ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ย้อนเส้นทางกากพิษ “แคดเมียม”

สิ่งแวดล้อม
9 เม.ย. 67
11:22
4,199
Logo Thai PBS
ย้อนเส้นทางกากพิษ “แคดเมียม”
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เปิดเบื้องหลังกากพิษ "แคดเมียม" เริ่มมาจากไหน และมาอยู่ที่สมุทรสาครได้อย่างไร

1.ต้นทาง เคยเป็นพื้นที่เหมืองของ บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) อ.แม่สอด จ.ตาก จำนวน 1,300 ไร่ แบ่งเป็นที่ตั้งของโรงงาน 200 ไร่ และอีกประมาณ 1,000 ไร่ เป็นพื้นที่ฝังกลบกากอุตสาหกรรม ที่เหลือจากการหลอมเหล็ก พบว่า ในพื้นที่ 1,000 ไร่ มีบ่อเก็บกากแร่ 10 บ่อ ยังไม่รวมบ่อเก็บกากแคดเมียมที่ระบุไว้ในเอกสารอีก 8 บ่อ

2.บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) แจ้งยกเลิกปิดการทำเหมืองแม่สอด ในปี 2559 ต่อมาในปี 2560 บริษัท ผาแดงอินดัสทรี หรือ PDI ประมูลซื้อกิจการโรงฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์ฟาร์ม ในบริษัท ซิมไบโอร์ อีเลอเม้นท์ ลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์ม กำลังการผลิตรวม 30 เมกะวัตต์

3.ต่อมาในปี 2563 บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด หรือ BAFS เข้าซื้อหุ้นทั้งหมด ในกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)

4.ปี 2564 บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ลงทุนเพิ่มเติม 49 % ในโรงแรม Four Seasons Hotel Bangkok และ Capella Bangkok พร้อมเปลี่ยนชื่อบริษัท จาก บริษัท ผาแดง อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) เป็น บริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ จำกัด ใช้ชื่อย่อ “BEYOND”

อ่านข่าว : เร่งตามหา "แคดเมียม" 5,358 ตันยังล่องหนไม่รู้ซุกที่ไหน

5.ขุดกากแร่ฝังกลบ ปี 2560 พบว่า บริษัทได้ยื่นคำขออนุญาตขนย้ายสิ่งปฏิกูล กากสังกะสีและแคดเมียม ผ่านระบบออนไลน์ ระบุว่า ต้องการขนย้ายสิ่งปฏิกูล กากสังกะสีและแคดเมียม จำนวน 3 ครั้ง ครั้งละ 5,000 ตัน รวมทั้งหมด 15,000 ตัน ของบ่อเก็บกากแคดเมียม ที่ 4 และ 5

อ่านข่าว : รู้จักโลหะหนัก "แคดเมียม" สารตั้งต้น "โรคอิไตอิไต"

ระบุปลายทางว่า เป็นประเภทโรงงาน 106 (โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำสินค้าอุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้ว หรือการนำของเสียจากโรงงาน รวมถึงวัตถุอันตรายมาผลิตเป็นวัตถุดิบ หรือ รีไซเคิล) และประเภท 60 โรงงานผลิต ตบแต่ง ดัดแปลง หรือซ่อมแซมเครื่องมือ หรือเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็กหรือ เหล็กกล้า หรือ ถลุงเหล็ก) ใน จ.สมุทรสาคร

6.โรงงาน บริษัท เจ แอนด์ บี เมททอล จำกัด เดือน ก.ค.ปี 2566 บริษัทเจ้าของกิจการเหมืองได้ขนย้ายกากแคดเมียม กากสังกะสี ออกจากโรงงานเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ ที่โรงงาน บริษัท เจ แอนด์ บี เมททอล จำกัด ประกอบกิจการหลอมหล่ออลูมิเนียมแท่ง อลูมิเนียมเม็ดจากเศษอลูมิเนียม และตะกรันอลูมิเนียม (SCRAP AND DROSS)

และได้เริ่มขนย้ายกากที่บรรจุในถุงบิ๊กแบค ตั้งแต่เดือน ส.ค.2566 ถึงปัจจุบัน รวมประมาณ 13,450 ตัน แต่ตรวจพบเพียง 2,440 ตัน

7.ซื้อขายกากพิษแคดเมียม บริษัท เจ แอนด์ บี เมททอล จำกัด ซึ่งมีนายจาง เซิน ม่าว กรรมการบริษัทฯ ได้ทำสัญญาซื้อขาย โดยมีนายหน้าชื่อ “กิต” ทำสัญญาซื้อขาย กับ บริษัท อิฟง จำกัด ที่ ต.คลองกิ่ว อ.เมือง จ.ชลบุรี ซึ่งมีนายหม่า ยา เผิง เป็นกรรมการผู้จัดการ มีใบอนุญาตลำดับที่ 53 หล่อหลอมพลาสติก รวมกัน 6 ใบ

และลำดับที่ 105 คัดแยกของเสียไม่อันตราย อีก 1 ใบ และนายหม่า ยา เผิง ยังเป็นเจ้าของกับอีก 2 บริษัทคือ บริษัท ไทยฟุง 2020 จำกัด มี 1 ใบอนุญาต เป็นโรงงานลำดับที่ 53

บริษัท ชุนฟุงฮง จำกัด มี 5 ใบอนุญาต เป็นโรงงานลำดับที่ 53 รวม 4 ใบ และเป็นโรงงานลำดับที่ 105 (คัดแยกของเสียที่ไม่เป็นอันตราย) อีก 1 ใบ พบ 6,720 ตัน

ส่วนอีก 1,000 ตัน ฝากไว้ที่ บริษัทซิน หงส์ เฉิง อินเตอร์ เทค (2008) จำกัด สมุทรสาคร จำนวน 1,034 ตัน บริษัท ชิน หงส์ เฉิน อินเตอร์เทค (2008) จำกัด ได้ลงบันทึกประจำวันที่ สภ.(ย่อย) บางน้ำจืดว่า ได้รับฝากของจาก บริษัท เจ แอนด์ บีเมททอล

8.จำนวนกากพิษแคดเมียม
หากนับจำนวนทั้งหมด กากพิษที่ตรวจพบ (ทุนชาวจีน)
- บริษัท เจ แอนด์ บี เมททอล จำกัด 2,440 ตัน
- บริษัท อิฟง จำกัด 6,720 ตัน
- บริษัท ชิน หงส์ เฉิน อินเตอร์เทค (2008) จำกัด 1,034 ตัน
รวม 10,194 ตัน นั่นหมายถึง หากดูจากใบอนุญาตขนย้ายเมื่อ ปี 2560 จำนวน 15,000 ตัน ตรวจพบแล้ว 10,194 ตัน นั่นหมายถึง กากพิษแคดเมียมอีกประมาณ 5,000 ตัน อยู่ที่ไหน (หลอมแล้ว หรือขายต่อไปต่างประเทศ)

9.และยิ่งน่าสนใจเพราะกากพิษแคดเมียมแคดเมียม ที่ขุดขึ้นมา จำนวน 2 บ่อ และอีก 8 บ่อที่เหลือ จะรอขุดขึ้นมาเมื่อไหร่ เพราะในรายงานปริมาณกากของเสีย เมื่อปี 2560 มีจำนวน 330,342 ตัน

อ่านข่าว : 

ผลตรวจ "ถุงบิ๊กแบ็ค" ที่ปราจีนบุรี ไม่พบ "กากแคดเมียม"

สั่งปิด 90 วัน รง.ชลบุรี-คพ.ชี้ผลตรวจแคดเมียมตรงปก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง