขตปี 2543 จะได้อยู่ในเขตอุทยานทับลาน แต่ตอนนี้ไม่ใช่เพราะเราเป็นจำเลยของสังคมว่าเป็นคนรุกป่า

อ่านข่าว : เปิดเหตุผล "หนึ่งในบอร์ดอุทยานฯ" สงวนสิทธิไม่เห็นด้วยเพิกถอน "ทับลาน"

ใบ ภ.บ.ท.6 เบิกทางอาศัยมา 3 รุ่น

ใบ ภ.บ.ท.6 ของปู่ ชื่อนายเหมี่ยง ธรรมา คือหนึ่งในหลักฐานที่ น.ส.เกตุมณี ธรรมา ทายาทรุ่นที่ 3 และผู้ใหญ่บ้านบุไผ่ นำมาโชว์ให้สื่อมวลชนดู เพื่อบอกว่าบ้านของเธออาศัยอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลานพื้นที่ 2 ไร่ 3 งานมาตั้งแต่ปี 2522 ก่อนประกาศอุทยานแห่งชาติทับลาน

เกตุมณี ธรรมา ผู้ใหญ่บ้านบุไผ่  แสดงใบ ภ.บ.ท.6

เกตุมณี ธรรมา ผู้ใหญ่บ้านบุไผ่ แสดงใบ ภ.บ.ท.6

เกตุมณี ธรรมา ผู้ใหญ่บ้านบุไผ่ แสดงใบ ภ.บ.ท.6

เกตุมณี บอกว่าปู่และครอบครัว "ธรรมา" มาตั้งรกรากทำมาหากินในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2480 โดยมีใบ ภ.บ.ท.6 ของปู่ ซึ่งเดิมหมู่บ้านแห่งนี้ขึ้นกับ ต.วังน้ำเขียว แต่ภายหลังแยกเป็น ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา

ส่วนทะเบียนบ้านถูกจดแจ้งเมื่อปี 2522 เช่นเดียวกับใบเกิดพี่สาวที่ถูกแจ้งเกิดเมื่อเดือน พ.ค.2519 ส่วนตัวเกิดปี 2526 ขณะที่ป่าทับลานที่ถูกประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปี 2524

งัดหลักฐานราชการ อยู่ก่อนประกาศทับลาน

เรามาอยู่ที่นี่เป็นรุ่นที่ 3 ตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย มีหลักฐานที่บอกชัดเจนว่าชาวบ้านอยู่ก่อนประกาศเขตอุทยานทับลานแน่นอน เราไม่ใช่คนเถื่อนที่อยู่โดยไม่มีการรองรับ 
 น.ส.เกตุมณี ธรรมา โชว์ใบ ภ.บ.ท.6

น.ส.เกตุมณี ธรรมา โชว์ใบ ภ.บ.ท.6

น.ส.เกตุมณี ธรรมา โชว์ใบ ภ.บ.ท.6

เกตุมณี บอกว่า นับจากปี 2543 ชาวบ้านเข้าใจตรงกันว่าพื้นที่ 11 หมู่บ้านใน อ.วังน้ำเขียว ถูกกันพื้นที่แนวเขตจากป่าทับลาน มีชาวบ้านร่วมไปเดินแนวเขต ยอมรับว่าเข้าใจมาตลอดว่า เราอยู่นอกเขตอุทยานจึงไม่คิดว่าอยู่แบบผิดกฎหมาย แม้ก่อนหน้านี้ไม่มีเอกสารก็ไม่คิดว่าจะเกิดปัญหา

อย่าให้คนทั้งประเทศมาพิพากษา

กังวลมากกับอนาคตของชาวบ้านใน อ.วังน้ำเขียว ที่กลายเป็นผู้บุกรุกทับลาน และถูกกล่าวหาเอื้อทุนสีเทา ยืนยันที่หมู่บ้านนี้ไม่มีทุนสีเทามาซื้อที่ดินแน่นอน การเปิดให้คนทั้งประเทศมาตัดสินเรื่องเฉือนป่าทับลานไม่ถูกต้อง

ข้อเสนอของ เกตุมณี คืออยากให้รัฐจัดการที่ดิน 58,000 ไร่ ให้ชัดเจนในกลุ่มที่อยู่มาก่อนจะต้องได้รับสิทธิ ส่วนชาวบ้านที่ไม่อยู่ในพื้นที่แปลงนี้จะได้รับสิทธิช่วยเหลืออย่างไร รวมทั้งขอให้คนที่โดนคดีต้องได้รับการพิสูจน์หากมาอยู่หลังก็ต้องออกจากพื้นที่

 น.ส.เกตุมณี ธรรมา

น.ส.เกตุมณี ธรรมา

น.ส.เกตุมณี ธรรมา

อ่านข่าว : เปิดเบื้องหลังเฉือนป่าทับลาน 2.6 แสนไร่ ใครได้ประโยชน์

อย่าให้คนทั้งประเทศมาพิพากษาเฉือนป่าทับลาน

เช่นเดียวกับ นายธนสาร เล็งไทยสง ที่เขาตั้งคำถามว่าเหมาะสมหรือไม่ที่จะเอาชาวบ้านทับลานไปแขวน จากคำว่าเฉือนป่า ถ้าคนทั้งประเทศฟังแล้วคงคิดชาวบ้านเอาพื้นที่ป่าไปทำประโยชน์อย่างอื่น แต่ความจริงคือจุดนี้ห่างป่าทับลานแค่ 12 กม. มีน้ำ ไฟฟ้า ประปา และความเจริญมีทะเบียนบ้านที่ราชการออกให้ ชาวบ้านประกอบอาชีพมาพออยู่พอกินไม่ได้ขายที่เปลี่ยนมือให้ใคร

ไม่อยากให้ตีความว่าชาวบ้านต้องยากจนบรรพบุรุษพาสร้างงาน ชาวบ้านอยู่ในที่ดินแค่อยู่อาศัย แต่กลับถูกมองเป็นผู้บุกรุกป่าทั้งที่เราถูกพาไปปลูกป่าตั้งแต่จำความได้ รักป่าเรายิ่งรักป่าเพราะคือบ้านเกิด

เขาบอกว่า สุดท้ายขอให้ใช้แนวเขต 2543 มาใช้และตัดพื้นที่นี้ออกจากป่าทับลาน เพราะชาวบ้าน ไม่อยากอยากอยู่ในเขตอุทยานทับลาน เพราะกังวลเรื่องเงื่อนไขตามมาตรา 64 โดยวันพรุ่งนี้ (13 ก.ค.) จะชวนชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนมาร่วมแสดงความเห็นกันเพื่อยื่นข้อเสนอไปยังกรมอุทยานฯ

อ่านข่าว : ถอย 2 เสียงไม่ร่วมรัฐบาล "ดำรงค์" ค้านเอื้อโฉนดทองคำทับลาน

นายกฯ ชี้ปมพื้นที่ป่าทับลานเป็นมติรัฐบาลที่แล้ว ย้ำยึดกฎหมาย

รอสรุป 1 เดือน ส่งบอร์ดอุทยานฯ ชี้ขาดปมเพิกถอน "ป่าทับลาน" 2.6 แสนไร่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง