“ศาลนราธิวาส” เลื่อนพิจารณาคดีสลายการชุมนุมหน้า สภ.ตากใบ

อาชญากรรม
25 มิ.ย. 67
15:34
284
Logo Thai PBS
“ศาลนราธิวาส” เลื่อนพิจารณาคดีสลายการชุมนุมหน้า สภ.ตากใบ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ศาลนราธิวาสเลื่อนอีก พิจารณาคดีเจ้าหน้าที่ทำให้ประชาชนเสียชีวิต ด้วยการนอนทับบนรถบรรทุกจีเอ็มซี เมื่อ 20 ปีก่อน และใกล้หมดอายุความ ก่อนเลื่อนไปพิจารณา 19 และ 26 ก.ค.

วันนี้ (25 มิ.ย.2567) วันนี้เป็นวันที่ 2 ที่ศาลจังหวัดนราธิวาส นัดไต่สวนมูลฟ้อง หลังจากเมื่อวานนี้ (24 มิ.ย.2567) ได้มีการไต่สวนวันแรก โดยมีครอบครัวของผู้ได้รับผลกระทบมาให้กำลังใจด้านนอกศาล

ล่าสุด ศาลจังหวัดนราธิวาสได้เลื่อนการพิจารณาไปเป็นวันที่ 19 ก.ค.และ 26 ก.ค.โดยให้เหตุผลว่า มีการเลื่อนนัดการไต่สวนมาเป็นวันนี้ ซึ่งจำเลยบางคนไม่ทราบมาก่อน โดยฝ่ายทนายโจทย์ได้คัดค้าน เพราะเห็นว่า จำเลยได้รับหมายโดยชอบ แต่ไม่มารักษาสิทธิเอง

และการไม่มีผู้รับมอบหรือรับทราบในห้องพิจารณา เป็นการบ่งบอกว่า ไม่ใส่ใจในคดีของตน เป็นความบกพร่องของจำเลยเอง นอกจากนี้ พยานยังเดินทางมาศาล ด้วยความยากลำบาก เดือดร้อน และรอคอยความยุติธรรม มาเนินนานเกินควร

แต่ศาลเห็นว่า คดีนี้เป็นคดีสำคัญ อยู่ในความสนใจของสังคม จึงเลื่อนการพิจารณา อย่างไรก็ตามวันนี้ศาลได้เปิดโอกาสให้ทั้งฝ่ายโจทย์ และฝ่ายจำเลยได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ และศาลก็ได้ซักถามอย่างละเอียด โดยเฉพาะครอบครัวของผู้สูญเสีย ได้สะท้อนผลกระทบด้านจิตใจต่อศาลตลอด 20 ปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ตากใบ หลายคนมองว่า คดีนี้ยังไม่ได้รับความยุติธรรม เพราะแม้ข้อเท็จจริงในสำนวนไต่สวนการตายของคำสั่งศาลจังหวัดสงขลา จะระบุว่า เสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจ แต่ไม่พบหลักฐานใดที่บ่งชี้ว่า ถูกผู้อื่นกระทำการให้เสียชีวิต พนักงานสอบสวนและอัยการ จึงมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง แต่การเสียชีวิตของคนจำนวนมากที่ยังไม่สามารถเอาผิดกับใครได้ ทำให้ชาวบ้านลุกขึ้นมายื่นฟ้องเอง

สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ที่หน้า สภ.ตากใบ จ.นราธิวาส เจ้าหน้าที่ใช้กำลังควบคุมตัวชาวบ้าน หลังการสลายการชุมนุมหน้า สภ.ตากใบ จนนำไปสู่การเสียชีวิตระหว่างการขนย้าย ผู้ชุมนุมไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี 85 คน ซึ่งก่อนคดีจะหมดอายุความ ชาวบ้าน ทีมทนายของมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม และมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ซึ่งเป็นโจทก์รวม 48 คน ได้ยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐ 9 คน ต่อศาลจังหวัดนราธิวาสเอง เพื่อให้พิจารณาว่า คดีนี้มีมูลฟ้องเป็นคดีอาญาหรือไม่

อ่านข่าว : 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง