จับ "ปลาหมอสีคางดำ" ได้ 50 กก.ปรับแผนหลังพบปัญหาน้ำขึ้น-ปลาหนี

Logo Thai PBS
จับ "ปลาหมอสีคางดำ" ได้ 50 กก.ปรับแผนหลังพบปัญหาน้ำขึ้น-ปลาหนี
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เจ้าหน้าที่ปรับแผนดักจับ "ปลาหมอสีคางดำ" หน้าวัดยกกระบัตร อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร หลังวันนี้จับได้แค่ประมาณ 50 กิโลกรัม พบอุปสรรค น้ำขึ้น - ปลาหนี

วันนี้ (9 ก.ค.2567) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การดักจับปลาหมอสีคางดำ ในกิจกรรมลงแขกลงคลอง ตั้งแต่เวลา 10.00 น. ณ คลองท่าแร้ง บริเวณวัดยกกระบัตร ต.ยกกระบัตร อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ซึ่งดำเนินการในรูปแบบคณะกรรมการแก้ไขปัญหา "ปลาหมอสีคางดำ" ได้ร่วมไล่ล่าพยายามจับปลาหมอสีคางดำตามแหล่งน้ำธรรมชาติใน จ.สมุทรสาคร 

เผดิม รอดอินทร์ ประมงจังหวัดสมุทรสาคร

เผดิม รอดอินทร์ ประมงจังหวัดสมุทรสาคร

เผดิม รอดอินทร์ ประมงจังหวัดสมุทรสาคร

นายเผดิม รอดอินทร์ ประมงจังหวัดสมุทรสาคร เผยว่าจนถึง 14.30 น. ดำเนินการดักจับไปแล้วประมาณ 2 รอบ แต่ยังจับไม่ค่อยได้ ซึ่งอุปสรรคสำคัญ คือ ปริมาณน้ำในคลองเยอะ และเจ้าหน้าที่อึกทึก ปลาหนีไปอยู่โซนน้ำนิ่งหรือ ในซอยคลอง ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้เอาอวนไปดักปากซอยคลองไว้แล้ว รอน้ำลดเย็นนี้ และจะยกอวนขึ้นอีกรอบ เพื่อจะได้ดูว่ามีปลาหมอสีคางดำติดอวนมากน้อยเท่าใด ซึ่งภาพรวมตั้งแต่ครึ่งเช้า จับปลาหมอสีคางดำได้แล้ว ประมาณ 50 กิโลกรัม

อ่านข่าว : ลงแขกลงคลองจับ "ปลาหมอสีคางดำ" สมุทรสาคร

นายเผดิม ย้ำว่า สถานการณ์ที่ จ.สมุทรสาคร พบปลาหมอสีคางดำ หรือ เอเลียนสปีชีส์ สิ่งมีชีวิตอันตรายในแหล่งน้ำและแพร่พันธุ์รวดเร็ว เป็นปัจจัยที่ทำให้ จ.สมุทรสาคร เร่งดำเนินการเพื่อตัดวงจรชีวิต

"ปลาหมอสีคางดำ สามารถแพร่พันธุ์ได้ทุกๆ 22 วัน ซึ่งแต่ละครั้งของการผสมพันธุ์ จะออกไข่ได้ครั้งละ 300-400 ฟอง และโอกาสรอดมีถึง 99% ซึ่งเป็นปลาที่มนุษย์สามารถกินได้ เพียงแต่การแพร่พันธุ์ที่รวดเร็ว และ การกินสัตว์น้ำทุกประเภท ทำให้ปลาหมอสีคางดำจึงเป็นสัตว์ที่ทำลายล้างระบบนิเวศในแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่ต้องเร่งกำจัด"

ทั้งนี้เมื่อเวลา 15.15 ชุดปฏิบัติการจับปลาหมอสีคางดำ ได้หยุดภารกิจของวันนี้ หลังนำอวนชุดสุดท้าย ที่ไปดักไว้บริเวณหน้าวัดยกกระบัตร อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร

อ่านข่าว : ปลาหมอสีคางดำ ระบาด 13 จังหวัด หนุนเป็นอาหารประจำถิ่น สร้างมูลค่า

นายนิรันดร์ พรหมครวญ หัวหน้ากลุ่มบริหารจัดการด้านการประมง สำนักงานประมง จ.สมุทรสาคร ระบุว่าเจออุปสรรคน้ำในคลองท่าแร้ง มีปริมาณมากจากฝนที่ตกหนักเมื่อคืนที่ผ่านมา รวมถึงฝูงปลาจำนวนมาก ตื่นคน ทำให้ว่ายหนีหายไปหมด

โดนอวนชุดสุดท้าย ที่วางดักไว้ เจ้าหน้าที่ยกขึ้น แต่ไม่มีปลาติดมาแม้แต่ตัวเดียว ทำให้ตัดสินใจยุติภารกิจวันนี้ และปรับแผนกันใหม่ในวันอื่นๆ โดยยืนยันว่า จ.สมุทรสาคร ยังเดินหน้าจับปลาหมอสีคางดำต่อไป

อ่านข่าว : 

เปิดเอกสาร “กรรมการสิทธิฯ” หลังถูกร้อง “ปลาหมอสีคางดำ” ระบาด "สมุทรสาคร-เพชรบุรี"

รู้หรือไม่ “ปลาหมอสีคางดำ” เข้ามาระบาดในไทยได้ยังไง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง