ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

บินได้แล้ว! ลูกพญาแร้งตัวเมีย “รหัส 51” ป่าซับฟ้าผ่า

สิ่งแวดล้อม
3 มิ.ย. 67
11:13
309
Logo Thai PBS
บินได้แล้ว! ลูกพญาแร้งตัวเมีย “รหัส 51” ป่าซับฟ้าผ่า
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อัปเดตลูกพญาแร้งตัวเมีย “รหัส 51” แห่งป่าซับฟ้าผ่า ห้วยขาแข้ง อายุ 3 เดือนครึ่ง ปรับตัวดี ฝึกบินไกล 2 เมตรมีพ่อป๊อก-แม่มิ่งคอยเฝ้าดูแลไม่ห่าง คาดก.ย.นี้อาจแยกให้พ่อแม่มีโอกาสผสมพันธุ์

นับจากวินาทีแรกที่ “ลูกพญาแร้ง” รหัส 51 โผบินจากรังสูง 20 เมตรบ้านใจกลางป่าซับฟ้าผ่า ห้วยขาแข้ง ลงมาสู่พื้นดินด้านล่าง พร้อมเริ่มกระพือปีกกางสู่โลกกว้าง เริ่มสำรวจพื้นที่รอบข้างอย่างราวกับเด็กน้อย

ทีมนักวิจัยโครงการฟื้นฟูประชากรแร้ง ที่เฝ้ารอและประคบประหงมมานานกว่า 3 เดือนครึ่ง แอบมองผ่านกล้องวงจรปิด ถึงกับกลั้นน้ำตาไม่อยู่ พวกเขายอมรับว่า “ใจฟู” เป็นครั้งที่ 3

รหัส 51 เป็นลูกพญาแร้งตัวเมีย ตัวแรกที่เกิดกลางป่าซับฟ้า บ้านธรรมชาติของพวกมัน หลังจากบินจากรังสู่โลกกว้างด้านล่าง แสดงว่ามันมีพัฒนาการที่ดี

“แจ็ค” วชิราดล แผลงปัญญา หนึ่งในนักวิจัยโครงการฟื้นฟูประชากรพญาแร้งของสวนสัตว์นครราชสีมา เล่าด้วยน้ำเสียงตื่นเต้น

อ่านข่าว เบื้องหลังความสำเร็จ "ลูกพญาแร้ง" ตัวแรกในป่าห้วยขาแข้ง

ลูกพญาแร้งรหัส 51 ในป่าซับฟ้าผ่า ห้วยขาแข้ง (ภาพ : เพจพญาแร้งคืนถิ่น Thailand Red-headed Vulture Project)

ลูกพญาแร้งรหัส 51 ในป่าซับฟ้าผ่า ห้วยขาแข้ง (ภาพ : เพจพญาแร้งคืนถิ่น Thailand Red-headed Vulture Project)

ลูกพญาแร้งรหัส 51 ในป่าซับฟ้าผ่า ห้วยขาแข้ง (ภาพ : เพจพญาแร้งคืนถิ่น Thailand Red-headed Vulture Project)

ลูกพญาแร้ง ลงจากรังเทียม-ฝึกบิน

แจ็ค บอกว่า ช่วงแรกพัฒนาลูกพญาแร้งบนรังสูง ที่มีพ่อป๊อก และแม่มิ่งคอยดูแลไม่ห่างตั้งแต่เล็ก ๆ จนวันนี้มีอายุ 3 เดือน 18 วัน ถูกจำกัดด้วยพื้นที่เพียง 1X 1 เมตร จึงทำได้แค่ขยับตัวไปมา มีพ่อแม่คอยนำอาหารไปป้อนให้วันละ 3 มื้อ จนถึงวันที่ลูกพญาแร้งลงจากรังมาสู่ด้านล่าง นั่นแสดงว่าเขามีสัญชาติญาณเทียบเท่ากับตัวเต็มวัย

พัฒนาการของรหัส 51 ซึ่งเป็นพญาแร้งตัวเมีย อยู่ระดับดี น้ำหนักกว่า 4 กก. ขนปีก ขนหางออกมาเกือบเต็ม เริ่มหัดเดิน ทดลองบิน และโดดเล่นลม บินได้ระยะ 2 เมตร แต่ยังบินไม่สูง จับคอนที่ทำไว้ให้ ซึ่งจะค่อยพัฒนาไปเรื่อย ๆ

แจ็ค บอกว่า จากที่ติดตามครอบครัวพญาแร้ง 3 ตัว รู้สึกประทับใจ ชื่นใจ เห็นความรักของพ่อและแม่พญาแร้ง ที่เฝ้าดูแลลูกไม่ห่างตั้งแต่วันที่รหัส 51 ลืมตาดูโลก ผ่านร้อนจัด 44 องศาเซลเซียส ผ่านฝนตกหนักในป่าที่แม่จะเอาปีกกางป้องแดดให้ลูกไม่ห่าง

แม้แต่ตอนนี้ก็ลงจากรังสูง มาแล้ว ยังเห็นภาพประทับใจที่ครอบครัวมาอยู่รวมฝูงกัน 3 ตัวพ่อและแม่จะคอยระวังภัย คอยเลือกชิ้นอาหารที่เล็กให้ลูกกิน และฝึกพาขึ้นคอนให้ลูกฝึกบิน

อ่านข่าว มองรักผ่าน “ลูกพญาแร้ง” รับวาเลนไทน์ “ป๊อก-มิ่ง” พ่อแม่มือใหม่

กระนั้นก็ตาม ในฐานะนักวิจัย ถึงแม้พัฒนาการของลูกพญาแร้งจะในเกณฑ์ดีแต่ยังต้องห่วงทุกวัน เพราะสภาพที่นี่คือกรงเลี้ยงขนาดใหญ่กลางป่าธรรมชาติ ที่อาจมีเรื่องไม่คาดคิดได้ทุกเมื่อ

ยังต้องห่วงทุกวัน ทุกเรื่องแม้แต่สภาพอากาศของซับฟ้าผ่า ฝนตกหนัก 85 มม. เจอฝนพายุขนาดนี้จะรอดมั้ย แต่ผ่านมาเกือบ 4 เดือนเรียกว่าเขาปรับตัวได้ทั้งแดดร้อน ฝนปรับตัว

เขาบอกว่า ขั้นตอนจากนี้ลูกพญาแร้งจะค่อยๆพัฒนากล้ามเนื้อทุกสัดส่วน ทีมงานสร้างคอน เพิ่มกิ่งไม้ให้เขากำ เกาะและทรงตัว และบินไกล ซึ่งพื้นที่กรงกลางป่าที่ออกแบบให้มีขนาดสูง 20X20X40 ถือว่าเพียงพอสำหรับการฝึกใช้ชีวิต ส่วนอาหารตอนนี้ให้เนื้อแพะออแกนิก และซากจากในพื้นที่เสริมให้เพื่อให้กินซากจริงจากในพื้นที่

สำหรับความปลอดภัย มีการทำรั้วไฟฟ้าเพิ่ม 2 ชั้น และติดวงจรปิด 24 ชม. มีเจ้าหน้าที่คนตอยติดตามตลอด และดูผ่านมือถือสามารถติดตามพฤติกรรมและพัฒนาการตลอดเวลา

ชื่นใจแต่ไม่ถึงกับหายเหนื่อย เพราะความดีใจแรกคือได้เห็นไข่ใบแรก ใจฟูไปรอบหนึ่งและใจฟูรอบที่สองในป่าซับผ่าและออกเป็นตัวลูกพญาแร้ง และพร้อมที่จะลุยงานนี้ต่อ
พ่อป๊อก แม่มิง ในป่าซับฟ้าผ่า ห้วยขาแข้ง (ภาพ : เพจพญาแร้งคืนถิ่น Thailand Red-headed Vulture Project)

พ่อป๊อก แม่มิง ในป่าซับฟ้าผ่า ห้วยขาแข้ง (ภาพ : เพจพญาแร้งคืนถิ่น Thailand Red-headed Vulture Project)

พ่อป๊อก แม่มิง ในป่าซับฟ้าผ่า ห้วยขาแข้ง (ภาพ : เพจพญาแร้งคืนถิ่น Thailand Red-headed Vulture Project)

เล็งให้พ่อป๊อก-แม่มิง จับคู่อีกรอบ

เขาบอกอีกว่า หลังจากนี้ จะต้องประเมินพฤติกรรม และพัฒนาของครอบครัวของพญาแร้งในป่าซับฟ้าผ่า และเทียบกับครอบครัวพญาแร้งในกรงเลี้ยงที่สวนสัตว์โคราช เพื่อนำไปปรับปรุงให้การเลี้ยงลูกพญาแร้งให้สอดคล้องกับธรรมชาติจริง ๆ

และแผนต่อจากนี้ คาดว่าภายในเดือน ก.ย.นี้ หากเป็นไปได้อาจจะทดลองแยกลูกพญาแร้งรหัส 51 ออกจากพ่อแม่ เพื่อเตรียมสำหรับการเริ่มต้นฤดูผสมพันธุ์ในรอบถัดไป

แจ็ค ปิดท้ายกับเราเมื่อถามว่าเคยได้ยินเสียงของรหัส 51 หรือไม่ว่า พญาแร้ง ร้องเสียงในลำคอ เสียงเบามากต้องเงียบสุด ส่วนเรื่องรหัส 51 เป็นนามเรียกขานรหัสวิทยุของซับฟ้าผ่า

อ่านข่าว รอบ 30 ปี "ลูกพญาแร้ง" กะเทาะเปลือกไข่ลืมตาดูโลกป่าห้วยขาแข้ง  

ก่อนหน้านี้ พญาแร้ง "ป๊อก-มิ่ง" ผ่านเกณฑ์การจับคู่ในช่วงเจริญพันธุ์ หลังจากนำทั้ง 2 ตัวมาจับคู่เทียบกันและไม่พบว่ามีการตีกัน จากนั้นวันที่ 14 ก.พ.2565 ทีมนักวิจัยได้เคลื่อนย้ายพญาแร้ง "ป๊อก-มิ่ง" จากสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี นำไปอยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าซับฟ้าผ่า ใจกลางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

โดยใช้ชีวิตอยู่ในกรงฟื้นฟูที่หน่วยพิทักษ์ป่าซับฟ้าผ่าเป็นเวลานานกว่า 1 ปีและสามารถปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อมในป่าห้วยขาแข้ง และให้กำเนิดลูกตัวแรกเมื่อวันที่ 9 ก.พ.2567  

อ่านข่าวอื่นๆ

บุกจับ ภรรยา “เสี่ยต้น” นักธุรกิจนวดไทย ตั้งข้อหาจ้างวานฯ ฆ่าสามี

จีนส่ง Chang’e-6 ลงจอดด้านไกลดวงจันทร์สำเร็จ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง