ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ไขคำตอบ “ทะเลรวน” ลดฮวบ 30 ซม.หญ้าทะเลตาย-พะยูนย้ายบ้าน

สิ่งแวดล้อม
8 มิ.ย. 67
09:00
1,837
Logo Thai PBS
ไขคำตอบ “ทะเลรวน” ลดฮวบ 30 ซม.หญ้าทะเลตาย-พะยูนย้ายบ้าน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

อุณหภูมิน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นเพียง 1-2 องศาในช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค.ที่ผ่านมา ไม่เพียงส่งผลกระทบให้ปะการังในท้องทะเลไทย ทั้งฝั่งอันดามัน และอ่าวไทยเกิดภาวะฟอกขาวมากกว่า 40% ซึ่งถือเป็นภาวะวิกฤตในรอบหลายปี จนต้องประ กาศปิดการท่องเที่ยวในเกาะสวยงามหลายแห่ง เพื่อไม่ให้ปะการังที่ป่วยเสื่อมโทรมลงไปมากขึ้น

ท่ามกลางความกังวลของผู้เชี่ยวชาญด้านทะเล ที่เฝ้ามอง “ความรวน” ในท้องทะเลไทย

ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) บอกว่า สถานการณ์ทะเลมีปัญหามาก อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น ไม่ใช่แค่ทำให้เกิดปะการังฟอกขาว ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง แต่ปัญหาที่ซ่อนอยู่

นอกจากน้ำทะเลที่อุ่นขึ้นนั้นทะเลยังรวนขึ้นด้วย ในช่วงน้ำสูงก็สูงผิดปกติและถ้าน้ำต่ำก็ต่ำผิดปกติ เรียกว่าทะเลเกิดความรวน

อ่านข่าว  “ปิ่นสักก์” กับภารกิจหยุด "ปะการังฟอกขาว" เพื่อ "ทะเลไทย"

นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

ทะเลรวน-หญ้าทะเลตาย พะยูนย้ายถิ่น

“ความรวน” ทำให้ระดับน้ำต่ำกว่าผิดปกติกว่าในปีอื่นๆ ถึง 30 ซม.

ปิ่นสักก์ อธิบายต่อว่า หมายความว่าสิ่งมีชีวิต และระบบนิเวศชายฝั่งแห้ง โดนแดดนานกว่าปกติ โดยเฉพาะหญ้าทะเล ซึ่งเป็นระบบนิเวศสำคัญแหล่งอาศัยสัตว์น้ำวัยอ่อน เช่น พะยูน เต่าทะเลจะได้รับผลกระทบ เมื่อหญ้าทะเลเสื่อมโทรมขึ้น

จากการสำรวจของ ทช. พบว่าแหล่งหญ้าทะเลบริเวณ เกาะมุกด์ เกาะลิบง เกาะกระดาน จ.กระบี่ ซึ่งแรกๆ ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน แต่เมื่อมีการส่งทีมนักวิชาการไปศึกษาพบปัญหาซ้อนกันอยู่ แต่ได้คำตอบถึงสาเหตุที่หญ้าทะเลตายลง

อ่านข่าว เช็กด่วน! ปิดเกาะท่องเที่ยว "กระบี่-ตรัง" ฟื้นฟูปะการังฟอกขาว

พะยูนตายพ.ค.เดือนเดียว 4 ตัว 

พบว่าหญ้าทะเลตาย เพราะความเหือดแห้งของน้ำทะเลที่ลดลง 30 ซม. ถือว่ามากกว่าปกติ หากไม่ตายใบจะขาด เหลือง จากที่เคยเป็นป่าสมบูรณ์บริเวณชายฝั่ง และเป็นแหล่งอาศัยของของเต่าทะเล พะยูน บทบาทในการชะลอการกัดเซาะชายฝั่งก็หายไป

ปิ่นสักก์ บอกว่า จากการประเมินพบภาพรวมแหล่งหญ้าทะเลเสื่อมโทรมบางจุดมากกว่า 70% แต่หากรวมทั้ง 2 จังหวัดคือตรังและกระบี่ มากกว่า 50% จึงกังวลผลกระทบกับกลุ่มที่ต้องใช้พื้นที่หากินเช่น คนหาหอยชักตีน กุ้ง ซึ่งต้องพึ่งพาชายฝั่ง

สัตว์ทะเลที่พึ่งพาหญ้าทะเล โดยเฉพาะจ.ตรัง ถือเป็นบ้านของพะยูนฝูงใหญ่ที่เคยมี 220 ตัว จะไม่มีอาหารกินและตายได้ ซึ่งเริ่มความผิดปกติเมื่อจำนวนพะยูนบริเวณนี้เพียง 100 ตัว จนห่วงว่าพะยูนจะตาย แต่เนื่องจากไม่พบซาก ข้อสันนิษฐานว่าพะยูนอาจกระจายตัวไปที่หากินที่จุดอื่น

อ่านข่าว ต้นตอวิกฤต "หญ้าทะเล" จ.ตรัง ระบบนิเวศเปลี่ยน หรือ มือมนุษย์

อธิบดี ทช.บอกว่า สมมติฐานก็เป็นจริง เมื่อพบฝูงพะยูนกระจายออกไปหากินในท้องทะเลจังหวัดอื่น เช่น กระบี่ และพังงา แต่ที่น่าห่วงกว่านั้นคือ การที่พะยูนอพยพไปในพื้นที่อื่น อาจจะเพิ่มความเสี่ยง เกิดอันตรายได้ เช่น วิ่งชนเรือ ติดเครื่องมือประมง อาจจะกระทบกับการแพร่กระจายของพะยูน

ข้อกังวลเกิดขึ้นแล้วเมื่อพบว่าเพียงแค่ต้นเดือน พ.ค.นี้ มีพะยูนตายติดๆกันถึง 4 ตัว โดย 2 ตัว เกิดจากติดอวน อีก 1 ตัวตายจากการ

ขณะนี้ได้พยายามร่วมกับชาวบ้านในการปกป้องพื้นที่ลดคสวามเสี่ยงจากคนและลดความเร็วเรือ ติดป้าย เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อพะยูนที่เป็นสัตว์ป่าสงวนที่ลดน้อยลง

อ่านข่าว ทะเลอ่าวไทยอุ่นขึ้น 1 องศาฯ จับตา 3 เดือนเสี่ยงปะการังฟอกขาว

หญ้าทะเลพัง-ระบบนิเวศรวน

ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จ.ตรัง รายงานผลการปฏิบัติงานตามโครงการสำรวจจำนวนและพฤติกรรมของพะยูนในแหล่งหญ้าทะเลเกาะมุกด์-หาดหยงหลำ

เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง ทำการสำรวจโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (drone) บริเวณท่าเทียบเรือเกาะมุกด์ ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง

พบฝูงพะยูนเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะมุกด์ 25-30 ตัว ถือเป็นจำนวนที่มากที่สุด ตั้งแต่ทำการสำรวจมา ทั้งนี้จะต้องมีการศึกษาติดตาม

อ่านข่าวอื่นๆ โลกเดือด! อุณหภูมิไทยแตะ 43 องศาฯ ปะการังฟอกขาว

ข้อมูลสถานการณ์หญ้าทะเลในพื้นที่ เกาะลิบง มีพื้นที่หญ้าทะเล 15,457 ไร่ จากการสำรวจเมื่อปี 2563 มีพื้นที่หญ้าทะเลเสื่อมโทรม 7,997 ไร่ ทั้งนี้เมื่อ ก.พ.2566 เปอร์เซ็นต์การปกคลุมลดลงจาก 24% ในเดือน ธ.ค.2566 เหลือเพียง 9%

ส่วนพื้นที่เกาะมุกด์ มีพื้นที่หญ้าทะเล 9,017 ไร่ จากการสำรวจเมื่อปี 2566 มีพื้นที่หญ้าทะเลเสื่อมโทรม 6,910 ไร่ ทั้งนี้เมื่อ ก.พ.2566 เปอร์เซ็นต์การปกคลุมลดลงจาก 51% ในเดือน ธ.ค.2566เหลือเพียง 14%

อ่านข่าว 

เมื่อมหาสมุทร "สุขภาพดี" มนุษย์ย่อมอยู่รอด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง