ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

พาณิชย์รับส่งออก มี.ค.ติดลบ 10.9% ครั้งแรกรอบ 8 เดือน

เศรษฐกิจ
29 เม.ย. 67
13:43
952
Logo Thai PBS
พาณิชย์รับส่งออก มี.ค.ติดลบ 10.9% ครั้งแรกรอบ 8 เดือน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
“พาณิชย์”เผยส่งออกไทยติดลบครั้งแรกในรอบ 8 เดือน มี.ค.67 ส่งออกมูลค่า 24,960.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 10.9% ไตรมาสแรกติดลบ 0.2% เหตุตลาดส่งออกหดตัว สนค.มั่นใจไตรมาส2 ฟื้นตัว สินค้าเทรนด์พลังสะอาด -เกษตร ฉุดพลิกสถานการณ์

วันนี้ (29 เม.ย.2567) นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การส่งออกเดือน มี.ค.2567 มีมูลค่า 24,960.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 10.9 % กลับมาติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่อง 7 เดือนติดต่อกัน เนื่องจากฐานปีก่อนสูงมาก ส่งออกได้ถึง 28,004.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 892,290 ล้านบาท

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

การนำเข้ามีมูลค่า 26,123.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.6 % คิดเป็นเงินบาทมูลค่า 944,828 ล้านบาท ขาดดุลการค้ามูลค่า 1,163.3 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาทมูลค่า 52,538 ล้านบาท

รวม 3 เดือนปี 2567 (ม.ค.-มี.ค.) การส่งออกมีมูลค่า 70,995.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.2 % คิดเป็นเงินบาทมูลค่า 2,504,009 ล้านบาท นำเข้ามูลค่า 75,470.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.8 % คิดเป็นเงินบาทมูลค่า 2,692,023 ล้านบาท ขาดดุลการค้า 4,475.2 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาทมูลค่า 188,014 ล้านบาท

สำหรับการส่งออกที่ลดลง มาจากการลดลงของสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร 5.1 % โดยสินค้าเกษตร เพิ่ม 0.1 % แต่สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ลด 9.9% โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ข้าว ยางพารา อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป สิ่งปรุงรสอาหาร นมและผลิตภัณฑ์จากนม

ส่วนสินค้าที่หดตัว อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำตาลทราย ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ทั้งนี้ ไตรมาสแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่ม 0.3 %

ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม ลด 12.3 % โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ และสินค้าที่หดตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอดทั้งนี้ ไตรมาสแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ลด 0.3 %

สำหรับตล าดส่งออกสำคัญ ส่วนใหญ่หดตัว โดยตลาดหลัก ลด 9.1 % หดตัวในจีน 9.7% ญี่ปุ่น 19.3 % สหภาพยุโรป (27) 0.1 % และอาเซียน (5) 26.1 % แต่สหรัฐฯ เพิ่ม 2.5 % และ CLMV เพิ่ม 0.5 % ตลาดรอง ลด 4.3 %

โดยหดตัวในเอเชียใต้ 6.1 % ตะวันออกกลาง 7.3 % แอฟริกา 11.9 % ลาตินอเมริกา 10.2 % รัสเซียและกลุ่ม CIS 14.2 % และสหราชอาณาจักร 19.3 % แต่ทวีปออสเตรเลีย เพิ่ม 13.5 % และตลาดอื่น ๆ ลด 82.3 % อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ลด 87.3 %

นายพูนพงษ์ กล่าวต่อว่า แนวโน้มการส่งออก เดือน เม.ย.2567 มั่นใจว่าจะกลับมาเป็นบวก และไตรมาส 2 ก็มีแนวโน้มเป็นบวก โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกสินค้าเกษตร โดยเฉพาะผลไม้ ที่ขณะนี้กำลังออกสู่ตลาด คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน ที่เข้าสู่การฟื้นตัว สินค้าที่เกี่ยวข้องกับเทรนด์พลังงานสะอาด ที่จะส่งออกได้ดีขึ้น

ยังคงยืนยันเป้าส่งออกปีนี้ที่ 1-2 % โดยจากนี้ หากทำได้เฉลี่ยเดือนละ 24,044 ล้านเหรียญสหรัฐ การส่งออกจะขยายตัว 1 % ทำได้เฉลี่ย 24,362 ล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน การส่งออกจะขยายตัว 2 %

ส่วนการขาดดุลการค้า ดูแลไม่น่าเป็นห่วง เพราะตัวหลักที่นำเข้าสูง คือ สินค้าทุนและวัตถุดิบ นำเข้ารวมกัน 60 % ของการนำเข้ารวม และอีกตัว คือ น้ำมัน มีสัดส่วนถึง 19 %

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การส่งออกเดือน มี.ค.2567 แม้ติดลบมาก แต่ดูเป็นรายสินค้า ก็ไม่มีปัญหาอะไร อย่างสินค้าเกษตร โดยเฉพาะทุเรียน ปีนี้ผลผลิตออกช้ามาปลาย เม.ย. ทำให้ส่งออกทุเรียนชะลอ สินค้าอุตสาหกรรม อย่างยานยนต์และชิ้นส่วน ก็ไม่มีปัญหาอะไร

ส่วนไตรมาส 2 เอกชนมองว่าน่าจะบอกได้ มีสินค้าไฮไลต์ ข้าว ยางพารา อาหารสัตว์ ยานยนต์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ เพราะได้แรงหนุนจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า 36-37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สินค้าเกษตรยังมีศักยภาพในการส่งออก ค่าระวางเรือ ตู้สินค้า เป็นปกติแล้ว ยกเว้นมีสถานการณ์รุนแรง

อ่านข่าว : ดัชนีราคาที่ดินเปล่าในกทม.-ปริมณฑล Q1/67 พุ่ง 5.7%

อากาศร้อน "ผักแพง" พาณิชย์ ลดค่าครองชีพ ขนผักราคาถูกขายทั่วกทม.

รอบที่ 2! “ไข่ไก่” ปรับราคาขึ้นอีกแผงละ 6 บาท มีผล 29 เม.ย.นี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง