ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ครูหยุย" มั่นใจสมรสเท่าเทียมคลอดทัน สว.ชุดนี้

การเมือง
5 เม.ย. 67
13:35
433
Logo Thai PBS
"ครูหยุย" มั่นใจสมรสเท่าเทียมคลอดทัน สว.ชุดนี้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
“ครูหยุย” มั่นใจกฎหมายสมรสเท่าเทียม คลอดทัน สว.ชุดปัจจุบันแน่นอน ยันเปิดศึกษารายละเอียดคู่ขนานพร้อมสภา นัดถกสัปดาห์ละ 2 วันเริ่ม 15 เม.ย.นี้ เพื่อให้จบมิ.ย.นี้

วันนี้ (5 เม.ย.2567) นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สว.ในฐานะประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ. ...หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ให้สัมภาษณ์ถึงกรอบเวลาในการพิจารณาว่า ในระหว่างที่ร่างดังกล่าวอยู่ในการพิจารณาของสภาฯ  ทางกมธ.หลายคณะได้ศึกษาล่วงหน้าในร่างที่เทียบเคียงกัน เช่น พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ร.บ.อุ้มบุญ พ.ร.บ.คู่ชีวิต และพ.ร.บ.รับบุตรบุญธรรม

นายวัลลภ กล่าวว่า เมื่อวุฒิสภาบรรจุเข้าที่ประชุม ก็ไม่แน่ใจว่าจะผ่านได้ง่าย แต่หลังจากฟังสมาชิกอภิปราย มั่นใจได้ว่าวุฒิสมาชิก เกือบทั้งหมดเห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้ จึงมีมติผ่านวาระที่ 1 จากนั้นได้มีการนัดประชุมเมื่อวันที่ 2 เม.ย. โดยได้ตั้งตนเป็นประธานกมธ. รวมถึงแต่งตั้งตัวแทนจากภาคประชาชนในตำแหน่งทุกระดับ และเร่งประชุมให้เสร็จสิ้นภายในเดือน พ.ค.

ประชุมสัปดาห์ละ 2 วันในรายละเอียดก็ไม่น่าจะมีปัญหา รอเพียงแต่ผู้แปรญัตติ ให้กรอบเวลาไว้ 7 วัน เริ่มได้ตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย.นี้ เพื่อในเดือนมิ.ย.จะได้ตรวจสอบรายละเอียดโดยถี่ถ้วน ยืนยันว่าขั้นตอนในวุฒิสภา เสร็จก่อนเวลาเปิดประชุมวุฒิสภาแน่นอน

อ่านข่าว เส้นทาง 22 ปี สู่ "สมรสเท่าเทียม" อีกขั้นสู่ความเท่าเทียม

ส่วนจะทันใน สว.ชุดนี้ หรือไม่นั้น นายวัลลภ กล่าวว่า คำว่าทันคือภายใต้เงื่อนไขกำหนดเวลาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง สามารถเปิดประชุมสมัยหน้า3-4 วันเท่านั้น

เมื่อเปิดจะขอประธานวุฒิสภานำกฎหมายเพื่อเข้าพิจารณาทันที หากไม่แก้มาก เชื่อว่าสภาผู้แทนฯ จะเห็นชอบนำขึ้นทูลเกล้าฯ เท่าที่ดูไม่น่าจะมีการแก้อะไรมาก เพราะไม่มีหลักอะไรที่ยาก นอกจากมีความเป็นห่วงว่ากฎหมายจะแก้ทันหรือไม่ ซึ่งได้ปลดล็อกไว้แล้วว่าหากไม่ทันให้รายงานไปยังคณะรัฐมนตรี 

ส่วนการอภิปรายของ สว.ยังมีความเป็นห่วงเรื่องอายุในการสมรส และเรื่องศาสนาจะเป็นปัญหาหรือไม่ นายวัลลภ กล่าวว่า ร่างเดิมกำหนดอายุไว้ที่ 17 ปี แต่ทางสภาฯ ได้ใช้เกณฑ์จากพ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก ซึ่งเป็นฐานกฎหมายที่ชัดเจนอยู่แล้ว หากใช้เกณฑ์อายุ 18 ปีจะเป็นสิทธิที่คุ้มครองเด็กโดยอัตโนมัติอยู่แล้วจำเป็นต้องขยับอายุขึ้นหรือลง ไม่เป็นปัญหาเสามารถอธิบายได้ด้วยหลักกฎหมายที่มีอยู่

อ่านข่าว สภาฯ ฉลุย 400 เสียงผ่านร่าง "กฎหมายสมรสเท่าเทียม"

นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สว.

นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สว.

นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สว.

ส่วนเรื่องของศาสนาในกฎหมายไม่ได้บังคับศาสนาใด แต่ละศาสนาก็ปฏิบัติตามภารกิจของท่านไปตามดุลยพินิจ ไม่มีปัญหาในเชิงปฏิบัติเป็นความกังวลมากกว่า แต่เท่าที่คุยในรายละเอียดไม่ใช่ปัญหาเลย

ส่วนที่มีการมองว่าเป็นกฎหมายทิ้งทวนของ สว.ชุดนี้ นายวัลลภ กล่าวว่า ไม่จำเป็นตนรอกฎหมายฉบับนี้มาโดยตลอดครั้งที่แล้วที่กฎหมายถูกตีตกไปก็เสียใจ ไม่ใช่เรื่องของการทิ้งทวน ทำงานด้านสังคมมาโดยตลอด

รวมถึงยังเร่งให้พิจารณากฎหมายหากวุฒิสภาพิจารณาไม่ทันตกในมือของสว.จะเสียคน อะไรที่ยอมได้ก็ต้องยอมไม่มีอะไรในโลก 100% ได้ 80% ก็ถือว่าสุดยอดในเอเชียแล้ว

ไม่ใช่การทิ้งทวน แต่เป็นกฎหมายที่มาถึงมือเราช้ามาก ซึ่งก็ได้เร่งรัดมาโดยตลอด ยืนยันว่ากฎหมายฉบับนี้ผ่านทันสว.ชุดนี้แน่นอน

ไม่มีปัญหาไม่ใช่เป้าหมายที่ยาก เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติ ตัวบทไม่มีอะไรยากเป็นเพียงการแก้ประโยค สามี ภรรยา เป็นคู่สมรส แก้ชาย หญิง เป็นบุคคล เป็นเพียงการแก้ถ้อยคำเท่านั้นเอง

อ่านข่าวอื่นๆ

เปิดเส้นทางลอบขน "แคดเมียม" ตาก-สมุทรสาคร ใครอนุญาต?

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง