ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กลัวติดคุก! ดรามา "ซาร่า" กู้ภัยประกาศงดจับหมา-แมว

สังคม
21 เม.ย. 67
10:07
1,230
Logo Thai PBS
กลัวติดคุก! ดรามา "ซาร่า" กู้ภัยประกาศงดจับหมา-แมว
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรณี เจ้าหน้าที่เทศบาล ต.บางบาล ถูกแจ้งความดำเนินคดีทารุณกรรมสัตว์ เนื่องจากการจับ "ซาร่า" สุนัขเพศผู้อายุ 4 ปี ผิดวิธีเป็นเหตุให้สุนัขตาย ทำให้ เทศบาลและกู้ภัยหลายพื้นที่ ออกมาประกาศ งดให้บริการจับสุนัขและแมว เพราะกลัวถูกดำเนินคดี ถ้าเกิดความผิดพลาด

แต่อีกมุมหนึ่ง ทนายเดชา ออกมาฝากข้อความถึง กู้ภัยทั่วประเทศว่าไม่ต้องกลัว เพราะการที่กู้ภัยจับแมวจับหมา เป็นกระทำการโดยสุจริต ที่จะช่วยเหลือประชาชน ไม่ได้เจตนาที่จะทรมานสัตว์หรือฆ่าสัตว์ 

การตายของ "ซาร่า" สุนัขเพศผู้ วัย 4 ปี ซึ่งเป็นหมาหวงชามข้าว ที่กระโดดกัดแขนคุณยายวัย 71 ปีคนเลี้ยง ก่อนที่ลูกหลานจะแจ้งให้เทศบาล ต.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา มาจับตัวไป แต่ภายหลังทางเทศบาลบางบาล ยอมรับว่า ซาร่าตายแล้ว เพราะการจับผิดวิธี ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ชื่อ Yuttasak Kampanya ได้โพสต์ข้อความ ว่าสมาคมร่วมใจกู้ภัยเมืองเลย งดให้บริการ จับสุนัข และแมว มีเจ้าของหรือไม่มี ทุกกรณีเพราะกลัวติดคุก

ผู้สื่อข่าว ได้ติดต่อไปยัง เจ้าของโพสต์ ซึ่งเป็นหัวหน้าสมาคมร่วมใจกู้ภัยเมืองเลย ชี้แจงว่า ช่วงนี้จะงด ไม่ให้ออกไปช่วยเหลือจับสุนัขและแมว เนื่องจากอุปกรณ์จับสัตว์จะใช้เหมือนกัน กับที่เป็นข่าวอยู่ เมื่อเกิดเหตุการณ์ทำให้อาสาสมัครเกิดความกลัว จึงของดไว้สักระยะก่อนดีกว่า

อ่าน : "ซาร่า" กลับดาวหมา นายกฯ บางบาล รับลูกน้องจับผิดวิธี

ทนายเดชา ชี้กู้ภัยจับหมา-แมวเจตนาดี "ไม่ผิดกฎหมาย"

ทางด้าน นายเดชา กิตติวิทยานันท์ หรือ "ทนายเดชา" โพสต์ข้อความระบุว่า บุคคลใดจะต้องรับโทษทางอาญาบุคคลนั้น ต้องมีเจตนาทางอาญา หมายถึงเจตนาร้าย ถ้าเจตนาดีไม่มีความผิดครับ กฎหมายยกเว้นความผิดอยู่แล้วครับ ดังนั้นการที่กู้ภัยจับแมวจับหมา ถ้ากระทำการโดยสุจริต ไม่ได้เจตนาที่จะทรมานสัตว์หรือฆ่าสัตว์ ก็ไม่มีความผิดใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ต้องกลัวครับ

เช่นเดียวกับ อาสาสมัครมูลนิธิวอชด็อกประเทศไทย ที่ชี้แจงว่า การจับซาร่าของเทศบาลบางบาล ที่ถูกแจ้งความดำเนินคดี เนื่องจากมี 3 ปัจจัย คือ

  1. อุปกรณ์ที่ใช้เป็นบ่วงใช้จับงู เมื่อนำมาจับสุนัข ทำให้สุนัขตกใจและดิ้น เจ้าหน้าที่ก็ต้องยิ่งออกแรงดึง มีโอกาสที่ทำให้สุนัขเจ็บ
  2. เจ้าหน้าที่ที่มาจับ เป็นป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ไม่เชี่ยวชาญเรื่องการจับสัตว์
  3. เมื่อจับไปแล้วไม่มีสถานที่พักพิงรองรับ

ทั้งหมดทำให้ สุนัขบาดเจ็บ ตื่นกลัว และตาย จึงเข้าข่ายการทารุณกรรมสัตว์ ไม่อยากให้เทศบาล ปฏิเสธการจับสุนัข เพราะ เทศบาลและปศุสัตว์เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจ ที่จะดูแลสุนัขท้องถิ่นโดยตรง ตาม พ.ร.บ.ทารุณกรรมสัตว์ พ.ศ.2557

อยากให้เรื่องของซาร่าเป็นบทเรียน ในการเตรียมอุปกรณ์ และคนให้เหมาะสม เช่น กรง สวิง อุปกรณ์เป่ายาสลบ หากมีชาวบ้านร้องเรียนให้เข้ามาช่วย จะได้ทำได้และไม่เกิดเหตุการซ้ำอีก ที่ผ่านมา ประชาชนเข้าใจผิดว่า มูลนิธิวอชด็อกรับดูแลสัตว์เลี้ยง แต่จริงๆ คือมูลนิธิที่จัดตั้งช่วยสัตว์ที่ถูกทารุณกรรม ช่วยการดำเนินคดี ไม่มีสถานที่หรือคนมาช่วยรับดูแลสัตว์ได้

กรณีสุนัขที่มีเจ้าของดุร้าย อยากให้เจ้าของสุนัขแก้ตั้งแต่ต้นทาง โดยการพูดคุยในครอบครัวก่อน เช่น ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ทำหมัน ตัดเขี้ยว เพื่อลดความดุลง หรือหากไม่ได้ อาจประกาศหาคนที่พร้อมรับสัตว์เลี้ยงไปดูแล สุดท้ายจึงค่อยติดต่อเทศบาลและปศุสัตว์เข้าไปช่วยให้คำแนะนำ หรือพาออกมาอยู่ที่พักพิงใหม่

อ่านข่าว :

ข่าวที่เกี่ยวข้อง