ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สสจ.บึงกาฬ ประสานยืมแพทย์ช่วยตรวจผู้ป่วย รพ.พรเจริญ

สังคม
16 พ.ค. 67
07:33
387
Logo Thai PBS
สสจ.บึงกาฬ ประสานยืมแพทย์ช่วยตรวจผู้ป่วย รพ.พรเจริญ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สสจ.บึงกาฬ ประสานยืมแพทย์ช่วยตรวจผู้ป่วย แก้ปัญหา รพ.พรเจริญ ขาดแคลนแพทย์ งดบริการผู้ป่วยนอก

จากกรณีที่โรงพยาบาลพรเจริญ จ.บึงกาฬ แจ้งเหลือแพทย์ประจำ 1 คนรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ปรับแผนการให้บริการประชาชน ตั้งแต่วันที่ 27 - 31 พ.ค.2567 

ล่าสุด นพ.ภมร ดรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ ชี้แจงว่า โรงพยาบาลพรเจริญ เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง 30 เตียง มีแพทย์ประจำ 5 คน แต่ในช่วงวันที่ 27 - 31 พ.ค.2567 แพทย์ 4 คน ลาไปเรียนต่อ 3 คน และ อีก 1 คนลาออก โดยจะได้แพทย์เข้ามาทดแทน วันที่ 1 มิ.ย. ครบตามจำนวนที่ออกไป ซึ่งในช่วงนี้เป็นช่วงโยกย้ายแพทย์ และ เริ่มบรรจุแบบเดียวกันทั่วประเทศ 

นพ.ภมร ดรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ

นพ.ภมร ดรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ

นพ.ภมร ดรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ

ช่วงที่มีแพทย์เพียงคนเดียว ได้ประสานยืมแพทย์จากโรงพยาบาลใน จ.บึงกาฬ และโรงพยาบาลในจังหวัดใกล้เคียง มาช่วยตรวจผู้ป่วย ส่วนการแพทย์ฉุกเฉิน จะมีแพทย์เวรประจำอยู่แล้วและแพทย์ที่ยืมมาช่วย จะช่วยอยู่เวรกับแพทย์ประจำที่เหลืออยู่ ส่วนพยาบาลกับบุคลากรขึ้นเวรเป็นปกติ จึงยืนยันว่า โรงพยาบาลพร้อมให้บริการผู้ป่วยตามปกติ

ชาวอำเภอพรเจริญ เปิดเผยว่า ไม่กังวลที่โรงพยาบาลเหลือแพทย์เพียงคนเดียว เพราะเป็นผู้ป่วยสูงอายุที่มาตามหมอนัดเมื่อรับยาก็กลับบ้าน

ชาวอำเภอพรเจริญ เปิดเผยว่า ไม่กังวลที่โรงพยาบาลเหลือแพทย์เพียงคนเดียว เพราะเป็นผู้ป่วยสูงอายุที่มาตามหมอนัดเมื่อรับยาก็กลับบ้าน

ชาวอำเภอพรเจริญ เปิดเผยว่า ไม่กังวลที่โรงพยาบาลเหลือแพทย์เพียงคนเดียว เพราะเป็นผู้ป่วยสูงอายุที่มาตามหมอนัดเมื่อรับยาก็กลับบ้าน

ขณะผู้ใช้บริการโรงพยาบาล ชาวอำเภอพรเจริญ เปิดเผยว่า ไม่กังวลที่โรงพยาบาลเหลือแพทย์เพียงคนเดียว เพราะเป็นผู้ป่วยสูงอายุที่มาตามหมอนัดเมื่อรับยาก็กลับบ้าน แต่คนที่เป็นผู้ป่วยโรคทั่วไป หากมาถึงโรงพยาบาลสาย อาจต้องรอนาน

อ่านข่าว : สธ. เตรียมเพิ่ม "อินเทิร์น" เข้าระบบ หลังหมอขาดแคลนหลายพื้นที่

นพ.ภมร ยังกล่าวอีกว่า โรงพยาบาลชุมชนทั้ง 7 อำเภอ ของ จ.บึงกาฬ ยังมีความต้องการแพทย์อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งปีนี้กระทรวงสาธารณสุข บรรจุแพทย์เพิ่มขึ้นมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยยึดจากประชากรแต่ละอำเภอ เช่น ประชากร 10,000 คนต่อแพทย์ 1 คน หรือ อย่าง อ.พรเจริญ มีประชากรประมาณ 40,000 - 50,000 คน จะมีแพทย์ประจำ 4-5 คน ซึ่งถือว่าเพียงพอต่อการดูแลผู้ป่วย

สำรวจสัดส่วนแพทย์ไทยต่อประชากร

แม้การมีแพทย์เพียง 1 คน ที่โรงพยาบาลพรเจริญใน จ.บึงกาฬ จะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ในภาวะปกติมีแพทย์เพียง 4-5 คนเท่านั้น ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้อาจฉายภาพให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงบุคลากรการแพทย์ของคนไทย

โรงพยาบาลพรเจริญ จ.บึงกาฬ แจ้งเหลือแพทย์ประจำ 1 คนรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ปรับแผนการให้บริการประชาชน ตั้งแต่วันที่ 27 - 31 พ.ค.2567

โรงพยาบาลพรเจริญ จ.บึงกาฬ แจ้งเหลือแพทย์ประจำ 1 คนรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ปรับแผนการให้บริการประชาชน ตั้งแต่วันที่ 27 - 31 พ.ค.2567

โรงพยาบาลพรเจริญ จ.บึงกาฬ แจ้งเหลือแพทย์ประจำ 1 คนรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ปรับแผนการให้บริการประชาชน ตั้งแต่วันที่ 27 - 31 พ.ค.2567

เมื่อพิจารณาข้อมูล "สัดส่วนเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ต่อประชากร" ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี พบว่า ปี 2560 แพทย์ 84 คน สัดส่วนต่อประชากรกว่า 5,000 คน ปี 2561 และ 2562 เหมือนสถานการณ์จะดีขึ้น เพราะสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรประมาณ 4,000 คน แต่ในช่วง 2 ปีหลังที่มีข้อมูล คือ ปี 2563 และ 2564 สัดส่วนแพทย์ต่อประชากรขยับขึ้นไปถึง 6,000 คน สูงกว่าเมื่อ 5 ปีก่อน

ข้อมูลสัดส่วนแพทย์ต่อจำนวนประชากร จ.บึงกาฬ

ข้อมูลสัดส่วนแพทย์ต่อจำนวนประชากร จ.บึงกาฬ

ข้อมูลสัดส่วนแพทย์ต่อจำนวนประชากร จ.บึงกาฬ

เป็นที่น่าสังเกตว่ายิ่งนานวัน แพทย์ที่ จ.บึงกาฬ ดูจะต้องรับภาระในการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่สถานการณ์ "กลับกัน" เมื่อมาดูข้อมูลของกรุงเทพมหานคร ย้อนหลัง 5 ปีเหมือนกัน

เพราะในปี 2560 มีแพทย์กว่า 8,800 คน สัดส่วนต่อประชากร คือหมอ 1 คน ต่อประชากร 630 คนมาถึงปี 2561 แพทย์เพิ่มขึ้นเป็น 9,000 คน สัดส่วนต่อประชากรประมาณ 600 คน

ส่วนในปี 2562 สัดส่วนแพทย์ต่อประชากรลดลงมาเหลือประมาณ 500 คน ปี 2563 จำนวนแพทย์ในกรุงเทพฯทะลุ 10,000 คน และปี 2564 ซึ่งเป็นปีที่มีข้อมูลล่าสุด แพทย์กว่า 10,000 คน สัดส่วนต่อประชากรคือ 515 คนเท่านั้น

ข้อมูลสัดส่วนแพทย์ต่อจำนวนประชากร กรุงเทพฯ

ข้อมูลสัดส่วนแพทย์ต่อจำนวนประชากร กรุงเทพฯ

ข้อมูลสัดส่วนแพทย์ต่อจำนวนประชากร กรุงเทพฯ

จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นทิศทางและแนวโน้ม ของสัดส่วนหมอ 1 คนต่อประชากรที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ในต่างตังหวัดกลับตรงกันข้าม

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ปี 2556-2565 ประเทศไทยมีการผลิต และบรรจุแพทย์เพิ่มเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพของรัฐทั้งหมด 19,355 คน หรือเฉลี่ย 2,000 คนต่อปี ในจำนวนนี้ ก็มีบางส่วน ที่ลาออกจากระบบสุขภาพภาครัฐ

โรงพยาบาลพรเจริญ จ.บึงกาฬ แจ้งเหลือแพทย์ประจำ 1 คนรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ปรับแผนการให้บริการประชาชน ตั้งแต่วันที่ 27 - 31 พ.ค.2567

โรงพยาบาลพรเจริญ จ.บึงกาฬ แจ้งเหลือแพทย์ประจำ 1 คนรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ปรับแผนการให้บริการประชาชน ตั้งแต่วันที่ 27 - 31 พ.ค.2567

โรงพยาบาลพรเจริญ จ.บึงกาฬ แจ้งเหลือแพทย์ประจำ 1 คนรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ปรับแผนการให้บริการประชาชน ตั้งแต่วันที่ 27 - 31 พ.ค.2567

องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดมาตรฐานจำนวนแพทย์ต่อประชากรไว้ที่แพทย์ 1 คนต่อประชากร 1,000 คนเท่านั้น ที่ผ่านมาตัวเลขของไทยอยู่ระหว่าง 0.5-0.8 คนต่อประชากร 1,000 คน 

ภาครัฐน่าจะมีเพียง 0.5 ต่อประชากร 1,000 คน หรือแพทย์ 1 คนต่อประชากร 2,000 คน แต่ตัวเลขนี้ก็ไม่ใช่ทุกจังหวัด

 อ่านข่าว

รพ.พรเจริญ เหลือแพทย์ประจำ 1 คน แจ้งปรับแผนดูแลปชช. ช่วงปลาย พ.ค. 

เสียโอกาส! อนุทินห่วงร้านค้า-ผู้ป่วย หาก "กัญชา" กลับเป็นยาเสพติด 

โควิดสายพันธุ์ KP พบแล้วในไทย 13 คน 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง