- ดูบอลสด! ไทย ดวล สิงคโปร์ ศึกคัดบอลโลก ค่ำนี้
- ครม.เห็นชอบ "ไหว้" เอกลักษณ์ชาติไทยประเภททักทาย-แสดงความเคารพ
"สลากเกษียณ" หรือ "สลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ" ที่รัฐบาลกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการกำลังได้รับความสนใจของหลายคน ในเวลานี้ เพราะจะเป็น "เงินออม" แบบได้ "ลุ้นเงินรางวัล" ทุกสัปดาห์
สิ่งนี้จะเป็นทางเลือกการออม ที่หวังจูงใจให้คนออมเงินใช้ตอน "สูงอายุ" แต่ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า สลากเกษียณ คืออะไร มีเงื่อนไขอย่างไร และเปิดขายเมื่อไร ใครมีสิทธิบ้าง

"หวยเกษียณ หรือ สลากเกษียณ" คืออะไร
"สลากเกษียณ" เป็น "นวัตกรรมเชิงนโยบาย" ที่รวมเอาลักษณะการชอบ "เสี่ยงดวง" เป็นแรงจูงใจในการ "เก็บออม" ซึ่งจะมีการออกรางวัลทุกสัปดาห์
แต่หากไม่ถูกรางวัล เงินที่ซื้อไม่หายไปไหน แต่จะสะสมเป็น "เงินออม" และจะ "ถอนเงิน" ไม่ได้จนกว่าจะอายุ 60 ปี
- สลากเกษียณจะออก โดยกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
- สลากเกษียณ เป็นแบบดิจิทัล ไม่ต้องเลือกเลข ขายใบละ 50 บาท
- กำหนดให้ซื้อได้ 3,000 บาท ต่อเดือน
- เปิดให้ซื้อผ่านแอปพลิเคชัน กอช.
ใครซื้อ สลากเกษียณ ได้บ้าง
- สมาชิก กอช.
- ผู้ประกันตนมาตรา 40
- แรงงานนอกระบบ
*** (หมายเหตุ : อาจมีกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมภายหลัง)
สลากเกษียณ ซื้อสลากได้วันไหน
- สลากเกษียณ ซื้อได้ทุกวัน และจะออกรางวัล ทุกวันศุกร์ เวลา 17.00 น.
สลากเกษียณ มีเงินรางวัลเท่าไหร่
- รางวัลที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท จำนวน 5 รางวัล
- รางวัลที่ 2 จำนวน 1,000 บาท จำนวน 10,000 รางวัล
ทั้งนี้ รางวัลดังกล่าวกำหนด (อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม)
สำหรับ ผู้ถูกรางวัลจะได้เงินรางวัลทันที ส่วนเงินค่าซื้อสลากถูกเก็บเป็นเงินออมในบัญชี กอช. ของผู้ซื้อสลากฯ แม้จะถูกรางวัลหรือไม่ก็ตาม โดย กอช. จะเป็นผู้บริหารจัดการเงินจำนวนดังกล่าว และเมื่อผู้ซื้อสลากอายุครบ 60 ปี จะสามารถถอนเงินทั้งหมดที่ซื้อสลากมาทั้งชีวิตออกมาได้

2573 ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ระดับสุดยอด
ในช่วงข่าวเที่ยง - ไทยพีบีเอส อธิบายว่า ประเทศไทยเป็นสังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ มีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ มาตั้งแต่ปี 2565 และ มีการคาดการณ์จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ว่า จะมีค่าใช้จ่ายในการดูแลประชากร เช่น เรื่อง สวัสดิการเบี้ยยังชีพ หรือ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในปี 2568 กว่า 100,000 ล้านบาท

ขณะที่เงินรายได้ของรัฐจากการจัดเก็บภาษีจากแรงงานที่มีราว ๆ 40 ล้านคน พบว่า ยื่นแบบเสียภาษี 10 ล้านคน จ่ายภาษีจริง 4 ล้านคน เท่านั้น ทำให้ภาระงบประมาณก้อนใหญ่นี้ กำลังมีแนวโน้มว่าจะถึงทางตัน หากเราเป็นสังคมสูงวัยสุดยอด หรือ มีคนสูงอายุมากถึงร้อยละ 20 ของประชากร ในปี 2573

จูงใจให้คนออมเงินใช้ตอนสูงอายุ
การดำเนินโครงการนี้นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง ยอมรับว่า กระทรวงจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ เพื่อให้แรงงานนอกระบบ ออมเงินรองรับวัยเกษียณ แต่จำนวนสมาชิกมีเพียง 3 ล้านคน จึงเตรียมจูงใจแรงงานนอกระบบออมเงินในกองทุนมากขึ้น โดยเตรียมแผนจำหน่ายสลากสะสมทรัพย์ เพื่อวัยเกษียณ
รมช.คลัง ยังบอกด้วยว่าต้องใช้เวลาผลักดันอีกประมาณ 6 เดือน - 1 ปี รับฟังความเห็นผู้เกี่ยวข้องก่อน คาดเปิดจำหน่ายสลากฯ ได้ภายในปีหน้า 2568 และช่วยเพิ่มจำนวนสมาชิก จาก 3 ล้านคน เป็น 16 - 17 ล้านคน
อ่านข่าว:
นักรัฐศาสตร์แนะ กกต.เลื่อนเลือก สว. หวั่น "เลือกตั้งโมฆะ"