- ผู้โดยสารโปรดทราบ! กรุณารัด "เข็มขัดที่นั่ง" ทุกครั้งเมื่อโดยสารเครื่องบิน
- เรารู้อะไรบ้างจากการ "ตกหลุมอากาศ" ของ SQ321
กรณีเกิดเหตุถังออกซิเจนระเบิดขึ้น ในบ้านพักหลังหนึ่ง ซอยเพชรเกษม 77/8 เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบพบผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส ร่างขาดครึ่งท่อน เจ้าหน้าที่กู้ชีพเร่งให้การช่วยเหลือแต่ไม่เป็นผล เสียชีวิตในเวลาต่อมา พบว่าบ้านหลังดังกล่าวเป็นร้านเก็บถังออกซิเจน
เปิดปัจจัยถังก๊าซออกซิเจนระเบิด
นายสุเมธา วิเชียรเพชร อดีตผู้เชี่ยวชาญสารเคมีและวัตถุอันตราย กรมควบคุมมลพิษ ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ ถึงปัจจัยเหตุถังก๊าซระเบิดว่า ถังก๊าซออกซิเจนอาจเกิดการระเบิดได้ 2 กรณีคือความร้อนสูง และความร้อนปกติ 30-40 องศาเซลเซียสไม่มีปัญหา
อีกกรณีคือหากถังบรรจุตกจากที่สูงเพียงแค่ 3-4 เมตร และกระแทกลงพื้นที่แข็งจะยุบตัว แรงดันในถังจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นปัจจัยการเคลื่อนของการเคลื่อนย้ายถังมีโอกาสตกและระเบิดเลย แม้ว่าจะเป็นก๊าซไม่ติดไฟ
สภาพที่เกิดเหตุถังออกซิเจนระเบิด มีผู้เสียชีวิต 1 คน
นอกจากนี้ยังอาจมาจากอัดก๊าซมาเกินไป จนถังรับแรงดันไม่ได้ หรือใส่ก๊าซผิดประเภท ประกอบกับถังเก่าที่เสื่อมสภาพเ มื่อผ่านการใช้งานมานาน ในจุดนี้ตรวจจากรอยเขม่าได้
ถ้าอัดแรงดันมากก็ 2,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ความเร็วของตัวก๊าซที่พุ่งออกมาในอากาศอย่างเร็ว เพียงเสี้ยววินาทีคนที่ใกล้สุดจึงทำให้เกิดร่างขาดได้
สอดคล้องกับข้อมูลของ ศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ นักวิชาการสาขาเคมีอินทรีย์ และผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม ม.เกษตร ศาสตร์ ระบุว่า จุดเกิดเหตุเป็นเป็นสถานที่จัดเก็บถังออกซิเจน จากภาพจะเห็นถังสีเขียวและสีแดงอยู่บริเวณจุดเกิดเหตุ ถังสีเขียวเป็นถังออกซิเจนทั่วไป เพื่อใช้เขื่อมโลหะในภาคอุตสาหกรรม
ส่วนถังสีแดงคืออเซทีลีน เป็นกลุ่มเคมี ที่มวลสารเบา ทำให้มีแรงอัดและแรงดันค่อนข้างสูง และเป็นก๊าซไวไฟ นำไปใช้คู่กับถังออกซิเจนทั่วไปในการเชื่อมโลหะในภาคอุตสาหกรรมเช่นกัน แต่ลักษณะทางค่อนข้างเก่า จึงมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุได้
ขณะในที่เกิดเหตุพบกลุ่มเขม่าควันสีเทาดำ น่าจะเกิดจากการติดไฟอย่างรวดเร็ว หรือเกิดปฏิกิริยาของก๊าซอะเซทิลีน Acetylene (C2H2) ทำความชื้นในอากาศ เมื่อระเบิดขึ้นจึงมีลักษณะเป็นเขม่าสีเทาดำอย่างที่เห็น
ส่วนก๊าซอะเซทิลีน บรรจุอยู่ในถังหลายขนาด มีทั้ง 10-40 ลิตร แต่ที่พบในที่เกิดเหตุเป็นถังขนาด 40 ลิตรที่มีแรงดันค่อนข้างสูง มีขนาด 1,500-2,000 PSI มีความเป็นไปได้ถ้าเนื้อโลหะขึ้นสนิม และเกิดการกระแทกขนาดขนย้าย ก๊าชที่อาจจะหลงเหลืออยู่ข้างในจะเกิดการขยายตัว และระเบิดจนทำให้ถังโลหะฉีกขาด อีก 1 ข้อสังเกตหากถังที่ไม่ได้ผ่านมาตรฐาน ISO ไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่เพราะอาจจะเกิดระเบิดอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้
ใช้ถังออกซิเจนที่บ้านอย่างไรให้ปลอดภัย
นพ.ธิติวัฒน์ ศรีประสารน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งให้ข้อมูลในช่วงปี 2564 เกี่ยวกับการใช้ถังออกซิเจนในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่รับการรักษาแบบการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) อาจมีความจำเป็นต้องใช้หน้ากาก และถังออกชิเจนในการรักษา
แม้ก๊าซออกชิเจน เป็นก๊าซที่ไม่ติดไฟ แต่สามารถเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการลุกใหม้ที่รวดเร็วและรุนแรงได้ การใช้ถังออกซิเจนให้ปลอดภัยมีหลักปฏิบัติดังนี้
อ่านข่าว ถังออกซิเจนระเบิด ย่านเพชรเกษม เสียชีวิต 1 คน บ้านพังยับ
สังเกตก่อนใช้
- ก๊าซออกซิจนต้องบรรจุในถังสีเขียว ที่มีเครื่องหมาย มอก.540-2555
- เกลียวนอกข้อต่อถังออกซิเจนต้องได้รับมาตรฐาน CGA 540
- ห้ามใช้ถังออกชิเจนที่ขึ้นสนิม
- ต้องใช้หัวอุปกรณ์ปรับลดแรงดันสำหรับถังออกซิเจนทางการแพทย์เท่านั้น
- ถ้าจำเป็นต้องไปพบแพทย์ ควรใช้ถังออกซิเจนแบบพกพาสำหรับเดินทาง
พิจารณาใช้เครื่องผลิตออกซิเจน กรณีต้องใช้ออกซิจนตลอดเวลา
อ่านข่าว เปิดใจทีมปิดทองหลังเครื่อง ปฏิบัติการรับมือเหตุฉุกเฉิน SQ321
ระหว่างการใช้
- วางถังในแนวตั้งและยึดให้แน่น ระวังการล้มกระแทกขณะเคลื่อนย้าย
- ห้ามวางถังออกชิเจนในห้องโดยสารรถยนต์ เพราะถ้าเกิดการรั่วจะเป็นอันตรายได้
- ไม่อยู่ใกล้ความร้อนหรือเปลวไฟ เช่น สูบบุหรี่ เครื่องเป่าผม
หรือมีดโกนไฟฟ้า รวมทั้งอยู่ห่างจากห้องครัวอย่างน้อย 5 เมตร - ห้ามใช้อุปกรณ์ฉีดพ่น เช่น สเปรย์ปรับอากาศ สเปรย์ฉีดผม ใกล้กับถังออกซิเจน เพราะละอองฝอยมีคุณสมบัติไวไฟ
- ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ติดไฟได้ เช่น ปีโตรเลียมเจลลี่ น้ำมัน และหากล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล ต้องปล่อยให้มือแห้งสนิทก่อนใช้
หลังการใช้
- ห้ามเก็บในที่ปิด เช่น ตู้เสื้อผ้า และให้ห่างจากความร้อน เปลวไฟอย่างน้อย 1.5 เมตร
- ติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ และห้ามจุดไฟใกล้บริเวณที่เก็บ
- ปิดหัวจ่ายให้สนิทเพื่อป้องกันการรั่วไหล และหมั่นตรวจสอบการรั่วของถังออกซิเจนหลังใช้งาน
- หลังการใช้งาน ให้หมุนสวิตช์ตามเข็มนาฬิกาเพื่อขันให้แน่น
อ่านข่าว เปิดตุลาการเสียงข้างน้อยไม่รับคำร้อง 40 สว.ชงถอด "เศรษฐา"
ย้อนรอยอุบัติเหตุถังออกซิเจนระเบิด
14 พ.ย.2556 เกิดเหตุระเบิดร้าน “ศักด์ออกซิเย่น” ริมถนนมรุพงษ์ ต.หน้าเมือง มีผู้เสียชีวิต 2 คนบาดเจ็บ 5 คน แรงระเบิดทำให้อาคารพาณิชย์แบบ 3 ชั้นครึ่งถูกแรงระเบิด ได้รับความเสียหายฝั่งละ 9 คูหา รวม 18 คูหา มีเศษชิ้นส่วนกระจก เศษซากตัวอาคาร ยานพาหนะ และชิ้นส่วนมนุษย์เกลื่อนพื้นในรัศมี 30-40 เมตร
1 ก.พ.2560 ถังออกซิเจนระเบิด ที่ร้าน เอ.พี. ยูนิคเมทัล แอนด์ซับพลาย ปากซอยโพธิ์เพิ่ม ต.บึงคพำร้อย ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ผู้บาดเจ็บจำนวน 6 คนสาเหตุเกิดจากถังออกซิเจนล้มลง 1 ถัง และระเบิดขึ้น ลูกน้องและลูกค้าซึ่งยืนอยู่บริเวณนั้นถูกแรงระเบิด และเกิดประกายไฟไปติดที่ไม้กวาดและร่มพลาสติก จึงได้รับบาดเจ็บ
29 ส.ค.2560 เกิดเหตุถังบรรจุออกซิเจนระเบิด ที่โรงงานบรรจุแก๊ส หจก.พิษณุโลก ผลิตภัณฑ์แก๊ส ถ.มิตรภาพ อ.เมืองพิษณุโลก คนงานโดนแรงอัดเสียชีวิต 1 คน
29 เม.ย.2566 เกิดเหตุถังก๊าซระเบิดภายใน ซ.บางนาการ์เด้น ถ.เทพรัตน์ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ เสียชีวิต 1 คนบาดเจ็บ 1 คน คาดว่าถังก๊าซออกซิเจนอาจเจอความร้อน และตั้งอยู่ในตำแหน่งที่นอนวางกับพื้น อาจทำให้ระเบิดได้
12 พ.ค.2567 คนงานชาวเมียนมา 1 คนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุถังก๊าซระเบิดในระหว่างขนย้ายถังออกซิเจนจำนวนมาก แต่ขณะขนย้ายเกิดการระเบิด ทำให้ผู้เสียชีวิตถูกแรงระเบิดแขนขาด และเสียชีวิต
23 พ.ค.2567 เกิดเหตุสลดถังออกซิเจน ระเบิดภายในหมู่บ้าน ซอยเพชรเกษม 77/8 เขตหนองแขม คนงานเสียชีวิต 2 คน
อ่านข่าว
เปิดครัว คปท.-กองทัพธรรม-ศปปส.ขยับสอบรัฐบาล “ไล่-ไม่ไล่” อุณหภูมิจะนำทาง