"กม.สมรสเท่าเทียม" ผ่านแล้ว สร้างประวัติศาสตร์ชาติแรกอาเซียน

การเมือง
18 มิ.ย. 67
15:30
8,777
Logo Thai PBS
"กม.สมรสเท่าเทียม" ผ่านแล้ว สร้างประวัติศาสตร์ชาติแรกอาเซียน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
มติที่ประชุม สว.ไฟเขียว ร่างกม.สมรสเท่าเทียม คาดมีผลบังคับใช้ ปลายปีนี้

วันนี้ (18 ม.ย.2567) ความคืบหน้ากรณีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ "ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม" หลังได้รับการบรรจุเป็น 1 ในระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภาสมัยวิสามัญ

ล่าสุด ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สมรสเท่าเทียม) ด้วยคะแนนเห็นด้วย 130 เสียง ไม่เห็นด้วย 4 เสียง งดออกเสียง 18
ไม่ลงคะแนนเสียง 0  ผู้ลงมติ 152 เสียง 

หลังที่ประชุม วุฒิสภาเห็นชอบ ร่างกฎหมายดังกล่าว โดยไม่มีการแก้ไข ให้ นายกฯ, สส. หรือ สว. ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างกฎหมายดังกล่าวว่าไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ก็ให้นายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย จากนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมาย มีผลบังคับใช้ทันทีหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 120 วัน

ขั้นตอนพิจารณาร่างกฎหมาย สมรสเท่าเทียม - สมรสคู่ชีวิต

ขั้นตอนพิจารณาร่างกฎหมาย สมรสเท่าเทียม - สมรสคู่ชีวิต

ขั้นตอนพิจารณาร่างกฎหมาย สมรสเท่าเทียม - สมรสคู่ชีวิต

"สมรสเท่าเทียม" มีอะไรบ้าง

  • บุคคล 2 ฝ่ายทุกเพศสามารถสมรสกันได้ โดยต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป
  • สถานะเป็น "คู่สมรส" แทนคำว่า "สามีภริยา"
  • ส่วนสิทธิประโยชน์สมรสเท่าเทียม "คู่สมรส"
  • สิทธิจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส
  • สิทธิรับบุตรบุญธรรม
  • สิทธิการลงนามยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย
  • สิทธิได้รับประโยชน์ และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส เช่น สิทธิประกันสังคม
  • สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล
  • อื่น ๆ

คู่รักหลากหลายทางเพศ จะได้สิทธิอะไรจากกฎหมายนี้บ้าง ? 

1. สิทธิการได้ดูแลชีวิตของคู่รักของตน
คู่รักสามารถจัดการสิ่งต่าง ๆ ให้ได้ อาทิ การดูแลตัดสินใจเรื่องทางการแพทย์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเบิกรักษาพยาบาล การตัดสินใจสำคัญทางการแพทย์ในกรณีที่คน ๆ นั้นไม่สามารถตัดสินใจด้วยตัวเองได้ หรือกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต อีกฝ่ายก็จะมีสิทธิในการจัดการศพได้ด้วยนั่นเอง

2. สิทธิในการแต่งงาน
ในอนาคตสามารถจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยได้ รวมถึงมีกฎหมายรองรับพิธีกรรมอื่น ๆ เช่น สิทธิการหมั้น การจดทะเบียนสมรส รวมถึงการจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส รวมไปถึงการเป็นตัวแทนทางกฎหมาย สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม และสิทธิได้รับประโยชน์จากสวัสดิการจากรัฐ (อาทิ สวัสดิการข้าราชการ รับประโยชน์ทแทนตามสิทธิประกันสังคม) นอกจากนี้ยังได้สิทธิในการขอสัญชาติอีกด้วย

3. สิทธิการเป็นพ่อแม่ของลูก (ตามกฎหมาย)
พรบ.สมรสเท่าเทียม คู่รัก LGBTQIA+ สามารถเป็นผู้ปกครองของบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ ทั้งนี้ ผู้รับบุตรบุญธรรมยังคงจะต้องมีอายุมากกว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี

4. สิทธิในการหย่าร้าง
สิทธิในการแต่งงานที่เท่าเทียม นำมาซึ่งสิทธิที่เท่าเทียมกันหากคู่รักใช้ชีวิตมาจนจุดแยกจากกันด้วย โดยจะมีสิทธิในการฟ้องหย่า สิทธิในการฟ้องร้องอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น สิทธิการเลี้ยงดูบุตร การเรียกค่าเลี้ยงชีพตามแต่กรณีการหย่าร้างที่เกิดขึ้น และสิทธิในสินสมรส

อ่านข่าว : 

จับตา สว.พิจารณาร่าง กม.สมรสเท่าเทียม เช็กสถานะคู่รักหลากเพศทั่วโลก  

เสียงสะท้อนความหลากหลาย ปลุกสังคมไทยเปลี่ยนทัศนคติต่อ LGBTQIAN+

 สภาฯ ฉลุย 400 เสียงผ่านร่าง "กฎหมายสมรสเท่าเทียม"

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง