ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ประติมากรรม "Golden Boy" กลับถึงไทยแล้ว

สังคม
20 พ.ค. 67
11:53
2,360
Logo Thai PBS
ประติมากรรม "Golden Boy" กลับถึงไทยแล้ว
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เดินทางมาถึงไทยแล้ว สำหรับ "โกลเด้น บอย" โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะ The Met ในสหรัฐฯ ส่งคืนให้กับไทย

วันนี้ (20 พ.ค.2567) Golden boy หรือ ประติมากรรมรูปพระศิวะ ที่จากประเทศไทยเมื่อ 2518 หรือ กว่า 60 ปี ในราคา 1,200,000 บาท เดินทางกลับมาถึงไทยแล้ว และเชื่อว่า ในวงการค้าวัตถุโบราณ จะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า ร้อยล้านบาท และ อีกชิ้น คือ ประติมากรรม "สตรีพนมมือ"

ทั้งสองชิ้น เป็นส่วนหนึ่งของวัตถุโบราณที่ถูกถอดออกจากทะเบียนบัญชีของพิพิธภัณฑ์ ที่อัยการเขตแมนฮัตตัน แจ้งข้อหาค้าวัตถุโบราณโดยผิดกฎหมาย เมื่อปี 2562 และ 2564 ทั้งนี้ยังไม่ได้มีหนังสือจากรัฐบาลขอทวงคืนแต่อย่างใด  

โดย The Met มีแถลงการณ์ออกมาเมื่อเดือนธันวาคม 2566 ที่จะสร้างความปรองดองทางวัฒนธรรม ผ่านการคืนโบราณวัตถุ กว่า 30 ชิ้น ทั้งไทย กัมพูชา และ อินโดนีเซีย ซึ่งเมื่อ 25 เม.ย.2567 ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิตัน ได้จัดพิธีลงนาม บันทึกความเข้าใจฉบับใหม่ ระหว่างพิพิธภัณฑ์กับรัฐบาลไทย

ทั้งนี้ กรมศิลปากร จะแถลงข่าวต้อนรับ ในวันอังคารที่ 21 พ.ค.นี้ เวลา 13.30 น และจะเปิดให้ประชาชนเข้าชมในวันที่ 22 พ.ค. ที่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร กทม.

รู้จัก Golden Boy 

ประติมากรรมสำริดเทวรูปในท่ายืนสำริด กะไหล่ทอง ฝังเงิน เป็นประติมากรรมบุรุษเพศชายลักษณะ เป็นรูปเคารพเทพเจ้า แต่การที่ไม่ปรากฏสัญลักษณ์สำคัญของเทพฮินดูองค์ใดอยู่เลย ทำให้สันนิษฐานว่าประติมากรรมนี้แสดงถึงกษัตริย์ในสถานะเทพ หรือเทวราชา

ทำไมถึงได้ฉายา Golden Boy 

นักค้าโบราณวัตถุขนานนามให้และยกให้เป็นโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยมระดับโลก มูลค่าการซื้อขายนักสะสมตีราคา 100 ล้านบาท

ทำไมแพงขนาดนั้น ก็เพราะว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีหล่อขั้นสูง หล่อขึ้นโดยมีส่วนผสมหลักคือทองแดงและดีบุก เคลือบผิวด้วยกะไหล่ทอง และฝังเงิน

สันนิษฐานว่าประติมากรรมชิ้นนี้ มีส่วนประกอบของดีบุกมากกว่า 20% โดยถูกผสมลงไปเพื่อช่วยในการไหลของโลหะในขั้นตอนการหล่อ ซึ่งมักจะพบในประติมากรรมที่มีนาดใหญ่

เช่นเดียวกับประติมากรรมที่พบจากปราสาทสระกำแพงใหญ่ จ.ศรีสะเกษ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จ. นครราชสีมา ประติมากรรมทำผมถักหวีรวบขึ้นไปเป็นมวยผม ลำตัวเล็ก เอวแคบ สวมผ้านุ่งสั้นเว้าเป็นวงโค้งที่หน้าท้อง ซึ่งเป็นรูปแบบของศิลปะเขมรในประเทศไทย ราว พ.ศ. 1600-1650 หรือต้นพุทธศตวรรษที่ 17

อ่านข่าว :

"พระพุทธรูปโบราณ" กับเส้นทาง-ความฝัน ที่จะผลักดัน “เชียงแสน” เป็นมรดกโลก

รัฐบาลชี้แจง "ศธ." ไม่ได้สั่งประกาศยกเลิกแต่งชุดนักเรียน ขออย่าหลงเชื่อ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง