ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

1 ปี "วัคซีนคุมกำเนิดช้าง" ไปไม่ถึงฝัน ติดขั้นตอนอนุญาตนำเข้า

สิ่งแวดล้อม
13 มี.ค. 67
11:43
768
Logo Thai PBS
1 ปี "วัคซีนคุมกำเนิดช้าง" ไปไม่ถึงฝัน ติดขั้นตอนอนุญาตนำเข้า
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
วัคซีนคุมกำเนิด ยังไม่ถึง “ช้าง” ติดหล่มขั้นตอนขออนุญาตนำเข้าจาก อย.-กรมปศุสัตว์ สวนทางประชากรเพิ่ม 8% ต่อปี กรมอุทยานฯ เปิดแผนย้ายช้าง "ตัวผู้" ออกจากป่าตะวันออก ตัดวงจรเกิด

วันนี้ (13 มี.ค.2567) นายวีระ ขุนไชยรักษ์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสตัว์ป่าและพันธุ์พืช ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ ว่า จากการสำรวจตัวเลขประชากรช้างป่า 4,013-4,422 ตัวใน 16 กลุ่มป่าอนุรักษ์ และคิดเป็นอัตราเกิดมากถึง 8% ต่อปีมากสุดในผืนป่าตะวันออกเกือบ 600 ตัว

ทำให้พบปัญหาช้างออกนอกพื้นที่บ่อยขึ้น และเกิดความขัดแย้งของคนกับช้างป่า ที่ผ่านมาแม้จะมีความพยายามในการแก้ปัญหาให้คนอยู่ร่วมกับช้างได้ แต่จากการขยายพื้นที่เกษตรจนพื้นที่ป่าอนุรักษ์ลดลง 

รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ กล่าวว่า หนึ่งในแนวทางที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงเพื่อควบคุมประชากรช้างไทยคือการนำเข้า "วัคซีนคุมกำเนิดช้าง" ซึ่งมีการพูดคุยกันมาแล้วประมาณ 1 ปี แต่ยังอยู่ในกระบวนการนำเข้าวัคซีน 

นอกจากนี้ยังมีแผนเฉลี่ยกระจายช้างป่าในพื้นที่หนาแน่น เช่น ป่าตะวันออก โดยมีแนวคิดที่จะแยกช้างตัวผู้ออกไปในผืนป่าอื่นๆ เพื่อเฉลี่ยให้เต็มขีดความสามารถ แต่ยอมรับว่าการจัดการอย่างไรช้างก็ยังล้นป่า ดังนั้นต้องเร่งควบคุมให้ได้

ถ้าควบคุมประชากรไม่ได้ การแก้ปัญหาช้างจะไม่ยุติ เรื่องนี้ต้องระดมนักวิชาการเข้ามาทั้งแนวคิดการคุมกำเนิดช้าง แม้แต่อาหารที่ช้างกิน แต่ยังอยู่ในกระบวนการ 

"วัคซีนคุมกำเนิดช้าง" ยังติดขั้นตอนนำเข้า

ด้าน รศ.น.สพ.ดร.ฉัตรโชติ ทิตาราม คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าโครงการวิจัยช้าง เปิดเผยว่า ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาหลังกรมอุทยานฯ มีแผนนำยาควบคุมฮอร์โมนช้าง จากประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อวัคซีน Spyvax ที่มีการใช้แล้วในประเทศแถบแอฟริกา ราคาเข็มละประมาณ 10,000 บาท เพื่อนำมาทดลองคุมกำเนิดช้างไทย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของช้างเอเชีย 

รศ.น.สพ.ดร.ฉัตรโชติ กล่าวอีกว่า แต่หลังจากเริ่มสั่งวัคซีนนำร่อง 10 โดสเข้ามา ยอมรับว่าจนถึงตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมปศุสัตว์ ซึ่งได้บอกปัญหานี้ไปกับทางกรมอุทยานฯ แล้วเพื่อหาทางออกในการปลดล็อกขั้นตอนนี้ 

ตามแผนจะทดลองวัคซีนคุมฮอร์โมนช้างตัวเมีย 5 เชือกในปางช้างพื้นที่เชียงใหม่ เชียงราย มีการคัดเลือกช้างอายุ 20 ปีไว้แล้ว แต่พอมาติดขั้นตอนการนำเข้าวัคซีนทำให้แผนต้องเลื่อนออกไป
รศ.น.สพ.ดร.ฉัตรโชติ ทิตาราม คณะสัตวแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รศ.น.สพ.ดร.ฉัตรโชติ ทิตาราม คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รศ.น.สพ.ดร.ฉัตรโชติ ทิตาราม คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รศ.น.สพ.ดร.ฉัตรโชติ กล่าวอีกว่า สำหรับวัคซีนคุมกำเนิดช้าง มีการใช้งานจริงในช้างแอฟริกามาแล้ว โดยวัคซีน 1 เข็มจะควบคุมได้ระยะยาว 7 ปี และวัคซีนไม่มีผลต่อพฤติกรรมและสรีระของช้าง เพียงแค่คุมฮอร์โมนไม่ให้มีลูก อย่างไรก็ตาม วัคซีนก็คือวัคซีน การผลิตออกมาทางวิชาการไม่ใช่ว่าจะคุมประสิทธิภาพได้ 100%

แต่พบว่าเขาเคยใช้วัคซีนตัวนี้กับช้างแอฟริกา ในประเทศแอฟริกาใต้ รวมทั้งในม้าป่า กวางป่าและลิงป่า แต่ยังไม่เคยทดสอบช้างเอเชีย ซึ่งอาจมีสรีระไม่เหมือนกัน 

อ่านข่าว ปลอกคอจีพีเอส "ช้างป่า" ติดนาน 6 ปี "ไม่มีอะไร เร็วเท่าใจคน"

เมื่อถามว่าข้อเสนอในการควบคุมช้างล้นป่า รศ.น.สพ.ดร.ฉัตรโชติ กล่าวว่า การแก้ปัญหาช้างป่าต้องวางแผนระยะยาว เพราะถึงแม้จะมีการใช้วัคซีนคุมอัตราการเกิดลูกลดลง เช่น จากปีละ 20-30 ตัวอาจเหลือแค่ 10 ตัวต่อปี แต่ไม่ได้ทำให้ประชากรช้างลดลงในระยะเวลาสั้นๆ นอกจากนี้เห็นว่ามาตรการป้องกันช้างออกนอกพื้นที่ ต้องลดการบุกรุกในพื้นที่ป่าและลดการปลูกพืชเกษตรที่เป็นอาหารช้าง

ด้าน น.สพ.ดร.บริพัฒน์ ศิริอรุณรัตน์ หัวหน้าโครงการวิจัยช้าง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า แนวคิดในการคุมกำเนิดช้างป่าประสบความสำเร็จแล้วที่สวนสัตว์ IZW ของประเทศเยอรมนี โดยเป็นการทำหมันช้างป่าแอฟริกาตัวผู้ เพื่อตัดท่อนำอสุจิในลูกอัณฑะของช้าง 

อ่านข่าวอื่นๆ

"พะยูน" ตรัง ลดฮวบเหลือ 36 ตัว ส่อสูญพันธุ์ หลังหญ้าทะเลเสื่อมโทรม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง