ชาติแรก! ธงชาติจีนปัก "ผิวดวงจันทร์" สำเร็จ Chang’e-6 กลับโลก

Logo Thai PBS
ชาติแรก! ธงชาติจีนปัก "ผิวดวงจันทร์" สำเร็จ Chang’e-6 กลับโลก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ชาติแรก! ธงชาติจีนปัก Chang’e-6 ลงจอดบนพื้นผิวด้านไกลของดวงจันทร์ได้เป็นครั้งที่ 2 เก็บตัวอย่างดินกลับสู่โลกคาดลงจอดในภูมิภาคมองโกเลียใน 25 มิ.ย.นี้

หลังจากเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา องค์การอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) ประสบความสำเร็จในการส่งยานฉางเอ๋อ 6 (Chang’e-6) ลงจอดบนพื้นผิวด้านไกลของดวงจันทร์ได้เป็นครั้งที่ 2 โดยถือเป็นเดียวที่ลงจอดบนดวงจันทร์ใน “ด้านที่ไม่มีวันมองเห็นได้จากโลก"

เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.2567 สำนักข่าว Reuters รายงานว่า เมื่อเวลา 13.48 น. ตามเวลาประเทศไทย ยานท่อนบนของฉางเอ๋อ 6 สามารถเชื่อมต่อเข้ากับยานโคจรรอบดวงจันทร์ได้สำเร็จ และนำแคปซูลดินและหินจากดวงจันทร์ ย้ายเข้าสู่ยานโคจรรอบเรียบร้อย

ยานอวกาศไร้คนขับจะบินกลับมายังโลก โดยคาดว่าจะลงจอดในภูมิภาคมองโกเลียในของจีน ในวันที่ 25 มิ.ย.นี้ หากประสบความสำเร็จ จีนจะเป็นประเทศแรกที่นำแคปซูลดิน และหินจากดวงจันทร์กลับมายังโลกได้สำเร็จ

อ่านข่าว จีนส่ง Chang’e-6 ลงจอดด้านไกลดวงจันทร์สำเร็จ

ยาน Chang’e-6 ลงจอดบนพื้นผิวด้านไกลของดวงจันทร์ได้เป็นครั้งที่ 2 เก็บตัวอย่างดินกลับสู่โลกคาดลงจอดในภูมิภาคมองโกเลียใน 25 มิ.ย.นี้

ยาน Chang’e-6 ลงจอดบนพื้นผิวด้านไกลของดวงจันทร์ได้เป็นครั้งที่ 2 เก็บตัวอย่างดินกลับสู่โลกคาดลงจอดในภูมิภาคมองโกเลียใน 25 มิ.ย.นี้

ยาน Chang’e-6 ลงจอดบนพื้นผิวด้านไกลของดวงจันทร์ได้เป็นครั้งที่ 2 เก็บตัวอย่างดินกลับสู่โลกคาดลงจอดในภูมิภาคมองโกเลียใน 25 มิ.ย.นี้

วินาทีประวัติศาสตร์ 

ข้อมูลจาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่า ทุกอย่างก็เป็นไปตามแผน ยานฉางเอ๋อ 6 สามารถทะยานขึ้นจะพื้นผิวดวงจันทร์ ขึ้นมาเชื่อมต่อกับยานโคจรรอบได้สำเร็จ 

หลังจากที่ยานท่อนบนของฉางเอ๋อ 6 ทะยานขึ้นจากพื้นผิวดวงจันทร์เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อเตรียมตัวเชื่อมต่อ (docking) เข้ากับยานโคจรรอบดวงจันทร์ ระหว่างที่ยานกำลังทะยานขึ้นได้จุดเครื่องยนต์เพื่อปรับวงโคจรรวมทั้ง หมด 4 ครั้ง ซึ่งทุกขั้นตอนเป็นไปอย่างราบรื่น

จนกระทั่งยานทั้งสองลำอยู่ห่างกันในแนวระนาบ 50 กิโลเมตร และมีความสูงห่างจากกันประมาณ 10 กิโลเมตร ยานจึงเริ่มเคลื่อนเข้าหากันอย่างช้า ๆ โดยอัตโนมัติ และสามารถเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ได้ในที่สุด

หลังจากนี้ ยานทั้งสองส่วนจะแยกตัวออกจากกันอีกครั้ง ตัวยานที่เพิ่งทะยานขึ้นมาจากพื้นผิวดวงจันทร์เพื่อนำแคปซูลดินมาส่ง จะถูกปลดทิ้งลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์

ขณะที่ยานโคจรรอบดวงจันทร์ จะยังโคจรต่อไปอีกประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อรอจังหวะที่เหมาะสมในการเดินทางกลับสู่โลก โดยทางทีมควบคุมภารกิจวางแผนให้แคปซูลจะต้องส่งมาถึงพื้นผิวโลกในวันที่ 25 มิ.ย.นี้ บริเวณพื้นที่ของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน

ภาพพื้นผิวด้านไกลของดวงจันทร์ โดย Chang’e-6 ลงจอดสำเร็จ  เก็บตัวอย่างดินกลับสู่โลก

ภาพพื้นผิวด้านไกลของดวงจันทร์ โดย Chang’e-6 ลงจอดสำเร็จ เก็บตัวอย่างดินกลับสู่โลก

ภาพพื้นผิวด้านไกลของดวงจันทร์ โดย Chang’e-6 ลงจอดสำเร็จ เก็บตัวอย่างดินกลับสู่โลก

รู้จักธงชาติจีน 11 กรัมอยู่นานหมื่นปี 

ข้อมูลระบุว่า ธงชาติจีน ที่กางอยู่ด้านไกลของดวงจันทร์ในภารกิจฉางเอ๋อ 6 เป็นวัสดุที่ทำมาจากหินบะซอลต์ มีน้ำหนักเพียง 11 กรัม และมีเส้นใยที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมของมนุษย์ มีคุณสมบัติที่ทนทานต่อการกัดกร่อน ทนทั้งอุณหภูมิร้อนและเย็นจะช่วยให้ธงชาติจีนผืนนี้กางอยู่บนดวงจันทร์นานนับ 10,000 ปี

ศาสตรจารย์โจว ชางอี้ จากศูนย์วิทยาศาสตร์อวกาศแห่งชาติจีน (NSSC) กล่าวว่า บดและหลอมละลายหิน เพื่อทำให้เป็นเส้นใยที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง ⅓ ของเส้นผม 

ธงชาติจีนบนผิวดวงจันทร์ด้านไกล น้ำหนักเพียง 11 กรัมอยู่ได้ยาวนานถึงหมื่นปี (ภาพ CNSA-เพจNARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ)

ธงชาติจีนบนผิวดวงจันทร์ด้านไกล น้ำหนักเพียง 11 กรัมอยู่ได้ยาวนานถึงหมื่นปี (ภาพ CNSA-เพจNARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ)

ธงชาติจีนบนผิวดวงจันทร์ด้านไกล น้ำหนักเพียง 11 กรัมอยู่ได้ยาวนานถึงหมื่นปี (ภาพ CNSA-เพจNARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ)

นักวิจัยที่จีนใช้เวลาพัฒนาเทคนิคนี้นานหลายปี ซึ่งไม่ใช่เพื่อทำธงชาติจีนเพียงผืนเดียวเท่านั้น แต่ทางจีนมองเห็นว่า หินบะซอลต์สามารถพบได้ทั่วไปบนพื้นผิวดวงจันทร์ ซึ่งในอนาคตหากเริ่มมีการก่อสร้างสถานีวิจัยบนพื้นผิวดวงจันทร์ ก็อาจใช้ทรัพยากรบนดวงจันทร์ร่วมกับเทคนิคนี้ ให้เป็นประโยชน์ต่อโครงการสำรวจดวงจันทร์ในอนาคตได้นั่นเอง

ยานฉางเอ๋อ 6 ลงจอดบนด้านไกลของดวงจันทร์ได้สำเร็จเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา นับเป็นความสำเร็จครั้งที่สองของจีน

นอกจากนี้ธงชาติจีนที่กางออกในครั้งนี้ ยังนับเป็นธงชาติแรกของโลกที่ปรากฏอยู่บนด้านไกลของดวงจันทร์อีกด้วย 

ที่มา: สำนักข่าว Reuters  และ https://spacenews.com/change-6-spacecraft-dock-in-lunar.../

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง