ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ฝนทิ้งช่วง "สิริกิติ์" วิกฤตเหลือน้ำในเขื่อนใช้ได้แค่ 29%

สิ่งแวดล้อม
8 มี.ค. 67
15:51
491
Logo Thai PBS
ฝนทิ้งช่วง "สิริกิติ์" วิกฤตเหลือน้ำในเขื่อนใช้ได้แค่ 29%
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ฝนทิ้งช่วง "สิริกิติ์" วิกฤตเหลือน้ำในเขื่อนใช้ได้แค่ 29% ส่วนอีก 3 แห่ง เขื่อนจุฬาภรณ์ คลองสียัด และกระเสียว ปริมาณน้ำปี 2567 ส่อแววไม่พอใช้ในช่วงหน้าแล้ง

เข้าสู่ฤดูร้อนมาเต็มรูปแบบตั้งแต่ปลายเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ผ่านมาเพียง 2 สัปดาห์แรกของเดือน มี.ค.นี้ พบอากาศร้อนอบอ้าว และหลายพื้นที่เริ่มประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ

ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า จากการคาดการณ์ปริมาณฝน ปริมาณฝนมาตรฐานที่ผิดปกติ และค่าดัชนีความแห้งแล้ง เนื่องจากฝนที่ต่างจากค่าปกติตั้งแต่ช่วงเดือน มี.ค.-พ.ค.ถึงช่วงเดือน ส.ค.-ต.ค.2567

พบว่าจะเกิดความแห้งแล้ง ระดับปานกลางขึ้นบริเวณด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านตะวันตกของภาคเหนือ และภาคกลาง และบริเวณตอนบนของภาคใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงเดือนมิ.ย.-ส.ค.

อ่านข่าว อ่วม! "ฝุ่นเชียงใหม่" สีแดงเกินเกณฑ์ 4 เท่า 3 วันติดแจกแมสก์

ภาพรวมปริมาณน้ำน้อยกว่าปี 66 คิดเป็น 48% 

ขณะที่ศูนย์ข้อมูลน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวมปริมาณน้ำรวม 66% ของความจุน้ำเก็บกัก 46,516 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำใช้การได้ 22,978 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 48% น้อยกว่าปี 2566 จำนวน 2,267 ล้าน ลบ.ม.ซึ่งมีตัวเลขปริมาณน้ำเก็บกัก 48,782 ล้านลบ.ม. ปริมาณน้ำใช้การได้ 25,245 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 53% จากการประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่ง ดังนี้ 

  • ภาคเหนือ เขื่อนสิริกิติ์ ปริมาณน้ำใช้การได้ 1,909 ล้าน ลบ.ม.หรือ 29%
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนจุฬาภรณ์ ปริมาณน้ำใช้การได้ 41 ล้านลบ.ม.33%
  • ภาคตะวันออก คลองสียัด ปริมาณน้ำใช้การได้ 30 ล้าน ลบ.ม. 8%
  • ภาคกลาง กระเสียว (ต้องเฝ้าระวังในช่วงฤดูแล้ง) ปริมาณน้ำใช้การได้ 34 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 13%

อ่านข่าว จระเข้น้อย NEW GEN คืนถิ่น"บึงบอระเพ็ด" ในรอบ 7 ปี

ทั้งนี้ภาพรวมปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลาง สามารถรับน้ำได้อีก 26,518 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 35 %

แต่เมื่อจำแนก นอกจากนี้ในส่วนของปริมาณน้ำ 4 เขื่อนหลักเจ้าพระยา มีดังนี้

  • เขื่อนภูมิพล ปริมาณน้ำเก็บกัก 8,117 ล้านลบ.ม.หรือ 60% น้ำใช้การได้ 4,317 ล้านลบ.ม.หรือ 45%
  • เขื่อนสิริกิติ์ ปริมาณน้ำเก็บกัก 4,759 ล้านลบ.ม.หรือ 50% น้ำใช้การได้ 1,909 ล้านลบ.ม.หรือ 29%
  • เขื่อนแควน้อย ปริมาณน้ำเก็บกัก 515 ล้านลบ.ม.หรือ 55% น้ำใช้การได้ 472 ล้านลบ.ม.หรือ 53%
  • เขื่อนป่าสักก์ชลสิทธิ์ ปริมาณน้ำเก็บกัก 386 ล้านลบ.ม.หรือ 40% น้ำใช้การได้ 383 ล้านลบ.ม.หรือ 40%

สนทช.ชงแผนรับมือฝนเข้าบอร์ดน้ำ 27 มี.ค.

โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ระบุว่าจากการประชุมสถานการณ์น้ำสภาวะเอลนีโญ มีแนวโน้มเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงฤดูฝนนี้ ส่งผลให้มีปริมาณฝนค่อนข้างมาก ซึ่งขณะนี้ สทนช.ได้เตรียมพร้อมร่างมาตรการรับมือฤดูฝนปี 2567 และจะเสนอต่อคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ในวันที่ 27 มี.ค.

สำหรับสถานการณ์แหล่งน้ำทั่วประเทศ สทนช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคุมการจัดสรรน้ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยาอย่างใกล้ชิด ในส่วนของสถานการณ์ลุ่มน้ำแม่กลอง ขณะนี้มีผลการจัดสรรน้ำใกล้เคียงกับแผนที่วางไว้และมีปริมาณน้ำเพียงพอ

สำหรับสถานการณ์ความเค็มในแม่น้ำสายหลัก สามารถควบคุมค่าความเค็มได้ตามแผนที่วางไว้ แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเค็มรุกล้ำในช่วงวันที่ 7–13 มี.ค.นี้

อ่านข่าวอื่นๆ

จับตา "ไข้นกแก้ว" ติดจากนกสู่คนพบระบาดในยุโรป ยังไม่พบในไทย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง