ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

โควิด JN.1 อาการไม่รุนแรง "กลุ่ม 608-ไม่ฉีดวัคซีน" ให้ฉีดป้องกัน

สังคม
22 เม.ย. 67
13:34
1,395
Logo Thai PBS
โควิด JN.1 อาการไม่รุนแรง "กลุ่ม 608-ไม่ฉีดวัคซีน" ให้ฉีดป้องกัน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
หมอมนูญเผยหลังสงกรานต์พบโควิดเพิ่มขึ้น แต่ไม่ต้องตกใจ แม้รูปแบบอาการเปลี่ยนแต่อาการรุนแรงน้อยลง อาจมี เจ็บคอมาก ไข้ต่ำๆ ไม่ไอมาก ต่างจากหากติดเชื้อจากต่างประเทศ จะไอมากกว่า ย้ำกลุ่ม 608 ไม่เคยฉีดวัคซีน-ไม่เคยเป็น ขอให้ฉีดป้องกัน และ ATK ยังจำเป็น

วันนี้ (22 เม.ย.2567) นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ให้สัมภาษณ์ถึงอาการโควิด-19 ที่เปลี่ยนไปว่า หลังสงกรานต์ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยทางเดินหายใจเข้ามารักษาจำนวนมาก โดยเฉพาะโควิด-19 เนื่องจากมีการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เมื่อกลับมา ส่วนหนึ่งก็ติดเชื้อไวรัสโควิด-19  ทั้งนี้ พบว่ารูปแบบอาการของโรคโควิด-19 เปลี่ยนไป เป็นการบ่งชี้ว่าความรุนแรงน้อยลง จากเดิมที่มีอาการทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด กลายเป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูกแทนมากกว่า

อาการเด่นของผู้ป่วยโควิด-19 ณ ขณะนี้ที่เข้ามารักษา คือ เจ็บคอมากๆ มีไข้ต่ำ มีน้ำมูก คัดจมูกเล็กน้อย จมูกได้กลิ่น ไม่ค่อยไอเหมือนเดิมที่ผ่านมา

ซึ่งเดิมจะมีอาการไอมากขึ้น แต่ก็ยังแตกต่างจากผู้ป่วยที่เดินทางไปต่างประเทศ เมื่อกลับมาแล้วติดโควิด-19 อาจเพราะคนละสายพันธุ์ ซึ่งจะมีอาการไข้ มีไอมากกว่า แต่ไม่ค่อยเจ็บคอมากเท่าการติดเชื้อในประเทศไทย อาจเพราะคนละสายพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันไทยยังเป็นสายพันธุ์ JN.1 อยู่ นพ.มนูญ กล่าว

อ่าน : เช็กอาการโควิด ยอดป่วยเพิ่ม 7 วันเข้า รพ. 1,004 คน

อาการเปลี่ยนไป ไม่มีผลต่อการระบาด

นพ.มนูญ กล่าวว่าโควิด-19 ขณะนี้อาการไม่รุนแรง และไม่น่ากลัวเหมือนอดีต เพียงแต่ยังติดง่าย สิ่งสำคัญขอให้คนที่เริ่มมีอาการ ตั้งแต่เจ็บคอมากๆ ไข้ต่ำๆ มีน้ำมูก ให้ตรวจหาโควิดด้วยการแยงจมูกจากชุดตรวจ ATK เช่นเดิม ถ้าขึ้นเป็น 2 ขีดแสดงว่าติดเชื้อไวรัสโควิด-19

ส่วนปัจจุบันคนไม่ค่อยตรวจ ATK เพราะคิดว่าเป็นไข้หวัด นพ.มนูญ กล่าวว่า ยังจำเป็นต้องตรวจหาโควิดด้วย ATK เนื่องจากเมื่อทราบว่าตนเองติดเชื้อ จะได้ป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อไปยังผู้อื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยง 608 ยังต้องระวัง เพราะอาการอาจมากกว่าคนทั่วไป ยิ่งในผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็ยังจำเป็นต้องฉีดวัคซีน

ส่วนคนที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว ก็ไม่ต้องฉีดอีก แต่ในกลุ่มผู้สูงอายุ ต้องระมัดระวังตัว หากไม่เคยฉีดวัคซีนขอให้ฉีดอย่างน้อย 1 เข็ม อย่างกลุ่มเสี่ยง 608 ไม่เคยติดเชื้อ ไม่เคยฉีดก็ขอให้ฉีด

เมื่อป่วยแล้ว สำหรับคนที่ร่างกายแข็งแรง เคยฉีดวัคซีนมากก่อน และเคยติดโควิดมาแล้วสามารถรักษาตามอาการได้ ไม่ต้องกินยาต้านไวรัส จะหายได้เองไม่กี่วัน ส่วนกลุ่ม 608 ผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว ไม่เคยติดเชื้อโควิดมาก่อน หรือไม่เคยฉีดวัคซีน หากป่วยแนะนำให้พบแพทย์ด่วนเพื่อรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส นพ.มนูญ กล่าว 

อ่านข่าวอื่น :

กองปราบส่งสำนวน ฟ้อง "จักรภพ" คดีอาวุธปืน เจ้าตัวลั่นไม่กังวล

"วันคุ้มครองโลก" 10 ไอเดียน่าทำปกป้องสิ่งแวดล้อมในสวนหลังบ้าน

โลกเดือด! อุณหภูมิไทยแตะ 43 องศาฯ ปะการังฟอกขาว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง