วันนี้ (30 มี.ค.2567) นายสุธรรม วงษ์จันทร์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูเวียง เปิดเผยว่า ในปี 2567 อุทยานแห่งชาติภูเวียง ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 2, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และอุทยานธรณีขอนแก่น ได้ดำเนินโครงการ ”ขุดค้นและเก็บข้อมูลซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ หลุมขุดค้นห้วยประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนจัดการซากดึกดำบรรพ์ กรมทรัพยากรธรณี มีผู้เชี่ยวชาญด้านฟอสซิลไดโนเสาร์ นำทีมโดย ดร. วราวุธ สุธีธร หัวหน้าทีม พร้อมด้วย Dr. Haiyan Tong , ดร.สุรเวช สุธีธร, ดร.อดุลย์ สมาธิ ซึ่งโครงการระยะแรกเป็นการขุดสำรวจฟอสซิล หลุมที่ 3 ตั้งแต่เดือน ก.พ. - ก.ค.2567
- ค้นพบรอยตีน "ไดโนเสาร์" อายุ 225 ล้านปี เก่าแก่ที่สุดในไทย-เอเชีย
- หายาก ไดโนเสาร์จิ๋ว 60 ซม. "มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซิส"
ดร.วราวุธ สุธีธร ได้ให้ข้อมูลว่า ทีมสำรวจขุดค้นได้ขุดเจอกระดูกส่วนต้นคอ และกระดูกซี่โครงขนาดใหญ่ กระดูกมีความพรุนคล้ายกระดูกนก คาดว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด กินพืชคอยาว และขนาดตัวใหญ่กว่าไดโนเสาร์พันธุ์ "ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่" ที่เคยพบที่ภูเวียงมาก โดยขนาดลำตัวอาจยาวได้เกือบ 20 เมตร เป็นการพบกระดูกฟอสซิลสายพันธุ์ใหม่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง โดยจะเป็นสายพันธุ์ใหม่ของโลกหรือไม่นั้น ต้องรองานวิจัยแล้วเสร็จ
ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวสามารถ เข้าชมการขุดค้นฟอสซิล โดยปรมาจารย์ด้านการขุดฟอสซิลไดโนเสาร์ของไทยได้ทุกวัน ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง จ.ขอนแก่น
อ่านข่าวอื่นๆ :
3 วัน จับลิงลพบุรีได้ 23 ตัว อุทยานฯยันดูแลดีไม่ต้องกลัวหลุด