ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

นักวิชาการ มช. แนะใช้ข้าวเก่า 10 ปี ผลิตแอลกอฮอล์ - น้ำส้มสายชู

สังคม
8 พ.ค. 67
10:22
8,811
Logo Thai PBS
นักวิชาการ มช. แนะใช้ข้าวเก่า 10 ปี ผลิตแอลกอฮอล์ - น้ำส้มสายชู
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักวิชาการ มช. ชี้ กินข้าวค้างเก่า 10 ปี เสี่ยงได้รับสารพิษจากเชื้อรา แนะนำข้าวเก่าไปผลิตแอลกอฮอล์ - น้ำส้มสายชู แทนการนำไปขายให้ประชาชนหรือทำอาหารสัตว์ หวั่นขายข้าวเน่าให้แอฟริกาเสี่ยงกระทบชื่อเสียงข้าวไทย

จากกรณีที่ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ลงพื้นที่ตรวจสอบข้าวสารในสต็อกของรัฐบาล ตามโครงการรับจำนำ ที่ จ.สุรินทร์ โดยนำข้าวที่เก็บอยู่ในโกดังมาหุงและรับประทานร่วมกับสื่อมวลชนและผู้เกี่ยวข้อง และจากนี้จะมีการตรวจสอบก่อนประกาศจำหน่ายข้าวสารในสต็อกของรัฐเป็นการทั่วไป จนทำให้ #จำนำข้าว ติดเทรนด์ฮิตใน สื่อสังคมออนไลน์ 

กระสอบป่านที่เก็บข้าว ที่วางทับซ้อนกันสูงมาก อาจทำให้อากาศไม่ถ่ายเท ส่งเสริมการดูดซึมน้ำกลับ ความชื้นในเมล็ดข้าวสูงขึ้น ส่งเสริมการเจริญของมอดแมลงต่าง ๆ

กระสอบป่านที่เก็บข้าว ที่วางทับซ้อนกันสูงมาก อาจทำให้อากาศไม่ถ่ายเท ส่งเสริมการดูดซึมน้ำกลับ ความชื้นในเมล็ดข้าวสูงขึ้น ส่งเสริมการเจริญของมอดแมลงต่าง ๆ

กระสอบป่านที่เก็บข้าว ที่วางทับซ้อนกันสูงมาก อาจทำให้อากาศไม่ถ่ายเท ส่งเสริมการดูดซึมน้ำกลับ ความชื้นในเมล็ดข้าวสูงขึ้น ส่งเสริมการเจริญของมอดแมลงต่าง ๆ

ล่าสุด รศ.พันทิพา พงษ์เพียจันทร์ ที่ปรึกษาฝ่ายวิจัยและวิชาการ คณะเกษตรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก โดยมีเนื้อหาสำคัญดังนี้  

กรณีที่มีการนำข้าวเก่าอายุ 10 ปี มารับประทานนั้น อาจทำให้ได้รับสารพิษจากเชื้อราไปแล้วหลายชนิด  

อ่านข่าว : "ภูมิธรรม" ขนทัพสื่อ-ผู้ส่งออก บุกโกดังข้าว 10 ปี ยันกินได้

ทั้งนี้ โดยปกติอาหารสัตว์ จะเก็บพวกธัญเมล็ดต่าง ๆ (รวมถึงข้าว) ได้อย่างมาก 1 ปี ที่อุณหภูมิห้อง เช่นเดียวกับที่โรงสี แต่ก่อนเก็บนอกจากการรมควันแล้ว ความชื้นในเมล็ดธัญพืชจะต้องไม่เกิน 12% เพราะพวกนี้สามารถดูดซึมน้ำกลับได้ โดยจากสภาพการเก็บของโรงสีดังกล่าว ซึ่งเก็บข้าวในกระสอบป่าน จึงมีโอกาสที่จะดูดซึมน้ำกลับทำให้ความชื้นของเมล็ดข้าวสูงขึ้น

กระสอบป่านที่เก็บข้าว ที่วางทับซ้อนกันสูงมาก อาจทำให้อากาศไม่ถ่ายเท ส่งเสริมการดูดซึมน้ำกลับ ความชื้นในเมล็ดข้าวสูงขึ้น ส่งเสริมการเจริญของมอดแมลงต่าง ๆ

กระสอบป่านที่เก็บข้าว ที่วางทับซ้อนกันสูงมาก อาจทำให้อากาศไม่ถ่ายเท ส่งเสริมการดูดซึมน้ำกลับ ความชื้นในเมล็ดข้าวสูงขึ้น ส่งเสริมการเจริญของมอดแมลงต่าง ๆ

กระสอบป่านที่เก็บข้าว ที่วางทับซ้อนกันสูงมาก อาจทำให้อากาศไม่ถ่ายเท ส่งเสริมการดูดซึมน้ำกลับ ความชื้นในเมล็ดข้าวสูงขึ้น ส่งเสริมการเจริญของมอดแมลงต่าง ๆ

ดังนั้น หากจะเก็บไว้นานกว่านี้ จะต้องเก็บในสภาพเย็นแบบแห้ง (Cold dry processing) โดย อุณหภูมิต้องไม่เกิน 13 °C ซึ่งจะทำให้แมลงไม่ฟักออกเป็นตัว

นอกจากนี้ กระสอบป่านที่เก็บข้าว ที่วางทับซ้อนกันสูงมาก อาจทำให้อากาศไม่ถ่ายเท ส่งเสริมการดูดซึมน้ำกลับ ความชื้นในเมล็ดข้าวสูงขึ้น ส่งเสริมการเจริญของมอดแมลงต่าง ๆ

ทั้งนี้แม้จะรมยาแต่สภาพการวางทับกระสอบ จึงทำให้ไม่สามารถรมยาไม่ทั่วถึง เนื่องจากข้าวที่เอามาหุงนั้นขณะล้างข้าว เห็นได้ชัดว่ามีมอดข้าวและด้วง ซึ่งการที่เมล็ดข้าวมีความชื้น ส่งเสริมการเติบโตของมอด แมลงต่าง ๆ หลักฐานประจักษ์ขณะซาวข้าว ( จำนวน 15ครั้ง ตามข่าว ซึ่งข้าวปกติจะล้างไม่ถึง 3 ครั้ง) 

นอกจากนี้ การมีมอดแมลง มูลของแมลงเหล่านี้นำมาซึ่งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรีย ทำให้ข้าวเน่าและได้รับสารพิษโดยไม่รู้ตัว และจากสภาพข้าวที่หุงออกมาจะมีข้าวจำนวนไม่น้อย ที่มีสีน้ำตาลตรงปลายเมล็ด ซึ่งก็คือนั่นคือ เม็ดข้าวที่ขึ้นรา โดยสารอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) สามารถตรวจโดยใช้เทคนิค บี จี วาย ฟลูโอเรสเซนท์ (Bright Greenish-Yellow Fluorescent)

การมีมอดแมลง มูลของแมลงเหล่านี้นำมาซึ่งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรีย ทำให้ข้าวเน่าและได้รับสารพิษโดยไม่รู้ตัว และจากสภาพข้าวที่หุงออกมาจะมีข้าวจำนวนไม่น้อย ที่มีสีน้ำตาลตรงปลายเมล็ด ซึ่งก็คือนั่นคือ เม็ดข้าวที่ขึ้นรา

การมีมอดแมลง มูลของแมลงเหล่านี้นำมาซึ่งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรีย ทำให้ข้าวเน่าและได้รับสารพิษโดยไม่รู้ตัว และจากสภาพข้าวที่หุงออกมาจะมีข้าวจำนวนไม่น้อย ที่มีสีน้ำตาลตรงปลายเมล็ด ซึ่งก็คือนั่นคือ เม็ดข้าวที่ขึ้นรา

การมีมอดแมลง มูลของแมลงเหล่านี้นำมาซึ่งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรีย ทำให้ข้าวเน่าและได้รับสารพิษโดยไม่รู้ตัว และจากสภาพข้าวที่หุงออกมาจะมีข้าวจำนวนไม่น้อย ที่มีสีน้ำตาลตรงปลายเมล็ด ซึ่งก็คือนั่นคือ เม็ดข้าวที่ขึ้นรา

ทั้งนี้ สารดังกล่าวสามารถทนอุณหภูมิได้ถึง 250°C  นอกจากนี้ยังจะมีสารพิษอื่น ๆ ตามมาอีกหลายตัว อุณหภูมิข้าวที่หุงน้ำเดือด 100°C ไม่สามารถทำลายพิษจากเชื้อราได้ อาจทำลายได้เพียงแบคทีเรียจากมูลของแมลง

รศ.พันทิพา ยังแนะนำว่า ไม่ควรขายให้คนหรือสัตว์นำไปบริโภค เพราะอาจจะทำให้มีผู้ป่วยด้วยมะเร็งมากขึ้น สำหรับผู้บริโภคโดยตรง ขณะที่ กรณีนำไปเลี้ยงสัตว์ ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ เนื้อ นม ไข่ ที่มีสารพิษจากเชื้อราตกค้างในอาหารทำให้เพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้น

การนำไปขายให้ประเทศแถบแอฟริกา ซึ่งข้าวที่เน่าเสียนี้จะกระทบต่อชื่อเสียงของข้าวไทยที่จะกระจายไปทั่วโลก

การนำไปขายให้ประเทศแถบแอฟริกา ซึ่งข้าวที่เน่าเสียนี้จะกระทบต่อชื่อเสียงของข้าวไทยที่จะกระจายไปทั่วโลก

การนำไปขายให้ประเทศแถบแอฟริกา ซึ่งข้าวที่เน่าเสียนี้จะกระทบต่อชื่อเสียงของข้าวไทยที่จะกระจายไปทั่วโลก

ขณะที่ กรณีการนำไปขายให้ประเทศแถบแอฟริกา ซึ่งข้าวที่เน่าเสียนี้จะกระทบต่อชื่อเสียงของข้าวไทยที่จะกระจายไปทั่วโลก ทำให้คู่แข่งได้เปรียบ รวมถึงจะใช้ระยะเวลานานกว่าจะกู้ชื่อเสียงกลับคืนมาคงหลายปี  และอาจทำให้เสียตลาดข้าวให้คู่แข่ง 

ดังนั้น จึงขอแนะนำให้นำข้าวเหล่านี้ ไปผลิตเป็นแอลกอฮอล์ หรือน้ำส้มสายชู และควรสอบถามนักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การอาหารต่อไป ทั้งนี้ การตรวจสอบสารพิษเหล่านี้ สามารถตรวจได้ที่มหาวิทยาลัยที่มีห้องปฏิบัติการตรวจอาหารทั่วไป หรือ กรมปศุสัตว์ หรือบริษัทรับตรวจสารพิษในอาหาร

 

อ่านข่าว

เผยวิธีเก็บข้าว 10 ปี ผู้เชี่ยวชาญกังวลคุณค่าทางอาหารถูกย่อยสลาย  

แกะรอย มหกรรมโชว์กินข้าว 10 ปี กินได้จริงหรือ? ฤาหาทางลง 

"สมชัย" แนะตรวจสอบคุณภาพข้าว 10 ปี สร้างความมั่นใจก่อนขาย  

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง