ล่าสุด "พังกันยา" ก็มีพัฒนาการด้านร่างกายดีขึ้น น้ำหนักตัวที่เคยเพิ่มขึ้นในช่วงแรก วันละ 300 กรัม ปัจจุบันเพิ่มขึ้นวันละ 700 กรัม หรือ 3 วัน 2 กิโลกรัม
ควาญช้าง และ เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ ช่วยกันปรุงอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของ ใบไผ่ งาดำ และ สมุนไพร นำมาปั่นให้ละเอียดก่อนจะบดรวมกับกล้วยน้ำว้า เพื่อให้ "พังกันยา" กินสลับกับการดื่มนมจากเต้าของช้างแม่รับ 2 เชือก คือ พังวันดี และ พังบือละ
อ่านข่าว : 1 ปี "วัคซีนทำหมันช้าง" ไปไม่ถึงฝัน ติดขั้นตอนอนุญาตนำเข้า
ปัจจุบัน "พังกันยา" มีอายุประมาณ 6-7 เดือน เนื่องจากขณะพลัดหลงโขลงบริเวณริมป่านาตู้ดำ มีอายุราว 2 สัปดาห์
กิจวัตร นอกจากพักผ่อนนอนหลับ และ เล่นกับควาญแล้ว ก็ยังได้ใกล้ชิดกับช้างแม่รับ และ เล่นกับลูกช้าง ลูกพี่ ลูกน้อง ตามประสาช้างเล็ก
ควาญช้างผู้ดูแลพังกันยาบอกว่า "พังกันยา" มีพัฒนาการดีขึ้น ทั้งการเล่น และ การกิน นอกจากนี้ ยังดูจะมีชีวิตชีวาดีขึ้น เมื่อได้อยู่กับช้างแม่รับ
อ่านข่าว : ปลอกคอจีพีเอส "ช้างป่า" ติดนาน 6 ปี "ไม่มีอะไร เร็วเท่าใจคน"
ธีรภัทร ตรังปราการ นายกสมาคมสหพันธ์ช้างไทย เจ้าของ Patara Elephant Farm เล่าว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการทำให้กันยามีชีวิตรอดให้ได้ โดยระยะ 24 เดือนแรก "พังกันยา" จะต้องได้รับน้ำนมแม่ให้มากที่สุด
โดยปัจจุบันจะนำกันยาเข้ากินนมแม่ วันละประมาณ 35 ครั้ง สลับกับการกินอาหารเสริมสูตรเฉพาะผสมกับสมุนไพรที่ได้จากหมอช้างรุ่นโบราณ โดยน้ำหนักตัว "พังกันยา" ที่เพิ่มขึ้นประมาณวันละ 700 กรัม ถือว่าเป็นอัตราการเพิ่มที่ไม่น้อยแล้วก็ไม่มากเกินไป
"เราเกรงว่าถ้าน้ำหนักเพิ่มเร็ว น้ำหนักตัวที่เยอะ อาจกระทบกับสภาวะกระดูกไม่แข็งแรง เพราะเราไม่รู้เลยว่าเมื่อแรกเกิด พังกันยา ได้รับนมแม่มากน้อยแค่ไหน เราจึงอยากให้กันยาโตแบบที่กระดูกกับร่างกายมีความสัมพันธ์กัน"
อ่านข่าว : ศึกขัดแย้ง “คน-ช้างป่า” 12 ปียังไม่จบ ระยะทางอีกยาวไกล
สำหรับอนาคตของ "พังกันยา" หลังการดูแลครบตามแผน 24 เดือน ก็ขึ้นอยู่กับทางกรมอุทยานแห่งชาติฯ และ นักวิชาการ ที่จะหารือกัน ว่าจะนำ "พังกันยา" กลับไปเข้าโขลงช้างเดิมได้หรือไม่ แต่ในความเห็นส่วนตัว ก็มีความตั้งใจลึกๆ ว่า อยากจะดูแล "พังกันยา" จนโตเป็นช้างสาว และ อยู่เป็นช้างแม่รับต่อไป
อ่านข่าว : คืนสัญชาตญาณสัตว์ป่า “ทับเสลา” ช้างน้อยดอยผาเมือง
ทั้งนี้เชื่อว่าแทบทุกปี เราอาจต้องพบปัญหาลูกช้างพลัดหลงอยู่ ฉะนั้นจึงเตรียมเสนอภาครัฐร่วมก่อตั้งศูนย์บริบาลช้างพลัดหลง และ ให้ "พังกันยา" เป็นช้างต้นทุนประจำศูนย์บริบาลช้างพลัดหลงต่อไป
อ่านข่าวอื่นๆ :
"พะยูน" ตรัง ลดฮวบเหลือ 36 ตัว ส่อสูญพันธุ์ หลังหญ้าทะเลเสื่อมโทรม