นั่นหมายความว่า ที่ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เคยถูกจับตาว่า “มาแรง” ที่เป็นแคนดิเดต ผบ.ตร. คนที่ 15 ก็จบลงตรงนี้
นับต่อไปอีก 5 เดือนข้างหน้า วันที่ 30 ก.ย.2567 พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. ก็จะเกษียณอายุราชการ
ผู้ที่จะรักษาการแทน ตำแหน่ง ผบ.ตร.ต่อไป ก็คือ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รองผบ.ตร. เพราะมีอาวุโสสูงสุด และจะเกษียณอายุราชการ ในปี 2569
ก่อนหน้านี้มีคำถามเรื่องอาวุโส ของตำแหน่ง รอง ผบ.ตร. ว่าใครจะขยับกันอย่างไร และใครมีโอกาสจะเป็นแคนดิเดต ตำแหน่ง “ผบ.ตร.คนที่ 15” กันบ้าง
ก่อนจะไปถึงวันที่ 30 ก.ย.2567 ที่ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ พ้นจากตำแหน่ง มี รอง ผบ.ตร.ที่เรียงลำดับในไลน์ ที่มีโอกาสจะได้เป็น “ผบ.ตร.คนที่ 15” แต่มี “ข้อเสนอ” ให้ขยับออกนอกเส้นทางไป 2 คน
คนแรกคือ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. ที่จะเกษียณอายุราชการ ปี 2567 ขยับไป เป็น “เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ” วันที่ 21 มี.ค.2567
อีกคนคือ พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ที่จะเกษียณอายุราชการ ปี 2568 ถูกโยกไปเป็นเลขาธิการ ป.ป.ส.
ส่วน ผู้ช่วย ผบ.ตร. ที่จะขยับขึ้นมาเป็น รอง ผบ.ตร. ก็อยู่ไม่ครบทั้งหมด มีขึ้นไปเพียง 2 คน คือ พล.ต.ท.ธนา ชูวงศ์ ผู้ช่วย ผบ.ตร. เกษียณอายุราชการ ปี 2569
พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วย ผบ.ตร. เกษียณอายุราชการ ปี 2568
เพราะมีผู้ที่เกษียณอายุราชการในปี 2567 คือ
พล.ต.ท.ไกรบุญ ทรวดทรง ผู้ช่วย ผบ.ตร.
พล.ต.ท.สราวุฒิ การพานิช ผู้ช่วย ผบ.ตร.
เมื่อเขย่าครบตามอาวุโส “รองผบ.ตร.” หลังจากวันที่ 30 ก.ย.2567 จะเป็นดังนี้
พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ เกษียณอายุราชการ ในปี 2569
พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร. เกษียณอายุราชการ ปี 2569
พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วย ผบ.ตร. เกษียณอายุราชการ ปี 2568
พล.ต.ท.นิรันดร์ เหลื่อมศรี ผู้ช่วย ผบ.ตร. เกษียณอายุราชการ ปี 2571
พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผู้ช่วย ผบ.ตร. เกษียณอายุราชการ ปี 2569
พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. เกษียณอายุราชการ ปี 2570
พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร. เกษียณอายุราชการ ปี 2576
มองกลับไปที่เรื่องคดีของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ทั้งคดีอาญาที่เกี่ยวกับเว็บพนันออนไลน์ ที่ สน.เตาปูน, คดีที่อยู่กับ ป.ป.ช. และที่ถูกสอบสวนวินัย
ในส่วนแรก คดีฟอกเงิน หากสู้กันถึง 3 ศาล (ชั้นต้น, อุทธรณ์, ฎีกา) โดยขณะนี้พนักงานสอบสวนยังไม่ได้ส่งสำนวนให้อัยการ ซึ่งกว่าจะไปถึงขั้นตัดสินของศาลชั้นต้น อย่างเร็วคาดว่าน่าจะใช้เวลา 1-2 ปี อย่างช้า 3 ปี
และหากต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม ไปจนถึง 3 ศาล อย่างเร็วคาดว่าจะใช้เวลาถึง 5 ปี อย่างช้า 7-8 ปี
ในระหว่างนั้น ยังต้องต่อสู้กับการสอบสวนทางวินัย และยังไม่ได้นับรวมคดีเบี้ยบ้ายรายทาง ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น คดีหมิ่นประมาท คดีของ ป.ป.ช. ฯลฯ
สิ่งที่เกิดความเปลี่ยนแปลงในรอบ 4 ปี (2568-2571) จะมีผู้เกษียณอายุราชการดังนี้
ปี 2568
พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข
ปี 2569
พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์
พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์
พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง
ปี 2570
พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร
ปี 2571
พล.ต.ท.นิรันดร์ เหลื่อมศรี
ซึ่งในห้วงเวลานี้ถึงปี 2569 “ผบ.ตร.คนที่ 15” จะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจาก “บิ๊กต่าย” ที่รักษาราชการแทนอยู่ในขณะนี้
เพราะแม้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ จะเกษียณอายุราชการในปี 2574 แต่นอกจากห้วงเวลาของการต่อสู้คดีแล้ว ยังต้องขอกลับเข้ารับราชการอีก ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่า จะนับอายุราชการต่อเนื่องให้มี "อาวุโสสูงสุด" อยู่หรือไม่
ฉะนั้น วันที่ 1 ต.ค.2569 ค่อยมาลุ้นกันใหม่ว่า “ผบ.ตร.คนที่ 16” จะเป็นใคร เพราะถึงตอนนั้น ลำดับอาวุโส “รอง ผบ.ตร.” จะเป็นดังนี้
พล.ต.ท.นิรันดร์ เกษียณอายุราชการ ปี 2571
พล.ต.ท.ธัชชัย เกษียณอายุราชการ ปี 2570
พล.ต.ท.สำราญ เกษียณอายุราชการ ปี 2576
มองย้อนกลับไปที่ “ปฐมเหตุ” ของเรื่องนี้ ไม่ใช่แค่ “2 บิ๊ก ตร.” ทะเลาะกัน แต่เป็นความร้าวลึกในหลายเรื่อง
เวลา 2-3 ปี จากนี้ไปคงเลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องจับตาความเคลื่อนไหวในวงการตำรวจ เพราะเป็นหน่วยงานสำคัญในสังคมไทย
แต่สิ่งที่ควรมองไปข้างหน้าคือการ “ปฏิรูปวงการตำรวจ” เพราะนั่นคือ ที่มาของ “ปัญหา” ทั้งหมด
แม้แต่ตำรวจหลายคนก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ตำรวจไม่ได้เลว แต่ระบบไม่ดี มันจึงเป็นแบบนี้”
คงต้องถามไปถึง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ (ก.ตร.) ว่า ถึงเวลาหรือไม่ที่จะมีใครเป็น “ผู้นำ” ปฏิรูป ”วงการตำรวจ" เสียที
อ่านข่าว : "บิ๊กโจ๊ก" ร้อง ป.ป.ช. สอบนายกฯ ปฏิบัติหน้าที่มิชอบตั้ง "บิ๊กต่อ" ผบ.ตร.
เลื่อนคดี "บิ๊กโจ๊ก" ฟ้องหมิ่นสื่อ-อัจฉริยะ 8 ก.ค.นี้
สะเทือนองค์กรอิสระ ? "บิ๊กโจ๊ก" ยื่นหนังสือร้องเรียนกรรมการ ป.ป.ช.