ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

หน้าร้อน ทำไมค่าไฟแพงขึ้น ทั้งที่ใช้ไฟเท่าเดิม

สังคม
17 มี.ค. 67
16:29
4,040
Logo Thai PBS
หน้าร้อน ทำไมค่าไฟแพงขึ้น ทั้งที่ใช้ไฟเท่าเดิม
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อุณหภูมิสูงขึ้น ทำเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้ไฟเพิ่มขึ้น เพราะต้องรักษาอุณหภูมิให้คงที่ต่อเนื่อง กฟน.แนะนำวิธีช่วยประหยัด “ปิด-ปรับ-ปลด-เปลี่ยน”

แม้มีการคาดการณ์ว่าค่าไฟฟ้างวดหน้า (พ.ค.-ส.ค.) ยังจะคงอยู่ในอัตราเดิมต่อไปก่อน แต่หลายบ้าน พอดูบิลค่าไฟช่วงนี้ ตกใจว่าทำไมจ่ายแพงขึ้น ทั้งๆ ที่ใช้ไฟฟ้าเหมือนเดิม

ถ้าไม่ใช่เจ้าหน้าที่จดหน่วยผิด ต้องตั้งข้อสังเกตถึงอากาศร้อน ที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส ทำให้ต้องเสียค่าไฟเพิ่มขึ้นด้วย

ทั้งนี้ยังไม่ทันถึงช่วงที่ร้อนสุดของปี แต่การใช้ไฟบ้านก็เห็นแนวโน้มพุ่งขึ้นเรื่อยๆ ไปพร้อมกับสภาพอากาศ ต่อให้เปิดใช้เท่าเดิม ทั้งจำนวน และเวลาใช้ แต่เครื่องไฟฟ้าก็กินไฟเพิ่มขึ้น

เห็นได้ชัดๆ กับพวกเครื่องทำความเย็นที่ทำงานหนักขึ้น เพราะต้องรักษาอุณหภูมิให้คงที่ต่อเนื่อง ต่อให้อากาศด้านนอกจะร้อนขนาดไหนก็ตาม

แห่ลงทะเบียน รัฐช่วยลด "ค่าไฟ-น้ำ" ยืนยันตัวตนทะลุ 13.8 ล้านคน

อย่างการใช้แอร์ ถ้าตั้งอุณหภูมิห้อง ที่ 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิด้านนอก ช่วงปกติ 30 องศาเซลเซียส แล้วเปรียบเทียบกับช่วงหน้าร้อน ที่ 40 องศาเซลเซียส แอร์ทำงานเพื่อลดอุณหภูมิต่างกันมาก แอร์ทำงานหนักมากขึ้นเพื่อรักษาอุณหภูมิในห้อง กินไฟมากขึ้น ค่าไฟก็แพงขึ้น

อ่านข่าว : เรื่องต้องรู้ วิธีดูแล "รถยนต์" ช่วงหน้าร้อน สิ่งของที่ห้ามเก็บไว้ในรถ

การทดสอบของการไฟฟ้านครหลวง ยืนยันว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทุก 1 องศาเซลเซียส แอร์จะกินไฟเพิ่มขึ้นมากกว่า 3% ถึงแม้ระยะเวลาใช้เท่าเดิม หรือตั้งค่าอุณหภูมิเท่าเดิมก็ตาม

ไม่เพียงแอร์ที่ทำงานหนักหน้าร้อน พฤติกรรมการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ก็มีผลทำให้ค่าไฟพุ่งได้เหมือนกัน เช่น การเปิดปิดตู้เย็นบ่อยๆ เอาของร้อนแช่ บางบ้านใช้น้ำมาก-ปั๊มน้ำก็ทำงานมากขึ้น ผลลัพธ์ก็อยู่ในบิลค่าไฟ

หน้าร้อน เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้เลย แต่ กฟน.แนะนำวิธีช่วยประหยัดได้บ้าง เป็นหลัก “ปิด-ปรับ-ปลด-เปลี่ยน” คือ

- ปิดไฟเมื่อไม่จำเป็น

- ปรับ แอร์ ที่ 26 องศาฯ แล้วใช้พัดลมช่วยกระจายความเย็น ไม่ให้แอร์ทำงานหนัก สู้กับอากาศด้านนอกมากเกินไป ล้างแอร์ได้ยิ่งดี

- ปลดปลั๊กเมื่อเลิกใช้

- เปลี่ยนมาใช้ฉลากเบอร์ 5 หลอดประหยัดไฟ และปลูก ต้นไม้ให้ร่มเงา

นอกจากนี้ ค่าไฟฟ้ายังขึ้นอยู่กับการใช้ไฟช่วงเวลาที่มีความต้องการสูง และ ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือค่า FT ที่ปรับทุก 4 เดือนเพื่อสะท้อนต้นทุนพลังงาน ซึ่งเหนือการควบคุมของประชาชน สิ่งที่เราทำได้คือปรับพฤติกรรมใช้ไฟ เพื่อเซฟเงินในกระเป๋าให้ได้มากที่สุด

อ่านข่าวอื่นๆ : 

ร้อน ร้อน แบบนี้ แนะ 6 วิธีคลายร้อน ช่วงอุณหภูมิสูงแตะ 40 องศาฯ

หน้าร้อน "มะนาวแพง" พาณิชย์แนะใช้มะนาวผง รสชาติเหมือนสด

สธ.เผยช่วงหน้าร้อนปี 66 พบเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน 37 คน

กินอาหาร "หน้าร้อน" ให้อร่อย ไม่เสี่ยงอาการ "ท้องร่วง"

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง