ส่งมอบ “นางสาวสยาม” เครื่องบินจำลองลำแรกของไทย

ไลฟ์สไตล์
18 มิ.ย. 67
18:28
328
Logo Thai PBS
ส่งมอบ “นางสาวสยาม” เครื่องบินจำลองลำแรกของไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
พรุ่งนี้ (19 มิ.ย.) กพท.เตรียมส่งมอบ “นางสาวสยาม” เครื่องบินจำลองลำแรกของไทยให้ทายาท น.อ.เลื่อน พงษ์โสภณ ผู้สร้างประวัติศาสตร์ภารกิจขับเครื่องบิน 17 วันเชื่อมสัมพันธไมตรีกับจีนเมื่อ 19 มิ.ย.2475

วันนี้ (18 มิ.ย.2567) นายสุทธิพงษ์ คงพูล ผอ.สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และคณะ เข้าพบนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เพื่อมอบเครื่องบินจำลองนางสาวสยามลำแรก ที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศ ไทย (กพท.) จัดทำขึ้น เพื่อเป็นของที่ระลึกเชิงสัญลักษณ์สื่อถึงประวัติศาสตร์การบินพลเรือนของประเทศไทย โดยเครื่องบินจำลองนางสาวสยาม ขนาดลำตัว 40 เซนติเมตร และ 20 เซนติเมตร 

โดยจะส่งมอบเป็นของที่ระลึกให้กับหน่วยงานด้านการบินทั้งในและต่างประเทศ และมุ่งหวังให้เรื่องราวของเครื่องบิน “นางสาวสยาม” ยังคงอยู่ในความทรงจำและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนสืบต่อ

นอกจากนี้ในวันพรุ่งนี้ (19 มิ.ย.) กพท. จะจัดพิธีมอบเครื่องบินจำลองนางสาวสยาม เพื่อเป็นเกียรติ มูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และกองทัพอากาศ ณ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ

"การรับมอบเครื่องบินจำลองนางสาวสยาม จากหน่วยงาน กพท. เพื่อส่งต่อสู่หน่วยงานด้านการบินทั้งในและต่างประเทศในครั้งนี้ หวังว่าจะเป็นการสานต่อเรื่องราวของเครื่องบินนางสาวสยาม ให้คนรุ่นหลังได้ทราบถึงประวัติความเป็นมา และให้ทราบถึงความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นระหว่างไทยกับจีน ที่มีความยาวนาน  

นางสาวสยาม เครื่องบินลำแรกของไทย

สำหรับ “นางสาวสยาม” เป็นเครื่องบินส่วนตัวของ น.อ.เลื่อน พงษ์โสภณ อดีตนักเรียนทุนส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ที่เดินทางไปศึกษาวิทยาการด้านการบิน ณ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ด้วยความสามารถที่โดดเด่นด้านการบิน น.อ.เลื่อน  ได้รับจ้างแสดงเครื่องบินผาดโผนจนเป็นที่โด่งดังในสหรัฐอเมริกา รายได้จากการเดินสายไปแสดงในรัฐต่าง ๆ กว่า 30 รัฐ ทำให้สามารถซื้อเครื่องบินส่วนตัวได้ 1 ลำ ในราคา 6,000 บาท

พร้อมตั้งชื่อเครื่องบินลำนี้ว่า “นางสาวสยาม” เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.2475 น.อ. เลื่อน ได้บินเดี่ยวด้วยเครื่องบิน “นางสาวสยาม” มุ่งหน้าทำภารกิจเชื่อมสัมพันธไมตรีกับสาธารณรัฐประชาชนจีน

การเดินทางท่ามกลางสงครามทางการเมืองในครั้งนั้น ต้องผ่านอุปสรรคทั้งเสี่ยงเป็นและเสี่ยงตาย แต่ด้วยจิตใจที่เด็ดเดี่ยว และกล้าหาญ น.อ.เลื่อน สามารถทำภารกิจครั้งประวัติศาสตร์นี้ได้สำเร็จภายในเวลา 17 วัน

ปัจจุบันเครื่องบิน “นางสาวสยาม” อยู่ในการดูแลของมูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

อ่านข่าวอื่นๆ

มติเอกฉันท์ ศาล รธน.ชี้กฎหมายฟ้องชู้ขัดรัฐธรรมนูญ

ไขปริศนา 5 วัน สอบข้อเท็จจริง "สินบน" ถุงขนมฮ่องกง 2,000 ล้าน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง