วันนี้ (30 เม.ย.2557) นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญ ญา กล่าวว่า กรมฯใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI เป็นเครื่องมือในการคุ้มครองสินค้าท้องถิ่นชุมชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในพื้นที่แหล่งผลิตสินค้าในแต่ละท้องถิ่น สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ล่าสุดประกาศขึ้นทะเบียน “ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 3 ของจ.ตราด ต่อจากสินค้าสับปะรดตราดสีทอง และทุเรียนชะนีเกาะช้าง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ไปก่อนหน้านี้
ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เปลือกผิวสีเขียวปนน้ำตาล ปลายหนามแข็งแรงและแหลมคม เนื้อทุเรียนสีเหลืองอ่อน หนา มีรสชาติหวาน มัน

ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 3 ของจังหวัดตราด
ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 3 ของจังหวัดตราด

ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด”
ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด”
โดยมีพื้นที่ปลูกอยู่บริเวณ แนวเทือกเขาบรรทัด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ลักษณะดินเป็นดินร่วน ระบายน้ำได้ดี ประกอบกับสภาพภูมิอากาศที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ทำให้มีฝนตกมาก
อีกทั้งอิทธิพลจากแรงลมทะเลที่เข้าปะทะกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลไปจนถึงพื้นที่เทือกเขาบรรทัดที่ส่งผลให้สภาพความชื้นในอากาศลดลงเร็วกว่าปกติ ทำให้ทุเรียนเกิดอาการเครียดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จึงเกิดการกระตุ้นให้ทุเรียนออกดอกได้เร็วขึ้น สามารถเก็บเกี่ยวทุเรียนได้ก่อนพื้นที่อื่น
เกษตรกรในพื้นที่จึงเรียกพันธุ์ทุเรียนหมอนทองที่ปลูกบริเวณ แนวเทือกเขาบรรทัดว่า “ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของทุเรียนหมอนทองในพื้นที่ดังกล่าว

ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 3 ของจังหวัดตราด
ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 3 ของจังหวัดตราด

อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวต่ออีกว่า ได้มีการนำชื่อขยายไปยังกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนท่ากุ่ม-เนินทราย และกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนใน 5 อำเภอของจ.ตราด ได้แก่ อ.เมืองตราด อ.คลองใหญ่ อ.บ่อไร่ อ.แหลมงอบ และอ.เขาสมิง
รวมถึงมีการจัดงานสมาร์ทฟาร์มเมอร์แฟร์ที่ได้เปิดสวนให้นักท่องเที่ยวได้เที่ยวชม และรับประทานบุฟเฟต์ผลไม้โดยเฉพาะทุเรียนหมอนทอง ยิ่งทำให้ชื่อเสียงของทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัดเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและผู้บริโภคเป็นวงกว้าง สร้างรายได้กว่า 11,047 ล้านบาทต่อปี
ปัจจุบันประเทศไทยมีสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด ทำให้สินค้าท้องถิ่นได้รับการยกระดับมูลค่าสร้างรายได้สู่ชุมชน และสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากของไทยอย่างยั่งยืน

ด้าน ร้อยตรี จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า กรมฯได้นำเจ้าหน้าที่สำนักงานพาณิชย์จ.จันทบุรี และสำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขต 4-2 (จันทบุรี) ลงพื้นที่ตรวจสอบเครื่องชั่งที่ใช้ในการับซื้อทุเรียน ณ ล้งรับซื้อทุเรียนบริษัท เป่าเหิงซานเหอ จำกัด และแผงทุเรียนธรรมสรณ์ 789 อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ตรวจสอบเครื่องชั่งรถยนต์ เครื่องชั่งสปริง และเครื่องชั่งดิจิทัล ที่ใช้ในการรับซื้อผลไม้ตั้งแต่เดือนมี.ค.เป็นต้นมา ก่อนที่ผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค.

ร้อยตรี จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ลงพื้นที่ภาคตะวันออกตรวจล้งรับซื้อผลไม้
ร้อยตรี จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ลงพื้นที่ภาคตะวันออกตรวจล้งรับซื้อผลไม้
นอกจากนี้ ได้สั่งการให้สำนักงานพาณิชย์จ.จันทบุรี สำนักงานพาณิชย์จ.ระยอง และสำนักงานพาณิชย์จ.ตราด ประชาสัมพันธ์และตรวจสอบการติดป้ายแสดงราคารับซื้อผลไม้ เช่น ทุเรียน มังคุด และเงาะ ตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการฉบับที่ 66 พ.ศ. 2566 เรื่องการแสดงราคารับซื้อสินค้าเกษตร ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการธุรกิจที่เป็นผู้รวบรวม โรงคัดบรรจุ (ล้ง) ต้องแสดงราคารับซื้อให้ชัดเจน ภายในเวลา 8.00 น. ของทุกวัน หรือทันทีที่เปิดทำการรับซื้อ ณ บริเวณหน้าจุดรับซื้อ

เพื่อให้เกษตรกรได้รับทราบและสามารถเปรียบเทึยบราคารับซื้อได้ รวมทั้งต้องแสดงราคาให้ตรงตามที่รับซื้อจริง โดยรองอธิบดีกรมการค้าภายในได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่เพิ่มความเข้มงวดในช่วงเวลาเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่เกษตรกรนำผลผลิตไปจำหน่ายมาก เนื่องจากมักจะทำการเก็บเกี่ยวและรวบรวมผลผลิตในช่วงเช้าและกลางวัน
อ่านข่าวอื่นๆ:
อากาศร้อน "ผักแพง" พาณิชย์ ลดค่าครองชีพ ขนผักราคาถูกขายทั่วกทม.