ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"พะยูน" ตรัง ลดฮวบเหลือ 36 ตัว ส่อสูญพันธุ์ หลังหญ้าทะเลเสื่อมโทรม

สิ่งแวดล้อม
13 มี.ค. 67
08:53
3,147
Logo Thai PBS
"พะยูน" ตรัง ลดฮวบเหลือ 36 ตัว ส่อสูญพันธุ์ หลังหญ้าทะเลเสื่อมโทรม
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
วิกฤตหญ้าทะเลตรัง เสื่อมโทรมตายลงเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อแหล่งอาหารของพะยูนฝูงสุดท้ายของประเทศไทย รวมทั้งสัตว์ทะเลหายากอื่นๆ ขณะที่ ศวอล.บินสำรวจบริเวณพื้นที่ จ.ตรัง พบพะยูน 36 ตัว เป็นคู่แม่-ลูก 1 คู่ ลดลงจากปีที่แล้วที่พบพะยูนไม่น้อยกว่า 180 ตัว

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง (ศวอล.) ออกปฏิบัติงานสำรวจการแพร่กระจายสัตว์ทะเลหายาก บริเวณพื้นที่ จ.ตรัง โดยวิธีการบินสำรวจ (Aerial Survey) โดยใช้เครื่องบินปีกตรึง 2 ที่นั่ง สำรวจแบบ Line transect และ Hot spot และวิธีการสำรวจทางเรือ ณ บริเวณเกาะลิบง เกาะมุกด์และบริเวณแนวหญ้าทะเลใกล้เคียง ในวันที่ 5-11 มีนาคม พ.ศ. 2567

ผลการสำรวจโดยประมาณในเบื้องต้นพบพะยูน 36 ตัว เป็นพะยูนคู่แม่-ลูก จำนวน 1 คู่ , โลมาหลังโหนก 6 ตัว เป็นโลมาคู่แม่-ลูก 2 คู่ และเต่าทะเล 38 ตัว ผลการตรวจสุขภาพประเมินสุขภาพจากการสังเกตด้วยสายตา พบว่าพะยูนแสดงพฤติกรรมว่ายน้ำหาอาหารบนแนวหญ้าทะเล

นอกจากนี้ยังพบพะยูนคู่แม่-ลูก ซึ่งแสดงถึงความสมบูรณ์เพศของตัวสัตว์ โดยโลมาหลังโหนกพบว่าสุขภาพโดยรวมสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีบาดแผลหรือร่องรอยที่เกิดจากการถูกเครื่องมือประมงหรือขยะทะเลพันรัด รวมถึงเต่าทะเล สุขภาพโดยรวมไม่พบพฤติกรรมที่แสดงความผิดปกติ

facebook : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

facebook : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

facebook : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ทั้งนี้จากการสำรวจในปี 2566 พบพะยูนในพื้นที่มีจำนวนไม่น้อยกว่า 180 ตัว เป็นคู่แม่-ลูก 12 คู่ โลมาหลังโหนก 19 ตัว และเต่าทะเล 174 ตัว โดยปีนี้ประชากรลดลง ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้

ล่าสุดวันนี้ (13 มี.ค.) นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมทีมนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลกรม ทช. จะลงพื้นที่ จ.ตรัง เพื่อสำรวจสถานการณ์ตลอดจนสาเหตุของหญ้าทะเลเสื่อมโทรม ตลอดจนจำนวนพะยูนและสัตว์ทะเลหายากที่ลดจำนวนลง

อ่านข่าว : ต้นตอวิกฤต "หญ้าทะเล" จ.ตรัง ระบบนิเวศเปลี่ยน หรือ มือมนุษย์

facebook : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

facebook : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

facebook : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

กระบี่พบพะยูน 31 ตัว เต่าทะเล 26 ตัว

ขณะที่สำรวจการแพร่กระจายสัตว์ทะเลหายาก บริเวณพื้นที่ จ.กระบี่ พบพะยูน 31 ตัว เป็นพะยูนคู่แม่-ลูก จำนวน 2 คู่ และเต่าทะเล 26 ตัว ผลการตรวจสุขภาพประเมินสุขภาพจากการสังเกตด้วยสายตา พบว่าพะยูนแสดงพฤติกรรมว่ายน้ำหาอาหารบนแนวหญ้าทะเล นอกจากนี้ยังพบพะยูนคู่แม่-ลูก ซึ่งแสดงถึงความสมบูรณ์เพศของตัวสัตว์ รวมถึงเต่าทะเล สุขภาพโดยรวมไม่พบพฤติกรรมที่แสดงความผิดปกติ

ทั้งนี้ในปี 2566 ผลการสำรวจโดยประมาณในเบื้องต้นพบพะยูน 22 ตัว เป็นพะยูนคู่แม่-ลูก จำนวน 3 คู่ และเต่าทะเล 74 ตัว

อ่านข่าว : สถิติ "หญ้าทะเล" ตรัง เสื่อมโทรม เปิด 2 สาเหตุทำลดฮวบ 1 หมื่นไร่ 

เรียกร้องเร่งแก้วิกฤตพะยูน-หญ้าทะเล

นายภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิอันดามัน จังหวัดตรัง 1 ในคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาการเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเลในบริเวณจังหวัดตรังและจังหวัดกระบี่ เรียกร้องให้ รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เร่งแก้ปัญหา วิกฤตพะยูนตรัง หลังพบพะยูนทยอยตายมากขึ้น รวมไปถึงวิกฤตหญ้าทะเลที่ตายเป็นจำนวนมาก โดยเห็นว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพียงกรมเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาได้
จากกรณีวิกฤตหญ้าทะเล จ.ตรัง เสื่อมโทรมตายลงเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อแหล่งอาหารของพะยูนฝูงสุดท้ายของประเทศไทย รวมทั้งสัตว์ทะเลหายากอื่นๆ

ภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิอันดามัน

ภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิอันดามัน

ภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิอันดามัน

ต่อมากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแหล่งหญ้าทะเลเสื่อมโทรม ระดมทีมนักวิทยาศาสตร์ ระดับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านของประเทศลงพื้นที่สำรวจหาสาเหตุระบุว่าเกิดจากภาวะโลกร้อน ทำให้ระดับน้ำทะเลลดต่ำลงมากขึ้นและนานกว่าปกติ ทำให้หญ้าผึ่งแดดนานขึ้น

ซึ่งการเกยตื้นตายของพะยูนตัวล่าสุด มีสภาพผอม มีเพรียงเกาะตามลำตัวจำนวนมาก แสดงอาการชัดเจนว่าป่วยและขาดอาหาร สืบเนื่องจากปัญหาหญ้าทะเลตายกว่า 30,000 ไร่ เป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้อาหารพะยูนขาดแคลน โดย 3-4 ปีมาแล้ว เพราะมีการพบพะยูนเกยตื้นตายจำนวนมาก ส่วนใหญ่เกิดจากอาการป่วย และสาเหตุหลักเกิดจากภาวะการขาดแคลนอาหารที่มาจากความไม่สมดุลทางระบบนิเวศ

เรื่องนี้ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควรจะมีข้อสั่งการ และต้องเร่งกู้วิกฤตในครั้งนี้โดยเร็ว เพราะต้องอาศัยทั้งคน ความรู้ งบประมาณ และต้องการความเร็วในการทำงาน หากมัวแต่หาสาเหตุเพียงเรื่องเดียว พะยูนคงตายหมด ควรทำด้านการฟื้นฟูควบคู่กันไปด้วย

ตะกอนทรายทับถมแหล่งหญ้าทะเล

ขณะที่ชาวบ้านชายฝั่งในพื้นที่รวมทั้งเครือข่ายอนุรักษ์ ระบุอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ เริ่มต้นจากการทับถมของตะกอนทรายจากการขุดลอกร่องน้ำกันตัง โดยกรมเจ้าท่าเพื่อการเดินเรือที่ตะกอนดินเข้ามาทับถมแหล่งหญ้าทะเลในบริเวณเกาะลิบง และขณะนี้แม้จะหยุดขุดไปแล้ว แต่ผลกระทบยังคงมีมาต่อเนื่อง

ซึ่งถือว่าขณะนี้สถานการณ์หญ้าทะเลอยู่ในขั้นวิกฤต ส่งผลให้พะยูนเสี่ยงสูญพันธุ์ หรือย้ายถิ่นฐานออกนอกพื้นที่เขตอนุรักษ์ และเพิ่มปัจจัยเสี่ยงการตายจากอุบัติเหตุ และภัยคุกคามอื่นๆ ได้

อ่านข่าวอื่นๆ :

ศึกขัดแย้ง “คน-ช้างป่า” 12 ปียังไม่จบ ระยะทางอีกยาวไกล

คืนสัญชาตญาณสัตว์ป่า “ทับเสลา” ช้างน้อยดอยผาเมือง

FC "แม่มะลิ" ฮิปโปอายุยืน 58 ปียังแข็งแรง-หลบแช่น้ำทั้งวัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง