ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"อุทยาน" แจ้งเอาผิด "ทางพินัย" นักท่องเที่ยวจับหางฉลามวาฬ

สิ่งแวดล้อม
4 เม.ย. 67
08:45
488
Logo Thai PBS
"อุทยาน" แจ้งเอาผิด "ทางพินัย" นักท่องเที่ยวจับหางฉลามวาฬ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมอุทยานฯ แจ้งเอาผิด "ทางพินัย" นักท่องเที่ยวต่างชาติจับหางฉลามวาฬ สัตว์ป่าสงวนใกล้กองหินริเชริว หมู่เกาะสุรินทร์

จากกรณีโซเชียลแชร์ภาพนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มาดำน้ำที่กองหินริเชริว อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา และได้สัมผัสปลายหางฉลามวาฬ โดยเป็นเหตุการณ์ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า ได้รับรายงานจากนายอาทิตย์ ขยันกิจ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ว่า อุทยานฯ ได้รวบรวมพยานหลักฐาน คลิปวีดีโอ ภาพถ่าย เพื่อดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาการกระทำผิดทางพินัยกับผู้กระทำผิด รวมทั้งประสานงานกับผู้ควบคุมดำน้ำลึก เพื่อขอทราบข้อมูลการกระทำผิด

ล่าสุดทางหัวหน้าอุทยานฯ ได้แจ้งข้อกล่าวหาการกระทำผิดทางพินัย ให้ผู้กระทำผิดทราบ และผู้กระทำผิด ผู้ควบคุมดำน้ำลึกรับสารภาพ อุทยาน นำส่งบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาการกระทำผิดทางพินัย  และบันทึกการให้การรับสารภาพ ส่งสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 เพื่อดำเนินการ

ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ได้ยกระดับให้ปลาฉลามวาฬ เป็นสัตว์ป่าสงวน ซึ่งฉลามวาฬ (Whale Shark) เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

นอกจากนี้ข้อห้ามสำหรับนักดำน้ำเพื่อไม่ให้ถูกแจ้งเอาผิด และกระทบต่อทรัพยากรทางทะเล มีดังนี้ ห้ามยืนหรือเหยียบบนปะการัง ไม่ควรหยิบจับ หรือแหย่สัตว์ทะลทุกชนิด เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเองและธรรมชาติ

ห้ามให้อาหารปลาหรือสัตว์ทะเลทุกชนิด ซึ่งจะมีผลต่อพฤติกรรมของสัตว์ นอกจากนี้อาหารที่เราให้อาจทำให้สัตว์น้ำเจ็บป่วยได้ ห้ามทิ้งขยะ และเศษอาหารลงทะเล ห้ามเก็บปะการัง รวมทั้งสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังเป็นอันขาด 

สำหรับฉลามวาฬ มักอาศัยในทะเลที่น้ำมีอุณหภูมิ 18–30 องศาเซลเซียส ลำตัวของมันมีมีสีเทา มีลายจุดสีขาวและสีเหลืองอ่อนตามตัว ความยาวของวัยตัวโตเต็มวัยอยู่ที่ 5.5–10 เมตร แต่อาจยาวได้ถึง 12 เมตร และอาจหนักได้ถึง 20 ตัน กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร

ฉลามวาฬไม่เป็นภัยต่อมนุษย์ แต่กำลังประสบปัญหาคุกคามจากมนุษย์ ทั้งการลดจำนวนลงของแพลงก์ตอน และมลพิษกับอุบัติเหตุจากเรือยนต์เช่นเดียวกัน แต่ฉลามวาฬจะพบการคุกคามที่รุนแรงกว่า คือการล่าเพื่อตัดครีบที่เรียกว่า “หูฉลาม”

อ่านข่าว : ด่วน ไฟไหม้เรือกลางทะเล "เกาะเต่า" - เร่งช่วยเหลือนักท่องเที่ยว

ก.พลังงาน ยืนยันตรึงราคาน้ำมันดีเซล 30 บ.ต่อลิตร ต่อไป

ทนายความอาสา 1 ตำบล 1 ทนายความ นำร่อง 14 แห่ง เริ่ม พ.ค.นี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง