ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จุฬาฯ สร้างแกนนำดึงผู้สูงอายุ สร้างโครงงาน Active Learning ช่วยผู้สูงอายุแข็งแรง

สังคม
3 พ.ค. 67
17:57
823
Logo Thai PBS
จุฬาฯ สร้างแกนนำดึงผู้สูงอายุ สร้างโครงงาน Active Learning ช่วยผู้สูงอายุแข็งแรง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เปิดงานวิจัย "จุฬาฯ” สร้างแกนนำผู้สูงอายุช่วยสร้างความรู้ด้านสุขภาพ ผ่านโครงงาน Active Learning ช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ หลังพบผู้สูงอายุไม่ออกกำลังกาย-ไม่กินผัก จนประสบผลสำเร็จ

ในงานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุพฤตพลัง ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “การสร้างความรอบรู้ ด้านสุขภาพ ในกลุ่มผู้สูงอายุพฤฒพลังให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning “ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อีก 8 ปีไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด

รศ.สรันยา เฮงพระพรหม หัวหน้าคณะวิจัย และอาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตั้งแต่ในปี พ.ศ.2565 ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ และในปี พ.ศ.2574 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด โดยสัดส่วนของผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะอยู่ที่ร้อยละ 28 ของจำนวนประชากรทั้งหมด 

อ่านข่าว : ถูกฉาบด้วยสีดอกเลา "ญี่ปุ่น" ขึ้นแท่นแชมป์ผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก

นอกจากนี้ จากการสำรวจสภาวะสุขภาพผู้สูงอายุไทย โดยกรมอนามัย เมื่อปี 2563 พบว่า มากกว่าร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ยังไม่ผ่านเกณฑ์ โดยเฉพาะด้านกิจกรรมทางกาย และการรับประทานผัก/ผลไม้ 

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การประเมินพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ทั้งหมด 8 ด้าน ดังนี้

1.มีกิจกรรมทางกายที่ระดับปานกลาง (เดิน,ปั่นจักรยาน,ทำงานบ้าน,ทำไร่,ทำสวน,ทำนา,ออกกำลังกาย) สะสมเท่ากับหรือมากกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์

2.กินผักและผลไม้ได้วันละ 5 กำมือ เป็นประจำ 6-7 วันต่อสัปดาห์ 3.ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อย วันละ 8 แก้วให้ได้ 6-7 วันต่อสัปดาห์

4.ไม่สูบบุหรี่,ไม่สูบยาเส้น 5.ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 6.สามารถดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยได้ทุกครั้ง

7.มีการนอนหลับอย่างเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน 8.การดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการแปรงฟันก่อนนอนทุกวัน เกณฑ์ คือ ผ่านการประเมินครบทั้ง 8 ด้าน ถือว่าผ่านการประเมินพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ 

ทางคณะวิจัยจึงเลือกชมรมผู้สูงอายุเข้าเป็นเครือข่ายทั้งหมด 8 ชมรม จากทั้งหมด 30,000 ชมรมทั่วประเทศ ในพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่ 

ภาคเหนือ ได้แก่ 1.ชมรมผู้สูงอายุตำบลแม่สุก อ.แม่ใจ จ.พะเยา, 2.ชมรมผู้สูงอายุตำบลห้างฉัตร อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3.ชมรมผู้สูงอายุดอกรักรวมใจ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม, 4.ชมรมผู้สูงอายุตำบลรังกาใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา

ภาคกลาง 5.ชมรมผู้สูงอายุลีลาสวรรค์ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ภาคตะวันออก 6.ชมรมผู้สูงอายุบ้านหนองหญ้าน้อย อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี และภาคใต้ 7.ชมรมผู้สูงอายุตำบลฉวาง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช และ 8.ชมรมผู้สูงอายุบ้านทุ่งโหลง อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่

รศ.สรันยา เฮงพระพรหม หัวหน้าคณะวิจัย และอาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

รศ.สรันยา เฮงพระพรหม หัวหน้าคณะวิจัย และอาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

รศ.สรันยา เฮงพระพรหม หัวหน้าคณะวิจัย และอาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

ผลการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน ทั้ง 8 ชมรม พบว่า ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสุขภาพด้าน การออกกำลังกาย การรับประทานผัก/ผลไม้ และการนอนหลับพักผ่อนที่ยังไม่เพียงพอ

การวิจัยดังกล่าวจึงนำมาสู่การสร้างแกนนำผู้สูงอายุเพื่อให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ดีเพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิต โดยแกนนำของชมรมผู้สูงอายุจะเชิญชวนผู้สูงอายุเพื่อเข้าร่วม “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ” ที่แกนนำได้จัดทำขึ้นตามบริบทของพื้นที่ จำนวน 8 โครงงาน ประกอบด้วย

การรับประทานผัก/ผลไม้ จำนวน 5 โครงงาน, การส่งเสริมให้มีการออกกำลังกาย/กิจกรรมทางกาย 150 นาที/สัปดาห์ จำนวน 2 โครงงาน และการออกกำลังกาย ทานผักผลไม้และนอนหลับอย่างเพียงพอ 1 โครงงาน  โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 431 คน โดยระยะเวลากว่า 2 ปีในการดำเนินโครงงานค่อนข้างได้ผลลัพธ์ที่ดี

จากแบบประเมินความพึงพอใจของแกนนำผู้สูงอายุและผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงงาน พบว่า มากกว่าร้อยละ 80 เกิดความคิดที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง ห่วงใยดูแลสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนผู้สูงอายุในชุมชนมากขึ้น

ขณะที่หลังเสร็จการวิจัยพบว่า พฤติกรรมสุขภาพของ แกนนำผู้สูงอายุ และ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงงาน  ภาพรวมทั้ง 8 ชมรม พบว่า แกนนำผู้สูงอายุและผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงงาน มีพฤติกรรมสุขภาพเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้นเกือบทุกด้าน พฤติกรรมสุขภาพด้านที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การทานผักและผลไม้ ให้ได้วันละ 400 กรัมหรือ 5 กำมือต่อวันเป็นเวลา 6-7 วันต่อสัปดาห์

รวมถึง แกนนำผู้สูงอายุทุกคนเกิดทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพทั้ง 6 ด้าน จากกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ทุกขั้นตอน แกนนำผู้สูงอายุ และ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงงานมีพฤติกรรมสุขภาพเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น และมีทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพทั้ง 6 ด้าน

ชมรมผู้สูงอายุได้สร้างสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ กับผู้สูงอายุในชุมชนผ่านการทำโครงงานต่าง ๆ จนสามารถนำผู้สูงอายุติดบ้าน ออกมาสู่สังคมมากขึ้น

รวมถึงหน่วยงานในพื้นที่ได้มองเห็นศักยภาพของชมรมผู้สูงอายุ และสมรรถนะของแกนนำผู้สูงอายุ ในการเป็นผู้ขับเคลื่อนที่สำคัญและมีคุณค่าในการทำงานด้านการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่อย่างชัดเจนขึ้น โดยจะใช้โครงงานและกิจกรรมเป็นตัวพาให้เกิดการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน

ผู้สูงอายุพร้อมพัฒนาศักยภาพ

นางวนิดา พิมชะอุ่ม อายุ 62 ปี แกนนำชมรมผู้สูงอายุดอกรักรวมใจ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม กล่าวว่า ปัญหาของชุมชน คือ ผู้สูงอายุไม่ได้ออกกำลังกาย จึงจัดทำโครงงานออกกำลังกายโดยใช้ผ้าขาวม้า เต้นแอโรบิก เต้นบาสโลบ โดยมีผู้สูงอายุสนใจมากกว่าที่ลงทะเบียนไว้ และความสำเร็จคือ ผู้สูงอายุไม่ต้องกังวลเรื่องโรคเรื้อรังประจำตัวเช่น โรคเบาหวานหรืออื่น ๆ

นางวนิดา พิมชะอุ่ม อายุ 62 ปี แกนนำชมรมผู้สูงอายุดอกรักรวมใจ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

นางวนิดา พิมชะอุ่ม อายุ 62 ปี แกนนำชมรมผู้สูงอายุดอกรักรวมใจ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

นางวนิดา พิมชะอุ่ม อายุ 62 ปี แกนนำชมรมผู้สูงอายุดอกรักรวมใจ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

ขณะที่ แกนนำชมรมผู้สูงอายุลีลาสวรรค์ จ.ปทุมธานี เมื่อทราบว่า ทางจุฬาฯ จะร่วมทำวิจัย จึงอยากมีส่วนร่วม และอยากทราบว่า ระหว่างทางการทำวิจัยจะช่วยพัฒนาผู้สูงอายุในชุมชนได้อย่างไร

ทีมงานของชมรมมีผู้สูงอายุที่มีการศึกษาตั้งแต่จบ ป.4 ถึง ปริญญาโท ได้แบ่งงาน ตามความสามารถ และความเชี่ยวชาญ ซึ่ง ทางชมรมจัดทำโครงงานส่งเสริมการกินผักเพื่อสุขภาพ โดยส่งเสริมการปลูกผัก และการทำอาหารจากผัก โดยวิทยากร คือแกนนำของชมรมทั้งทำน้ำผักผลไม้ ทำสลัดโรล เพื่อส่งเสริมการรับประทานผัก แทนที่ผู้สูงอายุจะรับประทานผักกับน้ำพริกเท่านั้น ก็เพิ่มความแปลกใหม่ในการรับประทานอาหารซึ่งช่วยเพิ่มการรับประทานผักได้มากขึ้น

นอกจากกนี้ แกนนำได้ลงพื้นที่เพื่อปะสมาชิกในชมรม ร่วมประกอบอาหาร และรับประทานอาหารร่วมกัน จนทำให้เกิดความรักความผูกพันกันและกลายเป็นเพื่อนและมีการเยี่ยมบ้านกันต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน 

จากกินยาแทนอาหาร ก็กินอาหารแทนยา คิดว่าตรงนี้ได้เยอะมาก และแกนนำมีความรักสามัคคี และนำความรู้ความสามารถมาใช้ จนกลายเป็นพฤติกรรมที่ติดตัวสมาชิกจนมีความรู้ด้านสุขภาพที่ดีขึ้น

พ.ต.สุริยันต์ หนองห้วยคำ ชมรมผู้สูงอายุตำบลห้างฉัตร จ.ลำปาง ผู้สูงอายุในพื้นที่ขาดการออกกำลังกาย กินผักไม่ถึง 5 กำมือต่อวัน ซึ่งไม่เพียงพอ จึงทำโครงงาน “กินได้ กายขยับ หลับดี ชีวีมีสุข” หลังจากนั้น ก็พบว่าผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรงมากขึ้น

ภูมิใจมากเพราะทุกคนมีจิตอาสา และทำให้โครงการสำเร็จ เพราะที่ผ่านมาทำชมรมผู้สูงอายุ 3 หมู่บ้านจาก 7 หมู่บ้าน ซึ่งหากมีโอกาสก็จะขยายโครงการต่อไปในพื้นที่ตำบลอื่น ๆ อีก

ดังนั้น หลังจบการวิจัยก็เตรียมเขียนโครงการเพื่อขอการสนับสนุนในพื้นที่ทั้ง เทศบาลตำบลห้างฉัตร และ อบจ.ลำปาง

ท้องถิ่นพร้อมหนุน เพิ่มศักยภาพ “ผู้สูงอายุ” 

ขณะที่ น.ส.นิจรันทร์ สิทธิพงษ์ รองปลัด อบต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี กล่าวว่า อบต.พลูตาหลวง เป็นสังคมชนบทกึ่งสังคมเมือง มีประชากรราว 60,000 คน ขนาดพื้นที่ราว 64 ตร.กม. และเป็นสถานที่ตั้งสนามบินอู่ตะเภา และกำลังจะเข้าสังคมเมืองเต็มรูปแบบเพราะเป็นหนึ่งในพื้นที่ของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) จึงทำให้มีโครงการต่าง ๆ มากมาย

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการ และเป็นข้าราชเกษียณ ทั้ง ครู ทหาร พยาบาล โดยมีอัตราส่วนร้อยละ 60 และผู้ประกอบธุรกิจ ร้อยละ 30  และเกษตรกรร้อยละ 10

น.ส.นิจรันทร์ สิทธิพงษ์ รองปลัด อบต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

น.ส.นิจรันทร์ สิทธิพงษ์ รองปลัด อบต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

น.ส.นิจรันทร์ สิทธิพงษ์ รองปลัด อบต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

น.ส.นิจรันทร์ ยังกล่าวว่า ส่วนตัวมองว่า ผู้สูงอายุ มีคุณค่าความรู้ และประสบการณ์สูง และเหมาะที่จะนำมาทำโครงงานโดยให้ทำกิจกรรมร่วมกัน เมื่อมีกิจกรรรมและสามารถถ่ายทอดความรู้ได้ พื้นที่ ต.พลูตาหลวง มีชมรมผู้สูงอายุมากที่สุดในประเทศ คือ 6 ชมรม

โดยแต่ละชมรมมีความแตกต่างกัน เช่น ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ในกองทัพเรือที่เน้นวิชาการ โดยเป็นคุณหมอ พยาบาล ขณะที่ชมรมผู้สูงอายุบ้านหนองหญ้าน้อย หมู่ 7 จะรักษาภูมิปัญญาพื้นถิ่นเป็นการออกกำลังกายภายใต้กิจกรรมของชมรมเช่น รำวง กลองยาว

การสนับสนุนคุณค่าของผู้สูงอายุ ที่ อบต.ได้ดำเนินการอยู่ เช่น ชมรมกลองยาวที่ อบต.นำไปบรรจุในหลักสูตรทุกโรงเรียนโดยใช้งบประมาณของ อบต. ซึ่งเมื่อมีการจัดกิจกรรม ก็จะให้ชมรมกลองยาวของเด็กและผู้สูงอายุไปแสดงก่อน จึงทำให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ต้องการเข้าร่วมในกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่กันเป็นจำนวนมาก 

ดังนั้น การวิจัยของจุฬาฯ ครั้งนี้จึงเป็นการปลุกพลังให้ผู้สูงอายุ เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ และช่วยดึงผู้สูงอายุที่ติดบ้าน รวมถึงไปเที่ยวในต่างพื้นที่ให้กลับมาร่วมพัฒนาท้องถิ่น และ ยังมีโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ การพัฒนาอาชีพ รวมถึงจากการวิจัยก็ทำให้ทราบว่า ปัญหาของผู้สูงอายุคือสุขภาพทั้งโรคหัวใจ โรคไต จึงควรแก้ที่ต้นเหตุ ด้วยการพัฒนาสุขภาพการทำกิจกรรมต่าง ๆ

ทั้งนี้ ผู้สูงอายุที่จัดตั้งชมรมสามารถขอรับการสนับสนุนงบประมาณได้ โดยเสนอโครงการไปยังองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบต.หรือ อบจ.ซึ่งมีงบประมาณที่พร้อมสนับสนุนโครงการเหล่านี้ได้

เตรียมคนให้พร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ 

ขณะที่ นายสง่า ดามาพงษ์ อายุ 74 ปี นักวิชาการโภชนาการ และที่ปรึกษากรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ดังนั้นสังคมไทยควรเตรียมพร้อมคนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยเตรียมตั้งแต่เนิ่น ๆ ตั้งแต่อายุ 35-40 ปี ที่ผ่านมา มักจะเห็นว่า บางองค์กรหรือหน่วยงานรัฐจะเตรียมพร้อมในช่วงอายุ 59 ปี หรือก่อนเกษียณเพียง 1 ปี นั้นถือว่าช้ามาก เรียกว่า To late To do ซึ่งควรเตรียมพร้อมการรับมือในช่วงที่เร็วกว่านี้

นายสง่า ดามาพงษ์ อายุ 74 ปี นักวิชาการโภชนาการอิสระและที่ปรึกษากรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

นายสง่า ดามาพงษ์ อายุ 74 ปี นักวิชาการโภชนาการอิสระและที่ปรึกษากรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

นายสง่า ดามาพงษ์ อายุ 74 ปี นักวิชาการโภชนาการอิสระและที่ปรึกษากรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

นอกจากนี้ การดูแลผู้สูงอายุ ควรแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มปกติที่ไม่มีโรค สามารถดูแลตัวเองได้และผู้อื่นได้ 2.กลุ่มที่มีโรคประจำตัว แต่ยังมีศักยภาพและออกจากบ้านได้ และ กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มที่ป่วย

ซึ่งควรที่จะพัฒนาในผู้สูงอายุในกลุ่มที่ 1 และ 2 ให้สามารถพัฒนาดูและกลุ่มที่ 3 นอกจากนี้ ควรพัฒนาศักยภาพผู้ใกล้ชิดผู้สูงอายุ คือ ลูกและหลาน เพื่อให้สามารถดูแลผู้สูงอายุได้ ควรลงทุนในเรื่องดังกล่าวมากขึ้นด้วย

จุดสำคัญ คือ ผู้สูงอายุมีการนับถือตัวเองต่ำ รู้สึกว่าตัวเองแก่ ไม่มีค่า ซึ่งจะเสริมให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าได้อย่างไร ตรงนี้ต้องช่วยกันให้เยอะขึ้น ยกตัวอย่างตัวผมเอง ผมไม่เคยเห็นว่า ผมไม่มีคุณค่า ขณะนี้ผมอายุ 74 ปี แต่ก็ยังตื่นเข้าไปสอนหนังสือ ให้ความรู้กับนักศึกษาและประชาชนอยู่เสมอ  

นอกจากนี้ ยังต้องเปิดพื้นที่ให้ผู้สูงอายุมากขึ้น โดยให้ผู้สูงอายุได้ใช้พื้นที่ร่วมกันมากกว่าการเข้าวัดไหว้พระทำบุญ ด้วยการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การฟ้อนรำ เพื่อให้มีกิจกรรมร่วมกัน หรือส่งต่อความรู้ให้คนรุ่นใหม่ นอกจากนี้ ยังต้องปรับสิ่งแวดล้อมคือระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตด้วย

องค์กรเอกชนบางแห่งเตรียมพร้อมคน ตั้งแต่อายุ 35 - 40 ปี ในการกิน อยู่ อย่างไรให้ห่างไกลโรค หรืออายุไม่เกิน 50 ปี ให้มาเข้าหลักสูตร เพราะคนเหล่านี้ คือ เสาหลักของครอบครัว หากปราศจากโรคก็นำพาครอบครัวได้ แต่หากมีปัญหาสุขภาพครอบครัวก็ซวนเซ และองค์กรที่เตรียมไว้ดีก็จะทำให้องค์กรเหล่านั้นมีผลประกอบการที่ดีด้วย ซึ่งประเทศไทยเตรียมตัวเรื่องนี้น้อยมาก 

อ่านข่าว 

พม. ให้สิทธิครอบครัวอุปถัมภ์ก่อน 1,107 ราย เน้นผู้สูงอายุยากจน 

เช็กเงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ รับ 3,000 บาท/เดือน

เกษียณไม่เฉา ส่อง 9 อาชีพเติมไฟให้ชีวิต - สร้างรายได้ปัง 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง