ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ยลโฉมความหรูหรา "SRT Royal Blossom" เตรียมให้บริการกลางปี 67

สังคม
16 มี.ค. 67
15:20
5,262
Logo Thai PBS
ยลโฉมความหรูหรา "SRT Royal Blossom" เตรียมให้บริการกลางปี 67
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
รฟท. เปิดขบวน SRT ROYAL​ BLOSSOM​ ที่ดัดแปลงมาจากขบวนรถญี่ปุ่น Hamanasu ตั้งเป้าให้บริการกลางปี เล็งเส้นทางฉะเชิงเทรา-หัวหิน-กาญจนบุรี​

เมื่อวันที่ 15 มี.ค.2567 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ​รถไฟ​แห่ง​ประเทศไทย​ กล่าวว่า รฟท.ได้รับมอบรถโดยสารชนิดนั่งปรับอากาศ Hamanasu (ฮามานะสุ) จากบริษัท Hokkaido Railway Company (JR Hokkaido) ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 10 คัน ประกอบด้วย รถรุ่น SUHAFU (มีเครื่องยนต์ปั่นไฟ) 5 คัน และรถรุ่น OHA (ไม่มีเครื่องยนต์ปั่นไฟ) 5 คัน

โดยได้มอบหมายให้ฝ่ายการช่างกลดำเนินการปรับปรุงตู้โดยสารให้มีความพร้อมสำหรับใช้เป็นขบวนรถไฟท่องเที่ยว เพื่อช่วยเสริมศักยภาพในการเดินทาง และการท่องเที่ยวภายในประเทศ เมื่อรับมอบจากญี่ปุ่น รถยังมีสภาพดีมาก แต่เมื่อรับมอบเสร็จแล้ว ขบวนรถถูกจอดทิ้งไว้ที่ศรีราชา จ.ชลบุรี และ รฟท. ยังไม่มีแผนว่าจะทำอะไรกับรถขบวนนี้ รวมถึงติดอุปสรรคเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง ทำให้ขบวนรถถูกทิ้งไว้

จนกระทั่งปี 2563 เมื่อได้รับตำแหน่งเป็นผู้ว่าฯ พบว่า รถยังมีสภาพดี จึงมอบหมายให้ฝ่ายการช่างกล รฟท. ปรับปรุงรถโดยสาร ล่าสุดรถโดยสารชนิดนั่งปรับอากาศ Hamanasu ชุดแรกใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว จำนวน 5 คัน ภายใต้ชื่อ "SRT Royal Blossom" โดยจะใช้สำหรับการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ เป็นการดำเนินการต่อจากการปรับปรุงขบวนรถไฟท่องเที่ยว KIHA 183 ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับ รฟท. และ สร้างความประทับใจแก่ผู้โดยสาร

การปรับปรุงขบวนเป็นฝีมือคนไทย เน้นที่ดีไซน์ ให้รู้สึกถึงความแตกต่าง

การปรับปรุงขบวนเป็นฝีมือคนไทย เน้นที่ดีไซน์ ให้รู้สึกถึงความแตกต่าง

การปรับปรุงขบวนเป็นฝีมือคนไทย เน้นที่ดีไซน์ ให้รู้สึกถึงความแตกต่าง

ปัจจุบัน ตู้ SRT Royal Blossom อยู่ระหว่างทดสอบความพร้อมของระบบ และเมื่อทดสอบแล้วเสร็จ มีกำหนดเริ่มให้บริการท่องเที่ยวช่วงกลางปีนี้ เบื้องต้น จะใช้ในเส้นทางระยะสั้น แบบวันเดย์ทริป-พักค้างคืน ในเส้นทางยอดนิยม เช่น กาญจนบุรี​ หัวหิน ฉะเชิงเทรา​ และ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ รวมถึงให้บริการในช่วงเทศกาลสำคัญ หรือให้บริการเช่าเหมาขบวน

ที่ผ่านมาการรถไฟฯ ขาดรถท่องเที่ยวที่มีลักษณะ​เฉพาะ ส่วนใหญ่เป็นรถโดยสารพาไปท่องเที่ยว ยังขาดรถที่ดำเนินกิจกรรมสันทนาการ จึงเป็นแนวคิดเอารถมาสันทนาการ​บนรถ

นายนิรุฒ ยังยืนยันว่า การปรับปรุงขบวนรถไม่แพง เป็นฝีมือคนไทย เน้นที่ดีไซน์ ที่ให้ผู้โดยสารรู้สึกถึงความแตกต่าง ส่วนราคาค่าโดยสาร ยืนยันว่าจะมีการพิจารณาตามเส้นทาง แต่จะเป็นราคาที่ทุกคนเอื้อมถึงได้แน่นอน และจะไม่มีการล็อกที่ให้เฉพาะเป็นการเช่าเหมาอย่างเดียว

สำหรับขบวนรถหลังจากนี้ จะมีการรับมอบอีกครั้งในช่วงปลายปี โดยเป็นขบวนรถ Kiha 40 และ Kiha 48 จำนวน 20 คัน พร้อมวางแผนว่า ไม่ต้องการให้มีพัดลมบนตู้รถโดยสารชั้น 3 ในอนาคต โดยอาจจะนำมาใช้ทดแทนบางส่วน

เปลี่ยนโฉมสู่ SRT Royal Blossom 

ภายนอกตู้ SRT Royal Blossom ถูกแต่งแต้มสีสันภายนอกด้วยสีแดงเชอร์รี่คาดทอง ส่วนภายนอกตัวรถทำสีใหม่ให้เป็นเฉดสีแดงคาดลายสีทอง ซึ่งเป็นสีของกลีบดอกไม้ ที่มีความสวยงาม และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของขบวนรถไฟท่องเที่ยวชุดนี้ ด้านหน้าและด้านข้างตัวรถจะมีสัญลักษณ์เป็นโลโก้ "STATE RAILWAY OF THAILAND ROYAL BLOSSOM SINCE – 2022" คู่กับดอกราชพฤกษ์ ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำรัชกาลที่ 10 ถูกวางบนหน้าปัดนาฬิกา ตัวเลขโรมัน และเข็มนาฬิกาชี้ไปที่ตัวเลข 13 (XIII)

โลโก้ STATE RAILWAY OF THAILAND ROYAL BLOSSOM SINCE – 2022 คู่กับดอกราชพฤกษ์

โลโก้ STATE RAILWAY OF THAILAND ROYAL BLOSSOM SINCE – 2022 คู่กับดอกราชพฤกษ์

โลโก้ STATE RAILWAY OF THAILAND ROYAL BLOSSOM SINCE – 2022 คู่กับดอกราชพฤกษ์

เปรียบถึงการเดินทางครั้งใหม่ของ Hamanasu จนเป็น SRT Royal Blossom ซึ่งจะสร้างช่วงเวลาแห่งความสุขและความพิเศษที่จะเกิดขึ้นกับการเดินทางท่องเที่ยวด้วยรถไฟในประเทศไทย
SRT Royal Blossom โดยจะใช้สำหรับการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ

SRT Royal Blossom โดยจะใช้สำหรับการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ

SRT Royal Blossom โดยจะใช้สำหรับการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ

การตกแต่งภายในตัวรถ ตกแต่งด้วยความพิถีพิถัน โดยทำเบาะหุ้มที่นั่งใหม่เป็นเบาะกำมะหยี่ เปลี่ยนผ้าม่านที่สามารถปรับระดับได้ เปลี่ยนหลอดไฟให้เป็นหลอด LED รวมถึง ส่วนประกอบหลักของงานตกแต่งที่ทำจากไม้สนซีดาร์ เป็นเนื้อไม้ที่มีความสวยงามและทนทานต่อการใช้งาน การติดตั้งบันไดทางขึ้น-ลง ที่ใช้สำหรับรองรับชานชาลาสูงและต่ำ โดยใช้วัสดุจากไม้สักและคลิบด้วยทองเหลืองแท้ที่พับเก็บได้ ตลอดจนการออกแบบหน้าต่างพร้อมกรอบโลหะสีทอง ที่มีขนาดความกว้างพิเศษ สามารถชมวิวทิวทัศน์ได้กว้างกว่ารถโดยสารทั่วไป และยังติดตั้งเครื่องฟอกอากาศทุกตู้

ผ้าม่านที่สามารถปรับระดับได้

ผ้าม่านที่สามารถปรับระดับได้

ผ้าม่านที่สามารถปรับระดับได้

งานด้านเทคนิค มีการปรับปรุงระบบห้ามล้อ และปรับปรุงแคร่และความกว้างของเพลาล้อใหม่ จากเดิม 1.067 เมตร ให้เป็นขนาด 1 เมตร ตามมาตรฐานทางรถไฟไทย ปรับปรุงระบบปรับอากาศ ปรับปรุงระบบไฟฟ้าโดยใช้เครื่องยนต์จากรถ Power Car ในการจ่ายกระแสไฟฟ้า ช่วยลดมลภาวะทางเสียงและอากาศ เปลี่ยนปลั๊กไฟจาก 110 โวลต์ ที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น ให้เป็น 220 โวลต์ โดยได้ติดตั้งปลั๊กแบบมาตรฐาน และ USB Port เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน

เปลี่ยนห้องสุขาให้เป็นระบบสุญญากาศระบบเดียวกับเครื่องบิน เปลี่ยนถังเก็บน้ำให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม รวมถึงเปลี่ยนชุดหัวสูบถ่ายจากถังเก็บสิ่งปฏิกูลที่สามารถใช้ร่วมกับรถโดยสารอื่นได้

ห้องน้ำสุญญากาศเหมือนห้องน้ำบนเครื่องบิน

ห้องน้ำสุญญากาศเหมือนห้องน้ำบนเครื่องบิน

ห้องน้ำสุญญากาศเหมือนห้องน้ำบนเครื่องบิน

ห้องโดยสารรองรับทุกความต้องการผู้โดยสาร

  1. Group Car จำนวน 1 คัน ดัดแปลงเป็นห้องโดยสารแบบกลุ่มส่วนตัว จำนวน 4 ห้อง รองรับห้องละได้ 4-6 คน สามารถชมวิวทิวทัศน์ได้กว่า 180 องศา ประตูเซนเซอร์ มีทางเดินที่กว้างขวาง สะดวกสบายรองรับวีลแชร์ นอกจากนี้ ยังมีมีลิฟต์ขนาดใหญ่ จำนวน 2 ตัว และห้องน้ำสำหรับรองรับผู้พิการด้วย

  2. Passenger Car จำนวน 3 คัน ดัดแปลงเป็นห้องโดยสารแบบรวม มีทั้งหมด 48 ที่นั่ง/คัน โดยที่นั่งมีทั้งแบบหันหน้าเข้าหาหน้าต่างเพื่อชมวิว หรือปรับเบาะหันหน้าเข้าหากันเพื่อทำกิจกรรมในกลุ่มเพื่อนได้ พร้อมทั้งช่องเสียบสาย USB ทุกที่นั่ง แต่ละตู้จะมีเบาะที่นั่งที่มีสีสันต่างกัน สื่อถึงการเดินทางในแต่ละครั้ง ผู้โดยสารจะได้รับความประทับใจที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา เปรียบเหมือนการเบ่งบานของดอกไม้ในแต่ละฤดูกาล นอกจากนี้ ยังมีอีก 8 ที่นั่ง ที่แยกออกมาสำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว
    ที่นั่งแบบหันหน้าเข้าหากัน

    ที่นั่งแบบหันหน้าเข้าหากัน

    ที่นั่งแบบหันหน้าเข้าหากัน



  3. Leisure Car จำนวน 1 คัน ดัดแปลงเป็นรถเสบียง สำหรับให้บริการอาหารและเครื่องดื่มที่ผู้โดยสารสามารถมาใช้บริการหรือซื้อกลับไปรับประทานที่ตู้โดยสารได้ ภายในออกแบบเคาน์เตอร์บาร์ให้อยู่ตรงกลางทำให้ผู้โดยสารสามารถเดินด้านข้างได้ทั้ง 2 ด้าน มีพื้นที่กว้างขวาง มีกระจกขนาดใหญ่เป็นพิเศษ สามารถนั่งชมวิวทิวทัศน์ได้อย่างสบาย นอกจากนี้ บริเวณด้านท้ายตู้ มีพื้นที่โล่งที่ให้นักท่องเที่ยวสามารถมายืดเส้นยืดสายพักผ่อนอิริยาบถได้อีกด้วย
    เคาน์เตอร์บาร์อยู่ตรงกลาง ผู้โดยสารสามารถเดินด้านข้างได้ทั้ง 2 ด้าน

    เคาน์เตอร์บาร์อยู่ตรงกลาง ผู้โดยสารสามารถเดินด้านข้างได้ทั้ง 2 ด้าน

    เคาน์เตอร์บาร์อยู่ตรงกลาง ผู้โดยสารสามารถเดินด้านข้างได้ทั้ง 2 ด้าน

    ผู้โดยสารสามารถชมวิวทิวทัศน์จากกระจกบานใหญ่ได้

    ผู้โดยสารสามารถชมวิวทิวทัศน์จากกระจกบานใหญ่ได้

    ผู้โดยสารสามารถชมวิวทิวทัศน์จากกระจกบานใหญ่ได้

นายเอกรัช กล่าวว่า ส่วนขบวนรถที่เหลืออีก 5 คัน การรถไฟฯ อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการปรับปรุง คาดว่าจะแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการได้เต็มรูปแบบในช่วงกลางปี 2567

ตู้รถโดยสารชนิดนั่งปรับอากาศ Hamanasu ของประเทศญี่ปุ่น ผลิตเมื่อปี ค.ศ.1988 เคยให้บริการเป็นขบวนรถด่วนที่มีชื่อว่า Hamanasu เส้นทางเชื่อมระหว่างเกาะฮอกไกโดข้ามไปเกาะฮอนชู จากสถานีซับโปโร-สถานีอะโอโมริ และให้บริการเที่ยวสุดท้ายที่เกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 21 มี.ค.2559 โดยชื่อ Hamanasu หรือที่เรียกอีกอย่างว่า ดอกกุหลาบญี่ปุ่น ถือเป็นดอกไม้ประจำเกาะฮอกไกโดนั่นเอง

ที่นั่งแบบหันหน้าเข้าหาหน้าต่างเพื่อชมวิว

ที่นั่งแบบหันหน้าเข้าหาหน้าต่างเพื่อชมวิว

ที่นั่งแบบหันหน้าเข้าหาหน้าต่างเพื่อชมวิว

ท้ายนี้ รฟท. มุ่งหวังว่า การเปิดให้บริการขบวนรถไฟท่องเที่ยวใหม่ SRT Royal Blossom จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ และสร้างรายได้ให้แก่ รฟท. ตลอดจนเป็นการเปิดประสบการณ์เดินทางใหม่ๆ ให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้เกิดความประทับใจ รวมถึงช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงทางรถไฟ ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น สร้างความเข้มแข็งต่อเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างยั่งยืน

วัสดุจากไม้สักและคลิบด้วยทองเหลืองแท้ที่พับเก็บได้

วัสดุจากไม้สักและคลิบด้วยทองเหลืองแท้ที่พับเก็บได้

วัสดุจากไม้สักและคลิบด้วยทองเหลืองแท้ที่พับเก็บได้

อ่านข่าวอื่น : 

เอาจริง! เศรษฐาลั่นปีหน้างดนำเข้า "ข้าวโพด" จากเพื่อนบ้าน

"ทักษิณ" แฮปปี้เจอคนเก่าแก่ พาหลานเที่ยวไนท์ซาฟารี

"พิธา" ลุยเชียงใหม่ดับไฟแก้ฝุ่นพิษ ปัดลงพื้นที่แข่งนายกฯ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง