ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จระเข้น้อย NEW GEN คืนถิ่น"บึงบอระเพ็ด" ในรอบ 7 ปี

สิ่งแวดล้อม
8 มี.ค. 67
12:54
2,220
Logo Thai PBS
จระเข้น้อย  NEW GEN คืนถิ่น"บึงบอระเพ็ด" ในรอบ 7 ปี
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ลูกจระเข้" สายพันธุ์บึงบอระเพ็ดเกิดใหม่ หลังเฝ้ารอมานานกว่า 7 ปี เขตห้ามล่าฯ วางแผนติดตามอัตราการรอด-ปรับตัวในสภาพธรรมชาติ ชี้ไม่สูญพันธุ์ ขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวอย่าปาหินใส่-ให้อาหาร หวั่นทำพฤติกรรมก้าวร้าว

ภาพจระเข้ขนาดความยาวเกือบ 2 เมตรกำลังเดินข้ามถนน ซึ่งกลายเป็นไวรัลในโลกออนไลน์ สร้างความฮือฮาอีกรอบ หลังกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ระบุว่า พบลูกจระเข้น้ำจืดในบึงบอระเพ็ดแล้ว 35 ตัว

จระเข้ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ภาพ : เอกศักดิ์ คุ้มทรัพย์

จระเข้ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ภาพ : เอกศักดิ์ คุ้มทรัพย์

จระเข้ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ภาพ : เอกศักดิ์ คุ้มทรัพย์

แต่ที่จุดประกายในวงการอนุรักษ์มากที่สุดคงหนีไม่พ้นภาพของลูกจระเข้น้อยตัวยาวขนาด 50 ซม.มีแม่ตัวใหญ่คอยเฝ้าดูแลไม่ห่าง สอดคล้องกับข้อมูลในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ซึ่งพบสัญญาณบวกของระบบนิเวศน์ในบึงบอระเพ็ด มีความอุดมสมบูรณ์ถึงขีดสุด จากการพบลูกจระเข้เกิดใหม่ในรอบ 7 ปี 

เปิดโฉมลูกจระเข้ DNA สายพันธุ์"บึงบอระเพ็ด" 

นายจิระเดช บุญมาก หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์บึงบอระเพ็ด กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช บอกว่า จากการเก็บข้อมูล พบจระเข้น้ำจืดที่อาศัยอยู่ประมาณ 35 ตัว โดยพบการอาศัยอยู่ทั้งหมด 2 จุด จุดที่ 1 บริเวณปากคลองบอระเพ็ด ประมาณ 20-25 ตัว และจุดที่ 2 อาศัยอยู่ที่บริเวณของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ประมาณ 10-15 ตัว

จระเข้น้ำจืดที่อาศัยอยู่ในฝั่งของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด พบว่า มีการวางไข่ฟักตัวของจระเข้ จำนวน 2 คอก โดยครอกแรกมีลูกจระเข้ จำนวน 5 ตัว ครอกที่ 2 มีลูกจระเข้จำนวน 3 ตัว ซึ่งถือเป็นข่าวดีในในรอบ 7 ปีที่มีลูกจระเข้เกิดใหม่ถึง 8 ตัว    

นายจิระเดช บุญมาก หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์

นายจิระเดช บุญมาก หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์

นายจิระเดช บุญมาก หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์

จากการเก็บข้อมูลจระเข้น้ำจืดในบึงบอระเพ็ดในช่วงก่อนหน้านี้ พบว่า ในสภาพธรรมชาติมีจระเข้ประมาณ 25-35 ตัว และในช่วง 7 ปี พบว่า มีการวางไข่ตลอดทุกปี และได้เฝ้าระวังมาตลอด แต่ก็ไม่พบการฟักออกเป็นตัว รวมถึงเคยนำไข่ไปฟักในห้องฟักแต่ก็ไม่เป็นตัว

ปีนี้เป็นปีแรกพบจระเข้ ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดมีการฟักไข่ 2 ครอก ครอกแรก 5 ตัว ครอก 2 จำนวน 3 ตัว รวม 8 ตัว

ก่อนหน้านี้นักวิชาการ และประชาชนที่บอกว่า บึงบอระเพ็ดจระเข้น่าอาจจะสูญพันธุ์แล้ว กระทั่งนับจากวันที่เข้ามาเก็บข้อมูลเมื่อ 7 ปีก่อน แม้จะยังตอบไม่ได้ว่าจระเข้ที่อาศัยอยู่ในบึงบอระเพ็ดมีที่มาจากที่ใด เนื่องจากไม่มีข้อมูล แต่ยืนยันว่าเป็นจระเข้ที่อาศัยในบึงบอระเพ็ด

ยืนยันว่าปีนี้เป็นปีแรกในรอบ 7 ปี ที่พบลูกจระเข้ ที่มาจากการผสมพันธุ์กันในพื้นที่ธรรมชาติ จนได้ลูกจระเข้ในบึงบอระเพ็ด และเรียกได้ว่าเป็น DNA สายพันธุ์บึงบอระเพ็ด

นายจิระเดช บอกว่า  สิ่งที่จะทำต่อจากนี้ไป คือการติดตาม ความเป็นมาเป็นไปและต่อไปจะเป็นอย่างไร ไม่เชื่อว่า มีไข่เพียง 5 ฟอง แต่ไข่ที่รอดมาได้ สามารถปรับตัวเข้ากับธรรมชาติได้ นอกจากนี้ไม่อยากให้มีการเพาะพันธุ์จระเข้จากที่อื่นแล้วนำมาปล่อยที่นี่ หรือนำจระเข้จากที่อื่นมาปล่อย 

สิ่งที่กำลังติดตามคือจระเข้ 8 ตัวจะใช้ชีวิตอย่างไร เป็นสิ่งที่เห็นว่าพื้นที่เขตห้ามล่าบึงบอระเพ็ด มีความอุดมสมบูรณ์ ปลอดภัย ทำให้สัตว์เหล่านี้เพาะขยายพันธุ์ออกมาได้ 

เฝ้าระวัง-เตรียม 100 ไร่ดูแล "จระเข้"

หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบอระเพ็ด บอกอีกว่า บึงบอระเพ็ด เป็นถิ่นที่อยู่ของจระเข้ จุดใดที่เป็นพื้นที่วางไข่ ก็จะขอความร่วมมือกับประชาชนงดเว้นการใช้เส้นทางสัญจร ซึ่งประชาชนก็ให้ความร่วมมือ

คนรอบบึงก็เหมือนกับว่าเป็นเจ้าของบึงบอระเพ็ดและต้องช่วยกันรักษาจระเข้ ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง บึงบอระเพ็ดมานาน ตั้งแต่อดีตที่เมื่อนั่งรถไฟสายเหนือขึ้นไป จ.เชียงใหม่ ก็จะพบจระเข้นอนตากแดดให้เห็นริมแม่น้ำน่าน หรือบึงบอระเพ็ด

จระเข้ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ภาพ : เอกศักดิ์ คุ้มทรัพย์

จระเข้ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ภาพ : เอกศักดิ์ คุ้มทรัพย์

จระเข้ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ภาพ : เอกศักดิ์ คุ้มทรัพย์

ขณะที่ยังต้องการสื่อให้ประชาชนเข้าใจว่า จระเข้ในฟาร์ม ต่างจากจระเข้ในธรรมชาติ ซึ่งไม่ต้องการให้นักท่องเที่ยว หรือประชาชนนำอาหารมาให้ต้องการให้จระเข้หากินตามธรรมชาติว่าจะสามารถต่อสู้ในธรรมชาติ และสามารถอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำเหล่านี้ได้

ขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวอย่านำอาหารมาให้ เพราะอาหารจระเข้ในธรรมชาตินั้นมีอยู่อย่างเพียงพอ

ขอความร่วมมืองดให้อาหาร-ห้ามปาหินใส่จระเข้

นอกจากนี้ สิ่งที่น่ากังวล คือ พฤติกรรมก้าวร้าว โดยธรรมชาติของสัตว์สามารถหาอาหารได้เอง การให้อาหารจระเข้ เมื่อไม่ได้นำมาให้เมื่อถึงเวลาแล้วไม่ได้ก็จะเป็นอันตราย และทำให้สัตว์ไม่ใช่สัตว์ในระบบนิเวศของบึง ขอให้ทุกคนพยา ยามให้ความร่วมมือ 8 ตัวนี้ น่าจะเป็นจระเข้กลุ่มใหม่ของสายพันธุ์บึงบอระเพ็ด รวมถึงขอความกรุณาอย่านำก้อนหิน หรือดินไปขว้างใส่จระเข้ และเก็บขยะที่นำมาไปทิ้งให้ถูกที่

ภาพ : เขตห้ามล่าสัตว์บึงบอระเพ็ด กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ : เขตห้ามล่าสัตว์บึงบอระเพ็ด กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ : เขตห้ามล่าสัตว์บึงบอระเพ็ด กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

เราจะทำบึงให้เป็นบึง ไม่ทำบึงให้เป็นบ่อ พื้นที่บึงบอระเพ็ดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ช่วงหลังตั้งแต่ปี 2560 การจะขุดต้องมีการศึกษาผลกระทบให้กระทบต่อพื้นที่ชุ่มน้ำให้น้อยที่สุดและในช่วง 1-2 ปี งบประมาณในการขุดมีการวางแผนสร้างให้เป็นพื้นที่จระเข้โดยเฉพาะ คือ พื้นที่บ้านแหลมทอง ที่จะทำคันดิน 

ภาพ : เขตห้ามล่าสัตว์บึงบอระเพ็ด กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ : เขตห้ามล่าสัตว์บึงบอระเพ็ด กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ : เขตห้ามล่าสัตว์บึงบอระเพ็ด กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

กรณีน้ำแล้งก็ยังมีน้ำให้อาศัย และพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นป่าหญ้าให้จระเข้อาศัยวางไข่ได้ ส่วนปากคลองบอระเพ็ด ของกรมประมง ซึ่งไม่เพียงมีแค่จระเข้ ยังเป็นพื้นที่อาศัยของเต่า นกน้ำที่จะสามารถอาศัยในจุดนี้ได้ บนพื้นที่ราว 100 ไร่ ซึ่งเพียงพอในการดูแลสัตว์

ไม่ปฏิเสธการพัฒนา แต่ให้อิงไปกับพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้ การขุดลอกยังจำเป็นต้องมี เพราะหากไม่ขุดลอก น้ำในบึงก็จะแห้งขอดไป แผนขณะนี้มีการศึกษาว่าจะขุดแก้มลิงตรงไหน ขุดเพื่อรักษาระบบนิเวศขุดอย่างไร ก็มีการศึกษาค่อนข้างชัดเจน

ขณะที่การเก็บข้อมูลจระเข้ จะยังคงเก็บข้อมูลประชากร และพื้นที่ที่อยู่อาศัยต่อไป ซึ่งส่วนหนึ่งก็ต้องการติด GPS เพื่อติดตาม แต่หากยังไม่มีงบประมาณในการดำเนินงานก็ใช้การเฝ้าระวังของเจ้าหน้าที่ 

จระเข้เพิ่ม 3 เท่า มั่นใจไม่สูญพันธุ์

ด้านนายนิวัต อุณฑพันธุ์ ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ มองแนวโน้มของจระเข้บึงบอระเพ็ดว่า มีแนวโน้มค่อนข้างดีว่า หากเทียบจากข้อมูลในปี 2557 ที่พบ 9 ตัว ก็พบว่า ขณะนี้เพิ่มกว่า 3 เท่า ดังนั้นระยะเวลา 10 ปี ในกรณีของสัตว์ในธรรมชาติเพิ่มขึ้น 3 เท่า และยิ่งเป็นสัตว์ที่ไม่มีลูกมากอย่างจระเข้ถือว่าเหมาะสม

บึงบอระเพ็ดมีขนาดใหญ่กว่า 1.3 แสนไร่ เป็นที่อยู่ของสัตวนานาชนิด

บึงบอระเพ็ดมีขนาดใหญ่กว่า 1.3 แสนไร่ เป็นที่อยู่ของสัตวนานาชนิด

บึงบอระเพ็ดมีขนาดใหญ่กว่า 1.3 แสนไร่ เป็นที่อยู่ของสัตวนานาชนิด

รวมถึงการเพิ่มจำนวนในปริมาณที่ไม่มากเกินไปนักก็ถือเป็นเรื่องดี เพราะหากเพิ่มจำนวนเร็วมากเกินไปอาจจะน่ากังวลและอาจส่งผลกระทบได้ เช่น กรณีของช้างที่เพิ่มมากเกินไปทำให้ป่าไม่เพียงพอ และรบกวนชาวบ้านจนเกิดความขัดแย้งระหว่างคนและช้าง

ขณะนี้จระเข้บึงบอระเพ็ด ยังเพิ่มมีปริมาณได้มากกว่านี้ เพราะยังมีพื้นที่เพียงเฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำก็ราว 60,000 ไร่ เมื่อรวมส่วนอื่น ๆ ที่จระเข้อยู่ได้อีกก็ราว 70,000 - 80,000 ไร่ ซึ่งถือว่าเพียงพอ

การเจริญเติบโตของจระเข้ในธรรมชาติ มันมีจุดสมดุลอยู่แล้ว ถ้าเมื่อไหร่เข้าไปแทรกแซงมากเกินไปจะทำให้เสียสมดุล ซึ่งต้องสมดุลของธรรมชาติให้ไม่เกิดผลกระทบกับคน

นอกจากนี้ โครงการที่ช่วยกันทุกหน่วยงานในการปรับปรุงระบบนิเวศบึงบอระเพ็ด ระบบสังคมของคนกับสิ่งแวดล้อมที่ดีแบบนี้  เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบและทำให้จระเข้ในบึงบอระเพ็ดยังคงอยู่ได้ หากหรือไม่มีโครงการที่ส่งกระทบรุนแรงเช่น ขุดบึงบอระเพ็ดให้ใหญ่ขึ้น 

อ่านข่าว ร้อนฉ่า! กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนมี.ค.-เม.ย.ร้อนจัดเกิน 40 องศาฯ 

หวังอนาคต "จระเข้" บึงเติบโตได้เองตามธรรมชาติ   

ขณะที่ สัตวแพทย์หญิงพิมพ์ชนก สรงมงคล นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ ประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) กล่าวว่า การพบจระเข้ครั้งนี้ในรอบ 7 ปี ถือเป็นความสำเร็จ คือ การเกิดลูกขึ้นเองตามธรรมชาติเป็นความคาดหวังอยู่แล้วที่จะเห็น เพราะถ้ามีจระเข้อยู่ได้ในธรรมชาติ และหากมีจระเข้น้ำจืดก็มีโอกาสที่จะผสมพันธุ์ ประกอบกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัยและทำความเข้าใจกับชาวบ้านทำให้จระเข้มีที่อยู่อาศัยที่สมบูรณ์กว่าเดิม

สัตวแพทย์หญิงพิมพ์ชนก สรงมงคล นายสัตวแพทย์ประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์)

สัตวแพทย์หญิงพิมพ์ชนก สรงมงคล นายสัตวแพทย์ประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์)

สัตวแพทย์หญิงพิมพ์ชนก สรงมงคล นายสัตวแพทย์ประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์)

ก่อนหน้านี้ ข้อมูลจากการวิจัยของ 4 หน่วยงาน ได้แก่ คณะสัตวแพทยศาสตร์ และสัตววิทยาประยุกต์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ , คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่ได้สำรวจเพื่อประเมินจำนวนและการกระจายของจระเข้ในบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์

จระเข้ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ภาพ : เอกศักดิ์ คุ้มทรัพย์

จระเข้ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ภาพ : เอกศักดิ์ คุ้มทรัพย์

จระเข้ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ภาพ : เอกศักดิ์ คุ้มทรัพย์

 

โดยทำการสำรวจระหว่างเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2560-ส.ค.2561 ด้วยวิธีส่องไฟในเวลากลางคืน และสำรวจในเวลากลางวันด้วยเรือยนต์ตามเส้นสำรวจ 2 เส้นทาง ระยะทางรวม 38 กม.ครอบคลุมพื้นที่บริเวณชายฝั่งของบึงบอระเพ็ดประมาณ 7.6 ตร.กม.

จระเข้ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ภาพ : เอกศักดิ์ คุ้มทรัพย์

จระเข้ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ภาพ : เอกศักดิ์ คุ้มทรัพย์

จระเข้ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ภาพ : เอกศักดิ์ คุ้มทรัพย์

ผลการสำรวจพบจระเข้ไม่น้อยกว่า 17 ตัว มีความหนาแน่นของจระเข้ไม่น้อยกว่า 2.24 ตัว ตร.กม. คำนวณจำนวนประชากรจระข้ในบึงบอระเพ็ดได้  17-37 ตัว ในการศึกษาพบว่า จระเข้ส่วนมากพบในเส้นสำรวจที่ 1 ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ ที่ห้ามทำการประมงโดยเด็ดขาด แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมของมนุษย์ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพบจระเข้ และจำนวนจระเข้ที่เหลืออยู่ไม่มากในบึงบอระเพ็ดนี้ยังมีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง 

การฟักไข่ในธรรมชาติมีปัจจัยทั้งอุณหภูมิ  ความชื้นมีผลต่อการกำหนดเพศและการอยู่รอด รวมถึงการมีสัตว์ผู้ล่าตามธรรมชาติ เช่น ตัวเงินตัวทอง นก และสัตว์อื่น ๆ หรือ ลูกเล็กก็อาจจะถูกกินหรือตายเพราะความอ่อนแอ รวมถึงปัจจัยอื่น การปลูกฝังให้คนในชุมชนรักจระเข้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ

ดังนั้นการพบจระเข้ครั้งนี้ ถือเป็นนิมิตรหมายอันดี ว่ามีจระเข้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่โอกาสที่จะรอดต่อไป โดยลูกจระเข้ทั้งหมด 8 ตัว อาจรอดมา 1-2 ตัว หรืออาจจะไม่รอดเลยก็ได้ แต่ก็เป็นการคัดเลือกตามธรรมชาติแล้วแต่ความแข็งแรงของจระเข้แต่ละตัว คือ พยายามไม่เข้าไปยุ่งกับจระเข้ และปล่อยให้พัฒนาสายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ

สัตวแพทย์หญิงพิมพ์ชนก ยกตัวอย่าง กรณีละมั่งที่เคยปล่อยไปในธรรมชาติที่ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี ลูกละมั่งในลอตแรกตายหมด ขณะนั้นไม่คาดหวังว่าจะรอดทั้งหมด แต่คาดหวังว่าในลอตต่อๆ ไป จะสามารถพัฒนาตัวเองให้แข็งแกร่งขึ้นในธรรมชาติ

จนขณะนี้มีละมั่งเป็นจำนวนมากในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เช่นเดียวกับจระเข้ที่บึงบอระเพ็ด จระเข้ชุดแรกอาจจะไม่รอดก็ได้แต่เชื่อว่าในรุ่นต่อไป จะสามารถพัฒนาจนบึงบอระเพ็ดมีจระเข้ในธรรมชาติจริง ๆ อยู่ได้ 

จระเข้กว่าจะเติบโตจนผสมพันธุ์ได้ใช้เวลา 7-10 ปี มีอายุ 70 ปี เมื่อผสมพันธุ์ สามารถออกไข่ได้ 50-60 ฟอง แต่อัตรารอดไม่สูงมากนักหรือเฉลี่ยราว 20 ฟอง รวมถึงการเผชิญศัตรูทางธรรมชาติและรวมถึงกรณีไข่ฝ่อทำให้ไข่รอดจริงตามธรรมชาติยิ่งมีน้อย 

สัตวแพทย์หญิงพิมพ์ชนก ยังเตือนว่า ในช่วงนี้นักท่องเที่ยวควรจะต้องระมัดระวัง ไม่ควรเข้าไปใกล้ เพราะจระเข้หวงลูก มีพฤติกรรมก้าวร้าว จะดุร้าย แต่ด้วยปกติ ค่อนข้างจะกลัวคนและเลือกที่จะหนีมากกว่า ถ้าไม่จวนตัวหรือไม่ปลอดภัยก็ไม่ทำร้าย

ภาพ : เขตห้ามล่าสัตว์บึงบอระเพ็ด กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ : เขตห้ามล่าสัตว์บึงบอระเพ็ด กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ : เขตห้ามล่าสัตว์บึงบอระเพ็ด กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ดังนั้น การป้องกันเชิงพื้นที่จึงมีความสำคัญที่ต้องดำเนินการเป็นอันดับแรกจึงจะสามารถฟื้นฟูประชากรจระเข้ต่อไป ในอนาคตได้ บึงบอระเพ็ดสามารถพัฒนาสู่การเป็นพื้นที่อนุรักษ์จระเข้ธรรมชาติของประเทศและส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยว

อ่านข่าวอื่นๆ

ดีเอสไอ ลุยหาดยามู สอบออกเอกสารสิทธิมิชอบ 100 ไร่

ไทย "ร้อน" แตะ 40 องศาฯ 6 มี.ค.ค่าดัชนีความร้อนพุ่ง 51.4 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง