รู้หรือไม่ ? เงินเหรียญชำระหนี้ตามกฎหมาย "ได้แต่ไม่ทั้งหมด"

ไลฟ์สไตล์
12 มิ.ย. 67
16:13
2,955
Logo Thai PBS
รู้หรือไม่ ? เงินเหรียญชำระหนี้ตามกฎหมาย "ได้แต่ไม่ทั้งหมด"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
การใช้เหรียญและเงินสดในปัจจุบันมีแนวโน้มลดลงอย่างมาก เพราะความสะดวกสบายของการชำระเงินแบบดิจิทัล หลายคนเริ่มใช้วิธีกำจัดเหรียญโดยการ "หอบ" ไปจ่ายค่าใช้ต่าง ๆ แต่แท้ที่จริง "เหรียญ" มีลิมิตในการใช้ชำระหนี้ที่แตกต่างกันไปตามราคาเหรียญด้วย

ตามข้อมูลของสำนักบริหารเงินตรา กรมธนารักษ์ระบุว่า "เงินเหรียญ" หรือเหรียญที่ใช้จ่ายกันในปัจจุบันนี้ สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายได้ แต่มีการกำหนดเพดานไว้ว่าเหรียญแต่ละราคานั้น สามารถชำระหนี้ได้ไม่เกินคราวละกี่บาท

กรณีเหรียญทั่ว ๆ ไป ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้

  • ถ้าจะใช้เหรียญ 25 หรือ 50 สตางค์ สามารถใช้ชำระหนี้ได้ไม่เกินจำนวนเงินคราวละ 10 บาท
    • ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่า มีหนี้ 10 บาท สามารถใช้เหรียญ 25 สตางค์จ่ายทั้งหมด 40 เหรียญเท่านั้น 
  • ถ้าจะใช้เหรียญ 1 บาท 2 บาท 5 บาท สามารถใช้ชำระหนี้ได้ไม่เกินจำนวนเงินคราวละ 500 บาท
  • ถ้าจะใช้เหรียญ 10 บาท สามารถใช้ชำระหนี้ได้ไม่เกินจำนวนเงินคราวละ 1,000 บาท

กรณี "เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก"

คือเหรียญที่มีราคา 20 บาทขึ้นไป ไม่ใช่ราคาเหรียญที่ใช้กันในปัจจุบัน

  • ถ้าจะใช้เหรียญ 20 บาท สามารถใช้ชำระหนี้ได้ไม่เกินจำนวนเงินคราวละ 500 บาท
  • ถ้าจะใช้เหรียญ 50 บาท สามารถใช้ชำระหนี้ได้ไม่เกินจำนวนเงินคราวละ 1,000 บาท
  • ถ้าจะใช้เหรียญ 100 บาท สามารถใช้ชำระหนี้ได้ไม่เกินจำนวนเงินคราวละ 2,000 บาท
  • ถ้าจะใช้เหรียญ 150 บาท สามารถใช้ชำระหนี้ได้ไม่เกินจำนวนเงินคราวละ 3,000 บาท

ส่วน เหรียญกษาปณ์เงินที่ตั้งแต่ราคา 200 บาทขึ้นไป และ เหรียญกษาปณ์ทองคำที่ราคาตั้งแต่ 150 บาท ขึ้นไป สามารถชำระหนี้ได้ไม่จำกัดจำนวน

สาเหตุที่ต้องกำหนดเพดานการชำระหนี้ของเหรียญตามกฎหมาย เพราะป้องกันการกลั่นแกล้งระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ในการชำระหนี้

ปัจจัยที่ส่งผลคนใช้เหรียญจ่ายเงินลดลง

  1. การพัฒนาของเทคโนโลยีทางการเงิน เช่น การชำระเงินผ่านมือถือ แอปพลิเคชันธนาคารออนไลน์ และการชำระเงินผ่าน QR code 
  2. ความสะดวกสบาย เช่น การใช้บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชัน
  3. มาตรการด้านสุขอนามัย การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ส่งผลให้คนส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการใช้เงินสดและเหรียญ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ
  4. การส่งเสริมการใช้เงินดิจิทัลโดยรัฐบาล หลายประเทศมีนโยบายและโครงการส่งเสริมการใช้เงินดิจิทัลและการทำธุรกรรมแบบไม่ใช้เงินสดเพื่อลดต้นทุนการจัดการเงินสดและเพิ่มความโปร่งใสในการทำธุรกรรม
  5. ความปลอดภัยของการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบดิจิทัล มีการรักษาความปลอดภัยสูง ลดความเสี่ยงในการสูญเสียหรือถูกขโมยเงินสด

ผลกระทบการใช้เหรียญลดลง

  • ธุรกิจขนาดเล็กอาจประสบปัญหาในการปรับตัวหากไม่สามารถรองรับการชำระเงินดิจิทัลได้
  • ธนาคารและสถาบันการเงินต้องปรับปรุงระบบและบริการเพื่อรองรับการทำธุรกรรมดิจิทัล
  • กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่ไม่เข้าถึงเทคโนโลยีประสบปัญหาในการปรับตัวและเข้าถึงบริการการเงินดิจิทัล

แนวทางการปรับตัว

  • ศึกษาและฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีทางการเงินแก่ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มที่ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี
  • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีเพื่อรองรับการทำธุรกรรมดิจิทัลอย่างทั่วถึง
  • สนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กในการปรับตัวเพื่อรองรับการชำระเงินแบบดิจิทัล

อ่านข่าวอื่น : 

ไขคำตอบ! ซาก "งูกัดตัวเอง" ไม่ใช่ฆ่าตัวตาย

ศาลรัฐธรรมนูญ นัดชี้ขาด 4 มาตราเลือก สว. ขัด รธน.หรือไม่ 18 มิ.ย.นี้

ศร.ให้ กกต.ส่งหลักฐานเพิ่มคดียุบ "ก้าวไกล" นัดพิจารณาครั้งหน้า 18 มิ.ย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง