วันนี้ (7 มี.ค.2567) "ภาวะโลกร้อน" กำลังทวีความรุนแรงหนึ่งในสัญญาณเตือนของวิกฤตโลกร้อน คือ ปรากฏการณ์ ปะการังฟอกขาว เนื่องจากอากาศร้อนจัด ทำให้น้ำในมหาสมุทรร้อนขึ้นทั่วโลก
รายงานที่จัดทำโดยนักวิจัยจาก University of Colorado Boulder ซึ่งวิเคราะห์ผลการศึกษาในอดีตนานหลายทศวรรษ เพื่อศึกษาว่าน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือลดลงมากน้อยแค่ไหน ผลปรากฏว่า
ภายในช่วงกลางศตวรรษนี้ อาร์กติกอาจปราศจากน้ำแข็งที่ลอยอยู่บนผิวมหาสมุทร นานถึง 1 เดือนต่อปี ในฤดูร้อน ซึ่งเร็วกว่าการคาดการณ์เดิมราว 10 ปี
อ่าน : ไทย "ร้อน" แตะ 40 องศาฯ 6 มี.ค.ค่าดัชนีความร้อนพุ่ง 51.4
อ่าน : โลกเผชิญ “ซูเปอร์เอลนีโญ-ลานีญา” 5 ครั้ง
ผลวิจัยนี้ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีน้ำแข็งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติกเลยอย่างสิ้นเชิง แต่คำว่าปราศจากน้ำแข็ง หมายถึงมีน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติก น้อยกว่า 1 ตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่น้ำแข็ง 1 ตารางกิโลเมตร นี้ น้อยกว่า 1 ใน 5 ของพื้นที่น้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกเมื่อทศวรรษที่ 1980 เสียอีก
Alexandra Jahn จากสถาบันวิจัย Arctic and Alpine ระบุว่า ปัจจุบันยังมีน้ำแข็งรอบมหาสมุทรอาร์กติก แต่เมื่อปราศจากน้ำแข็งเหล่านี้จะไม่มีน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือ และทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกของมหาสมุทรอาร์กติก แต่จะเหลือน้ำแข็งในทะเลเฉพาะแถบชายฝั่งของกรีนแลนด์ และแถบหมู่เกาะในมหาสมุทรอาร์กติกของแคนาดา ซึ่งปรากฏการณ์นี้อาจเกิดได้เร็วขึ้นอีกนับสิบปี
ทั้งนี้ เมื่อเดือน กันยายน 2023 น้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกลดลงต่ำสุดทำสถิติ ลดลง 2.6 ล้านตารางกิโลเมตร เมื่อเทียบกับ เดือน กันยายน ปี 1979
อ่านข่าวอื่น ๆ
ชาวอเมริกัน 134 ล้านคน ใช้สิทธิหยั่งเสียง "ซูเปอร์ ทิวส์เดย์"