ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้จัก "เปราะสกล" พืชวงศ์ขิงชนิดใหม่ของโลก

Logo Thai PBS
รู้จัก "เปราะสกล" พืชวงศ์ขิงชนิดใหม่ของโลก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ทีมนักวิจัยมหาสารคาม-BEDO พบ "เปราะสกล” สาวน้อยเมืองสกล พืชวงศ์ขิงชนิดใหม่ของโลก ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มีรายงานพบเฉพาะ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร จัดเป็นพืชหายาก

วันนี้ (8 เม.ย.2567) เว็บไซต์มหาสารคาม เผยแพร่ข่าวการค้นพบพืชวงศ์ขิงชนิดใหม่ของโลก ตั้งชื่อและตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติว่า ”เปราะสกล” หรือเรียกอีกอย่างว่า สาวน้อยเมืองสกล โดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Kaempferia sakonensis Saensouk, P. Saensouk & Boonma และมีชื่อพื้นเมืองว่า เปราะสกล หรือว่านไก่กุ๊ก และเป็นพืชที่หายากมากที่สุดของประเทศไทย

ทีมวิจัยนำโดย รศ.ดร.สุรพล แสนสุข นายธวัชพงศ์ บุญมา สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช และ รศ.ดร.ปิยะพร แสนสุข จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ เป็นสมาชิกของหน่วยวิจัยความหลากหลายพืชวงศ์ขิง และพืชที่มีท่อลำเลียงเพื่อการประยุกต์ โดยได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (BEDO) 

เปราะสกล หรือสาวน้อยสกล ว่านกุ๊กไก่ พืชชนิดใหม่ของโลก (ภาพวารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม)

เปราะสกล หรือสาวน้อยสกล ว่านกุ๊กไก่ พืชชนิดใหม่ของโลก (ภาพวารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม)

เปราะสกล หรือสาวน้อยสกล ว่านกุ๊กไก่ พืชชนิดใหม่ของโลก (ภาพวารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม)

ความโดดเด่นของ "เปราะสกล" 

นอกจา "เปราะสกล" จะเป็นพืชวงขิงชนิดใหม่ของโลกที่มีความงดงามแล้วนั้น ใบอ่อนของเปราะสกล ยังสามารถนำมารับประทานเป็นอาหาร อีกทั้งยังมีสรรพคุณทางยาของสมุนไพร 

การตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ ชื่อวิทยาศาสตร์นั้นมีการตั้งชื่อตามชื่อจังหวัดของแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติใน อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 

สำหรับลักษณะพิเศษของเปราะสกล  เนื่องจากมีการผลิตช่อดอกที่ปลายกิ่ง ในการผลิตก้านปลอมตั้งตรง และดอกสีม่วงทำให้มีลักษณะคล้ายกับเปราะราศี (Kaempferia larsenii Sirirugsa) แต่แตกต่างจากลักษณะทางสัณฐานวิทยาของต้น และใบ อย่างไรก็ตาม ดอกของสายพันธุ์ใหม่นี้ก็คล้ายคลึงกับ Kaempferia albomaculata Jenjitt. & K.Larsen (nom. nud.) แต่แตกต่างกัน และแยกออกจากกันได้ง่ายเนื่องจาก K. albomaculata มีใบแบนราบกับพื้น ในขณะที่ K. sakonensis มีใบ และลำต้นเทียมตั้งตรง

ภาพจากวารสารวิชาการ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ภาพจากวารสารวิชาการ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ภาพจากวารสารวิชาการ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เปราะสกล ชอบขึ้นที่สภาพอากาศในพื้นที่เปิด ที่มีลักษณะดินเป็นดินทราย อากาศร้อนชื้น ฝนตกปานกลาง ปัจจุบันพืชชนิดนี้พบเฉพาะในอ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร และอนาคตอาจพบการกระจายในพื้นที่อื่นใกล้เคียงได้ แต่การสำรวจครั้งนี้ ยังไม่ได้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด

ดังนั้นผู้วิจัย จึงเสนอให้จัดอันดับพืชชนิดนี้ตามเกณฑ์ของ IUCN (IUCN, 2022) ว่าเป็น Data Deficient (DD) และคาดว่าจะพบการกระจายพันธุ์ของพืชชนิดนี้ในพื้นที่ที่ยังไม่ได้สำรวจในบริเวณใกล้เคียง เพื่อเปลี่ยนสถานะการอนุรักษ์ใหม่ให้เหมาะสมต่อไป การอนุรักษ์พืชชนิดนี้ต่อไป

ประโยชน์ของเปราะสกล

เปราะสกล เป็นไม้ประดับมงคล ใบอ่อนสามารถใช้เป็นอาหาร เป็นผักสดรับประทานกับน้ำพริก นอกจากนี้ใบอ่อนยังนำมาเป็นส่วนผสมลงไปในแกงอ่อมต่างๆ เช่น อ่อมกบ อ่อมเขียด อ่อมปลา อ่อมไก่ เพื่อดับกลิ่นคาว และเพิ่มความหอมการพัฒนาต่อยอดเปราะสกล หรือสาวน้อยแห่งเมืองสกล

ภาพจากวารสารวิชาการ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ภาพจากวารสารวิชาการ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ภาพจากวารสารวิชาการ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เนื่องจากเป็นพืชชนิดนี้ เป็นพืชที่มีต้นขนาดเล็กใกล้ผิวดิน ใบแดงเขียว ดอกม่วง สวยงามมากและมีความโดดเด่นมาก ควรค่าแก่การอนุรักษ์รักษา สามารถเพาะขยายพันธุ์ด้วยเทคนิคทางด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช การศึกษาหาปริมาณสารสำคัญทางธรรมชาติ ด้านเคมีเภสัชในการผลิตพืชสมุนไพร การปรับปรุงพันธุ์เพื่อการค้า

รวมทั้งด้านอื่นๆ ต่อไปได้ในอนาคต คณะผู้วิจัยกำลังขยายพันธุ์จากเหง้า และขยายพันธุ์โดยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อเป็นหลักประกันว่าพืชหายากชนิดนี้จะไม่สูญพันธุ์และได้รับการอนุรักษ์ คุ้มครอง อย่างยั่งยืน 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง