ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สธ.สั่งคุมเข้มหลังพบป่วย "แอนแทรกซ์" ในลาวพุ่ง 54 คน

สังคม
27 มี.ค. 67
18:11
2,948
Logo Thai PBS
สธ.สั่งคุมเข้มหลังพบป่วย "แอนแทรกซ์" ในลาวพุ่ง 54 คน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สธ.เฝ้าระวังเต็มที่หลังลาวพบผู้ป่วยแอนแทรกซ์ 54 คน ชี้ไทยไม่พบผู้ป่วยตั้งแต่ปี 2544 แต่กำชับคุมเข้มโรคระบาดทั้งในคนและสัตว์ ชี้ติดเชื้อแบคทีเรียจากกินหรือสัมผัสซากสัตว์ป่วยตายทั้งวัว ควายเสี่ยงป่วย 50-60%

วันนี้ (27 มี.ค.2567) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีลาว พบผู้ป่วยโรคแอนแทรกซ์ 54 ราย และพบสัตว์ป่วยตาย ตั้งแต่ต้นเดือนมี.ค.ว่า ตั้งแต่ปี 2544 ไทยไม่มีรายงานพบผู้ป่วยโรคนี้แต่แต่หลังมีรายงานการเกิดโรคลาว ได้กำชับให้กรมควบคุมโรคประสานหน่วยงานในพื้นที่เพิ่มการเฝ้าระวังโรคทั้งในคนและสัตว์

โดยเฉพาะด่านช่องทางเข้าออกที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว หากพบผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับโรคแอนแทรกช์ จะมีการสอบสวนโรคและรายงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทันที

สำหรับประชาชน หากพบโค-กระบือป่วยตายผิดปกติ ให้รีบแจ้งหน่วยงานปศุสัตว์ในพื้นที่ หรือแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สำคัญ ห้ามสัมผัสเคลื่อนย้ายซากหรือชำแหละเพื่อการบริโภคโดยเด็ดขาด และหากมีประวัติสัมผัสสัตว์ป่วยแล้วมีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์ ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาปฏิชีวนะ

อ่านข่าวอื่น : ก้าวไกลโพสต์ย้อนเส้นทางกว่าจะถึง "สมรสเท่าเทียม"

ปลัดสธ.กล่าวอีกว่า จากการติดตามข้อมูลของลาว พบว่ามีการออกประกาศแนว ทางควบคุมโรคอย่างเข้มงวด ทั้งห้ามซื้อขายและเคลื่อนย้ายสัตว์เข้าออกภายในเมืองโดยเด็ดขาด ห้ามโรงฆ่าสัตว์ชำแหละโค-กระบือในเมือง

ห้ามประกอบอาหารจากสัตว์ที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ให้เจ้าของกักขังสัตว์เลี้ยงของตนเพื่อติดตามอาการ หากสัตว์ป่วยซึม ไม่กินอาหาร ขาบวม ท้องโต ให้แยกออกจากฝูงแล้วทำการรักษา และให้ติดตามเฝ้าระวังสัตว์เลี้ยงอย่างใกล้ชิด หากเกิดโรคให้รายงานสัตวแพทย์ในพื้นที่

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

สำหรับโรคแอนแทรกซ์ เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียแบบเฉียบพลันจากเชื้อ Bacillus anthracis เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดหลังสัมผัสเชื้อขณะชำแหละสัตว์ป่วย หรือสัมผัสซากสัตว์ที่ป่วยตาย โดยเฉพาะวัว ควาย หรือสัตว์กินหญ้า

อาการป่วยแบ่งเป็น 3 ระบบตามการสัมผัสเชื้อ คือ 1.อาการทางผิวหนัง จะมีแผลลักษณะคล้ายบุหรี่จี้บริเวณที่สัมผัสเชื้อ คือ แผลเป็นสีดำและขอบบวมแดง 2.อาการระบบทางเดินอาหาร จากการรับประทานเนื้อสัตว์ป่วยตายดิบๆ หรือปรุงไม่สุก ทำให้มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้องอย่างรุนแรง มีอัตราป่วยตายร้อยละ 50-60

และ 3.อาการระบบทางเดินหายใจ จากการหายใจเอาสปอร์เชื้อเข้าไป ทำให้มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หายใจขัด หายใจลำบาก หน้าเขียวคล้ำ ปอดอักเสบ และเสียชีวิตได้ อัตราการป่วยตายสูงถึงร้อยละ 80–90 แต่มีความเสี่ยงน้อยมากที่จะแพร่โรคจากคนสู่คน

อ่านข่าวอื่น : "จักรภพ เพ็ญแข" ประกาศกลับไทย 28 มี.ค.ขอไปรับใช้เมืองไทย

ปศุสัตว์สกัดโคลอบนำเข้า127 ตัว

นายชัยวัฒน์ โยธคล รองผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจพญานาคราช กล่าวว่า ผลการปฏิบัติงานของชุดเฉพาะกิจพญานาคราช ที่ปฏิบัติการป้องกันการลักลอบนำเข้าโค-กระบือ จากประเทศเมียนมา พบการกระทำผิดในการลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ โดยจับกุมตัวผู้กระทำผิด และสามารถยึดอายัดโค 127 ตัว ในพื้นที่ต.แม่ต้าน และต.แม่หละ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ปลายทางไปอ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ มีผู้ร่วมขบวนการทั้งหมด 11 คน และไม่มีหลักฐานใบอนุญาตการเคลื่อนย้ายสัตว์ภายในเขตเฝ้าระวังโรคระบาด (ร.3)

จึงแจ้งความผิดฐานลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ ในเขตเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์ชนิดปากและเท้าเปื่อยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสัตวแพทย์ตามมาตรา 22 ประกอบกับมาตรา 34 แห่งพ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ 2558 

อ่านข่าวอื่น : ไทม์ไลน์ครึ่งปี "วงการสีกากี" มีแต่คำว่า "บิ๊กต่อ-บิ๊กโจ๊ก และ เว็บพนันออนไลน์"

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง