ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"เศรษฐา" นายกฯ คนที่ 4 ของไทยขึ้นปกนิตยสารระดับโลก TIME

การเมือง
13 มี.ค. 67
13:32
4,516
Logo Thai PBS
"เศรษฐา" นายกฯ คนที่ 4 ของไทยขึ้นปกนิตยสารระดับโลก TIME
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เว็บไซต์นิตยสาร TIME ฉบับวันที่ 25 มี.ค.2567 เผยแพร่บทสัมภาษณ์ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมภาพปกเป็นรูปนายกฯ นิด กอดอก สวมสูทสีน้ำเงิน ผูกไทสีแดง

วันนี้ (13 มี.ค.2567) ชาร์ลี แคมป์เบลล์ เขียนบทสัมภาษณ์ระหว่างตัวเขากับนายกฯ ของประเทศไทยด้วยการเริ่มต้นสิ่งที่ทำให้ทีมงาน TIME ประหลาดใจคือ การยกเลิกข้อปฏิบัติห้ามบุคคลภายนอกขึ้นไปบริเวณชั้น 2 ของตึกไทยคู่ฟ้า ที่เป็นที่รู้กันมาอย่างยาวนานว่า น้อยคนนักที่จะได้รับอนุญาตขึ้นไป

ผมอยากบอกให้โลกรู้ว่าประเทศไทยกลับมาเปิดธุรกิจอีกครั้ง

คำบอกของอดีตเจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์วัย 62 ปี ผู้ซึ่งเพิ่งเข้ารับตำแหน่งผู้นำประเทศเมื่อเดือน ก.ย.ปีที่ผ่านมา เขาโชว์นโยบายที่เขียนบนกระดานไวท์บอร์ดให้ TIME ดู ไม่ว่าจะเป็น เงินดิจิทัล, ศูนย์กลางการบิน, เหมืองแร่โปแตซ, การเจรจากับ Tesla และการเจรจาธุรกิจกับต่างชาติอีกมากมาย เศรษฐาบอกว่า เพียงแค่เดือน พ.ย.2566 ที่ผ่านมา เพียงเดือนเดียว มีหลายบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยแล้วกว่า 8,300 ล้านดอลลาร์ ทั้งหมดมาจากเสน่ห์ในการขายของของ "เซลส์แมน" คนนี้

อ่าน : Thailand’s New Prime Minister Is Getting Down to Business. But Can He Heal His Nation?

The Salesman

ช่วง 2 ทศวรรษที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับความแตกแยกทางการเมือง เศรษฐกิจที่ซบเซา GDP เฉลี่ยในประเทศต่ำกว่าร้อยละ 2 ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐา มองว่าที่คือ "วิกฤตทางเศรษฐกิจ" ที่ต้องรับมือ เขาวางแผนลดภาษีน้ำมัน พักหนี้เกษตรกร 3 ปี ยกเว้นวีซาจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ รวมถึงทำให้ไทยเป็นเหมือน "สะพาน" และ "พื้นที่ปลอดภัย" ระหว่างจีนและสหรัฐฯ 

แม้ผู้นำของไทยคนปัจจุบันจะกล่าวว่า เขาอยากเห็นประเทศไทยเปล่งประกาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า หนทางข้างหน้ายังดูมืดมน เพราะการก้าวสู่ตำแหน่งที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เมื่อ "เพื่อไทย" ได้คะแนนนิยมเป็นอันดับ 2 และต้องยอมรวมกลุ่มพันธมิตรกับอีก 10 พรรคการเมือง และเสียงสนับสนุนจาก สว. แต่ผู้นำประเทศไทยที่มีเครื่องหมายการค้าของตัวเองเป็นถุงเท้าอันสีฉูดฉาด ก็บอกว่า 

ความกดดันไม่ได้เกิดจากการเป็นรองแชมป์ แต่เป็นความพยายามที่จะแก้ปัญหาความยากจนของคนไทย นั่นคือความกดดันที่ผมต้องเจอทุกวัน

นักเดินทาง

หลังเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไม่ถึง 1 เดือน เศรษฐาต้องรับมือกับโจทย์ใหญ่ เหตุการณ์กลุ่มฮามาสโจมตีอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา และหลังจากนั้น การเดินทางต่างประเทศก็ดูจะเป็นงานหลักของนายกฯ เศรษฐา ไปเสียแล้ว เขาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าจุดมุ่งเน้นของเขาอยู่ที่การลงทุนจากต่างประเทศ การค้า การพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ เขาไปพบกับ ปธน.จีน สี จิ้นผิง เพื่อชักชวนการลงทุน คุยกันเรื่องการสร้างแลนด์บริดจ์มูลค่าล้านล้านบาท การยกเว้นวีซาเข้าประเทศให้นักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย 90 วัน ซึ่งมากกว่าที่ชาวอเมริกันสามารถทำได้ถึง 3 เท่า

ในขณะที่เศรษฐาเดินทางไปทั่วโลก และชักชวนให้คนมาเที่ยว ลงทุน ในเมืองไทย แต่ก็เป็นที่รู้กันดีว่า ประเทศไทยถูกผูกขาดด้วยบริษัทใหญ่ไม่กี่บริษัท มีบริษัทต่างชาติหลายบริษัทต้องการมาลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคม การค้าปลีก เครื่องดื่ม 

แต่ทุกคนรู้ดีว่าธุรกิจเหล่านั้นถูกครอบครองด้วยบริษัทในไทยไปก่อนแล้ว 

มุมมองจาก ดันแคน แมคคาร์โกศาสตราจารย์และผู้เชี่ยวชาญประเทศไทยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ในสิงคโปร์  นอกจากนี้ มันดูย้อนแย้งกันเมื่อ "เพื่อไทย" เคยประกาศไว้ว่าจะลดอำนาจการผูกขาดของกลุ่มบริษัทใหญ่ แต่เพียง 1 สัปดาห์หลังขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดทางการเมือง ก็ปรากฏภาพการกินอาหารค่ำร่วมกันของเศรษฐาและเจ้าของธุรกิจรายใหญ่ของประเทศไทย 

จาก CEO บริษัทสู่ CEO ของประเทศ ย่อมมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกจำนวนมาก เฉกเช่นเดียวกับในห้องประชุม ที่อำนาจไม่เคยถูกแบ่งให้เท่าๆ กัน 

เศรษฐากล่าวปิดท้าย 

อดีตผู้นำไทยขึ้นปกนิตยสาร TIME

นายเศรษฐา ทวีสิน นับเป็นผู้นำประเทศไทยคนล่าสุดที่ขึ้นปกนิตยสาร TIME นิตยสารข่าวที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1923 นับถึงปัจจุบันมีอายุถึง 101 ปี นับเป็นนิตยสารที่มีอายุยืนยาวมากที่สุดชื่อหนึ่ง มีเอกลักษณ์ในการเล่าเรื่องด้วยรูปเป็นสิ่งสำคัญด้วยคอนเซปต์ "Strong Impact with Deep Caption" เป็นคำที่ใช้อธิบายรูปหน้าปกของนิตยสารไทม์ได้ดี

6 ปีก่อน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นปกนิตยสาร TIME ปักษ์แรกฉบับเดือน ก.ค.2561 กับบทวิเคราะห์เรื่อง "ผู้นำไทยให้คำมั่นว่าจะคืนประชาธิปไตย แต่กลับยิ่งกระชับอำนาจ" โดย "ชาร์ลี แคมป์เบล" เนื้อหาบอกเล่าถึงสถานการณ์การเมืองไทย พร้อมเปรียบเทียบเหตุการณ์ยึดอำนาจในอดีตกับปัจจุบัน จากคำบอกเล่าของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่า 4 ปีที่ผ่านมา ไม่ใช่ 4 ปีของการแสวงหาอำนาจ แต่เป็นเวลาของการแก้ปัญหา สร้างเสถียรภาพและอนาคต

นายชวน หลีกภัย เป็นอดีตนายกฯ ของไทยอีกคนหนึ่งที่ได้ขึ้นปก TIME ฉบับวันที่ 30 มี.ค.2541 กับการพาดหัว Thailand's comeback kid  ส่วน นายทักษิณ ชินวัตร ถือเป็นอดีตผู้นำของไทย ที่ได้ขึ้นปกนิตยสาร TIME มากที่สุดถึง 3 ครั้ง 

อ่านข่าวอื่น :

 "ชัยธวัช" พร้อมสู้คดียุบพรรคก้าวไกล ปัดตอบพรรคสำรอง

พณ.เล็งสร้างศูนย์ระบายข้าวที่"เซินเจิ้น" ฮ่องกงสั่งข้าวไทย 1.8 แสนตัน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง