ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ถอดรหัส" กราดยิงมอสโก ความเปราะบางทางศาสนา

ต่างประเทศ
23 มี.ค. 67
13:09
1,183
Logo Thai PBS
"ถอดรหัส" กราดยิงมอสโก ความเปราะบางทางศาสนา
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กัณฐัศศา พงษ์หิรัญ ผอ.โครงการรัสเซียศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ วิเคราะห์ถึงชนวนเหตุกราดยิงมอสโก ประเทศรัสเซีย ชี้ความเปราะบางทางศาสนาปมเหตุรุนแรง ส่งสัญญาณถึง "ปูติน"

เหตุกราดยิงที่เกิดขึ้นในรัสเซีย ทั่วโลกจับตามอง และกำลังตั้งคำถามว่าเกิดจากเรื่องการเมืองที่จะเพิ่งมีการเลือกตั้งไปสดๆ ร้อนๆ หรือเป็นเรื่องสงครามระหว่างรัสเซียยูเครนที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนาน 

น.ส.กัณฐัศศา พงษ์หิรัญ ผอ.โครงการรัสเซียศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิเคราะห์ถึงชนวนว่า ประเทศรัสเซียมีความขัดแย้งของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ศาสนามาเป็นข้ออ้างความรุนแรง และการถูกกดทับทางวัฒนธรรม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าช่วงเวลาที่ผ่านมา มีเหตุการณ์รุนแรงเสมอหากติดตามในประวัติศาสตร์รัสเซีย จะมีสงครามสงครามเชชเนีย ในกรณีนี้อาจมีความเกี่ยวข้องเรื่องแนวคิดสุดโต่งของกลุ่มก่อการร้ายอิสลาม

เมื่อถามว่า หลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กลุ่ม ISIS ออกมาอ้างความรับผิดชอบทันทีและหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯระบุว่ามีมูลความจริง นักวิชาการระบุว่า กลุ่ม ISIS มีสาขาย่อยหลายกลุ่ม ที่น่าสนใจคือที่ ISIS-K ที่เป็นกลุ่มที่เพิ่งมีบทบาทและถือเป็นมุสลิมหัวรุนแรงที่โดดเด่นในช่วงหลายปี และมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มอัลกออิดะห์ด้วย 

และความพยายามกระจายฐานที่มั่น แถวอัฟกานิสสถาน อิหร่าน ปากีสถาน และบางส่วนของเอเชียกลาง อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน ทาจิกิสถาน ซึ่ง 3 รัฐ มีความสำคัญของรัสเซียในกลุ่มประเทศปกครองของตนเองต้องมีความภักดีหรือใกล้ชิดกับรัสเซีย

หากรัฐในแถบเอเชียกลาง จะชูให้เห็นถึงการตีตัวออกห่าง ไปใช้ประเด็นทางศาสนามาเกี่ยวข้อง จะเป็นปัญหาในอนาคตซึ่งกลุ่ม ISIS-K พยายามจะสร้างรัฐอิสลามขึ้นใหม่ จึงท้าทายอำนาจของรัสเซียเหตุการณ์นี้ จะส่งสัญญาณให้กับ ปูติน ที่เพิ่งชนะการเลือกตั้ง  

สำหรับการส่งสัญญาณครั้งนี้ไปยังปูติน เรื่องการตั้งรัฐอิสลามหรือไม่ นักวิชาการ กล่าวอีกว่า การข่าวกรองของรัสเซียก่อเหตุก่อการร้าย มีประสบการณ์มายาวนาน 20 ปี ที่เผชิญเหตุการณ์ลักษณะนี้มาแล้ว และรัสเซียไม่ได้เพิกเฉยต่อการป้องกันภัยคุกคาม 

อ่านข่าว ทั่วโลกประณามการโจมตี Crocus City Hall ของกลุ่มก่อการร้าย

นอกจากนี้ทิศทางการเมืองของรัสเซีย ก่อนหน้าที่ปูติน ไม่ได้ก้มหัวให้ตะวันตกแต่ไม่ได้ต่อต้านตะวันตกแบบหัวชนฝา แต่พอมีสถานการณ์ รัสเซีย-ยูเครน ต้องหาพันธมิตรใหม่ ไม่ใช่แค่จีน แต่ยังแผ่อิทธิพลไปยังตะวันออกกลาง และการขยายพันธมิตรอาจมีอิทธิพลในพื้นที่ เพราะในอดีตรัสเซียก็เคยเข้าไปแทรกแซงสงครามในซีเรีย และสงครามเชชเนีย ทั้งที่กลุ่มเหล่านี้มีการวางเครือข่ายกันทั่วโลก

ถ้ารัสเซีย ยังแสวงหาพันธมิตรไปในพื้นที่เปราะบางมากขึ้น ในประเด็นศาสนา ก็อาจต้องมีการวางนโยบายต่างประเทศเพื่อให้สอดคล้องและรับมือกับเหตุขัดแย้งลักษณะนี้ด้วย

อ่านข่าวอื่นๆ

เรื่องเล่าตำนาน "วันสงกรานต์" กับ "ประเพณีสงกรานต์" ใน 4 ภูมิภาค 

 "เศรษฐา" โยน "ชาดา" เคลียร์ปมบ่อนบางใหญ่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง