ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กกร.ห่วงปรับค่าแรง 400 บาท กระทบเอสเอ็มอีแบกรับไม่ไหว

เศรษฐกิจ
3 ก.ค. 67
17:10
689
Logo Thai PBS
กกร.ห่วงปรับค่าแรง 400 บาท กระทบเอสเอ็มอีแบกรับไม่ไหว
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กกร.ห่วงนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ กระทบผู้ประกอบการรายเล็กแบกรับต้นทุนไม่ไหว ย้ำค่าแรงต้องให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ พร้อมปรับกรอบส่งออกปีนี้ หลังสหรัฐฯขึ้นภาษีสินค้าจีนรอบใหม่ ส่งผลไทยอานิสงส์

วันนี้ ( 3 ก.ค.2567 ) นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. กล่าวว่า กกร.จังหวัด ทั่วประเทศได้มีการประชุมหารือผู้แทนในคณะอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำรายจังหวัด (ไตรภาคีระดับจังหวัด) เกี่ยวกับการปรับค่าแรงขั้นต่ำ และได้แสดงความกังวลต่อผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/วัน ทั่วประเทศซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ SME ในภาคเกษตรและบริการไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ เนื่องจากไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร.

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร.

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร.

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สถานการณ์ขณะนี้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่กระทบต่อการส่งออก ทั้ง ค่าขนส่งที่สูงขึ้น ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ราคาพลังงาน ซึ่งการเพิ่มต้นทุนจากค่าแรง ยิ่งทำให้ธุรกิจเดินต่อไปไม่ได้

การปรับขึ้นค่าแรงต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงและเป็นไปตามมาตรฐาน ตามกฎหมาย การปรับให้เท่ากันทุกพื้นที่จึงไม่เห็นด้วย

นายผยง กล่าวอีกว่า ที่ประชุมกกร. ได้ปรับกรอบการเติบโตของการส่งออกเป็นร้อยละ 0.8-1.5 จากเดิมร้อยละ 0.5-1.5 ส่วนประมาณการGDP ยังคงไว้ที่ร้อยละ 2.2 ถึง 2.7 โดยการส่งออกไทยแม้ว่าจะผชิญความเสี่ยงจากสงครามการค้าของสหรัฐฯ-จีน การขึ้นภาษีของสหรัฐฯต่อสินค้าจีนรอบใหม่  ซึ่งอาจกระทบสินค้าส่งออกไทยที่เป็นห่วงโซ่อุปทานให้แก่จีน มีการประเมินว่าสินค้าเหล่านี้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.5 ของมูลค่าการส่งออกไทยที่ส่งไปจีน สินค้าที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบมาก เช่น ยางแผ่น ยางแท่ง เม็ดพลาสติกและเคมีภัณฑ์ เป็นต้น

ส่งออกไทยอาจมีปัจจัยบวกชั่วคราว จากการเร่งสั่งซื้อสินค้าและการปรับเปลี่ยนมาส่งออกจากไทย คาดว่ามูลค่าการส่งออกทั้งปีปรับดีขึ้นเล็กน้อย แต่ยังมีประเด็นฉุด โดยเฉพาะต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้น

สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง เห็นได้จากยอดจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกหดตัวร้อยละ 24 รวมไปถึงยอดโอนในธุรกิจอสังหาฯ 4 เดือนแรก บ้านจัดสรรหดตัวร้อยละ 11.8 อาคารชุดหดตัวร้อยละ 7.4 ซึ่งหากอุตสาหกรรมยานยนต์และอสังหาฯ มีแนวโน้มหดตัวมากขึ้นอาจจะกระทบทำให้ GDP ปีนี้ลดลงกว่าที่คาดไว้ร้อยละ 0.3-0.4

กกร.เตรียมทบทวนสรุปปกขาวที่เคยยื่นให้กับรัฐบาลเมื่อปลายปีที่แล้ว ด้วยมองว่าโลกไปเปลี่ยนเร็ว สถานการณ์ในปัจจุบันต่างไปจากเดิมมาก จึงต้องนำมาทบทวนในหลายปัจจัย

อ่านข่าว:

ลุย "บิ๊กอีเวนต์" ททท.หวังดึงเงินต่างชาติ กระตุ้นตลาดเที่ยวไทยโต

จับตา ! ประมูลข้าว 10 ปี "ล้ม-ไม่ล้ม" โจทย์ใหญ่ ทำไมต้อง "ธนสรร ไรซ์"

"ธนาคารโลก" ชี้ "เมืองรอง" เพิ่มศักยภาพผลิตภาพของไทย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง