- เปิดชีวิตบนปากจระเข้ "สุเมธ ทองคำม้วน" 30 ปี กับบาดแผล 500 เข็ม
- กอดสุดท้าย "แม่ค่าง" แลกชีวิตปกป้องลูกจากฝูงสุนัขรุมกัด
เว็บไซต์ Live Science รายงานข่าวดีในวงการอนุกรมวิธานปลา หลังจากนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบ "ฉลามผี" สายพันธุ์ใหม่ ไม่เคยเห็นมาก่อน มีหัวขนาดใหญ่ ดวงตาขนาดยักษ์ มีสีรุ้ง และครีบที่มีขนนก อยู่ในส่วนลึกของทะเลอันดามัน นอกชายฝั่งประเทศไทย
สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลลึกมีชื่อว่า Chimaera supapae เป็นปลากระดูกอ่อนในลำดับเดียวกับปลาที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน Chimaeriformes ปลาโบราณเหล่านี้ เป็นญาติห่างๆ ของฉลาม และปลากระเบน
นักวิทยาศาสตร์ ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 6 มี.ค.ในวารสาร และได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “คิเมียรา สุภาเพ” (Chimaera supapae) เพื่อเป็นเกียรติแก่ ศ.สุภาพ มงคลประสิทธิ์ อดีตคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธานปลา
ข้อมูล : วารสาร Raffles Bulletin of Zoology และ Live Science
เปิดภาพ ฉลามผี
ภาพ : David A. Ebert-วารสารRaffles Bulletin of Zoology
David Ebert ผู้เขียนหลักของการศึกษา และผอ.โครงการของศูนย์วิจัยฉลามแปซิฟิกที่มหาวิทยาลัย San Jose State ในแคลิฟอร์เนีย บอกกับ WordsSideKick.com ทางอีเมล์ว่า ฉลามผี หาได้ยากในภูมิภาคนี้ของโลก
คิเมียรา อาศัยอยู่ตามไหล่ทวีป และสันเขามหาสมุทรใต้ทะเลลึก พบได้ที่ระดับความลึกต่ำกว่า 1,640 ฟุต ราว 500 เมตร โดยพวกมันแฝงตัวอยู่ในน่านน้ำมืด หาอาหารจากสัตว์ที่อาศัยอยู่ในก้นทะเล เช่น สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง หอย และหนอน คิเมียรา ในโลกนี้มีเพียง 53 สายพันธุ์ ตัวที่พบล่าสุดถือเป็นชนิดที่ 54
ลักษณะของฉลามผี
สำหรับ คิเมียรา สายพันธุ์ใหม่ ที่เก็บตัวอย่างเดียวที่พบในทะเลอันดามัน 772-775 เมตร นอกชายฝั่งของไทย มีจมูกสั้น ตาค่อนข้างใหญ่ ความยาวตา 32.2% ความยาวศีรษะ ลำตัวบาง ผิวหนัง สีน้ำตาลเข้มสม่ำเสมอ ช่องด้านข้าง และช่องปากมีกิ่งก้านสาขาเหมือนกัน
ขอบด้านหลังของครีบหลังนูนเล็กน้อย กระดูกสันหลังด้านหลังยาว 27% BDL ยาวกว่าครีบหลังแรก มีสัณฐานวิทยาใกล้กับ Chimaera macrospina จากออสเตรเลีย แต่ต่างกันในความยาวของ ventral caudal lobe,ความยาวของช่องจมูก และความยาวของขอบด้านหน้าของครีบหลัง (pectoral fin) สามารถแยกแยะได้จาก C. macrospina และอื่น ๆ สายพันธุ์ชิมาเอร่าอาศัยความแตกต่างของลำดับดีเอ็นเอของยีนไมโตคอนเดรียล ND2