ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ส.อ.ท. กังวลสินค้าราคาถูกบุกตลาดไทย กระทบยอดขายวูบ 30 %

เศรษฐกิจ
2 มี.ค. 67
11:08
591
Logo Thai PBS
 ส.อ.ท. กังวลสินค้าราคาถูกบุกตลาดไทย กระทบยอดขายวูบ 30 %
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
โพล FTI เผย เอกชนห่วง สินค้าราคาถูกทะลักไทย หวั่นฉุดยอดขายในประเทศวูบ 30 % ชี้ต้นทุนผลิตตัวแปรหลักทำไทยแข่งขันยาก กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า อาหาร เครื่องสำอาง สิ่งทอ กระทบหนัก

วันนี้ (2 มี.ค.2567) นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย ผลสำรวจ FTI CEO Poll ครั้งที่ 38 ในเดือนก.พ. 2567 สินค้าราคาถูกด้อยคุณภาพบุกตลาดไทย ภาคอุตสาหกรรมรับมืออย่างไร จากกลุ่มตัวอย่าง 234 คนใน 46 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด พบว่า มีผู้ตอบแบบสำรวจที่ได้รับผลกระทบจากสินค้าราคาถูกและสินค้าไม่มีมาตรฐานที่เข้ามาทุ่มตลาดในประเทศไทย มากถึงร้อยละ 65.8

นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

และกระทบยอดขายสินค้าของไทยลดลงตั้งแต่ร้อยละ 10- 30 ในบางอุตสาหกรรม ซึ่งประเด็นดังกล่าวทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมภายในประเทศ เนื่องจากหลายอุตสาหกรรมไม่สามารถแข่งขันด้านต้นทุนกับสินค้าราคาถูกที่เข้ามาในประเทศได้

รวมทั้งมีความกังวลถึงเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภคในการเลือกใช้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพและไม่มีมาตรฐาน โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า อาหาร เครื่องสำอาง สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม สินค้าแฟชั่น วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น

อย่างไรก็ตามภาคเอกชน เสนอให้ภาครัฐเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจจับสินค้าที่ไม่มีมาตรฐานและใช้การสําแดงเท็จนำเข้าผ่านด่านศุลกากร ควบคู่ไปกับการตรวจสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานในท้องตลาดทั้ง มอก. และ อย. รวมทั้ง จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาสินค้าราคาถูกที่เข้ามาผ่านช่องทางออนไลน์ E Commerce platform

โดยการพิจารณาทบทวนข้อยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับการซื้อสินค้าออนไลน์ที่ไม่เกิน 1,500 บาท และออกมาตรการป้องกันการสําแดงราคาเท็จ ตลอดจนทบทวนเงื่อนไขการใช้ประโยชน์จากคลังสินค้าในเขตปลอดอากร (Free Zone Warehouse) เพื่อทำให้เกิดความเท่าเทียมในการขายสินค้าในประเทศ

เมื่อถามถึงสถานการณ์การแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดอาเซียน ส่วนใหญ่มองว่า ต้นทุนการผลิตของไทยที่ปรับตัวสูงขึ้นมากทั้งจากค่าไฟฟ้า ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ทำให้สินค้าไทยในปัจจุบันเริ่มที่จะแข่งขันได้ยากยิ่งขึ้นในตลาดอาเซียน ซึ่งจะเห็นได้จากมูลค่าการส่งออกสินค้าไปอาเซียน ปี 2566 ที่ลดลงกว่าร้อยละ 7.12 เมื่อเทียบกับปี 2565

ทั้งนี้ ส.อ.ท. แบ่งแบบสอบถามออกเป็น 6 ข้อ ถามว่า ภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากสินค้าราคาถูกและไม่มีมาตรฐานที่เข้ามาทุ่มตลาดในประเทศไทยระดับใด พบว่า ส่วนใหญ่มองว่า ร้อยละ 20.9 ยอดขายลดลงร้อยละ 10 ร้อยละ 19.7 ยอดขายลดลงร้อยละ 20 และร้อยละ 7.3 มองว่ายอดขายลดลงร้อยละ 30 และร้อยละ 34.2 มองว่าไม่ได้รับผลกระทบ

เมื่อถามว่า ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลต่อผลกระทบจากสินค้าราคาถูกและไม่มีมาตรฐานในเรื่องใด (Multiple choices) ส่วนใหญ่ 81.8 มองว่า อุตสาหกรรมภายในประเทศสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันด้านต้นทุนได้ และร้อยละ 74.4 มองว่า ความปลอดภัยของผู้บริโภคในการเลือกใช้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพ

ภาคอุตสาหกรรมมีแนวทางการปรับตัวเพื่อแข่งขันกับสินค้าราคาถูกที่เข้ามาในตลาดอย่างไร (Multiple choices) พบว่า ร้อยละ 65.3 มองว่าควรยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้รับรองมาตรฐาน เช่น มอก., อย. และร้อยละ 58.1 มองว่าการสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่ยอมรับ และพัฒนาบริการหลังการขาย

ภาครัฐควรมีมาตรการปกป้องผู้ประกอบการไทยจากสินค้าราคาถูกและไม่มีมาตรฐานอย่างไร (Multiple choices) ผู้ตอบแบบสอบร้อยละ 78.2 มองว่าควรเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจจับสินค้าไม่มีมาตรฐานและสําแดงเท็จ และร้อยละ 66.2 ภาครัฐควร ทบทวนข้อยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับการซื้อสินค้าออนไลน์ ที่ไม่เกิน 1,500 บาท และออกมาตรการป้องกันการสําแดงราคาเท็จ

ส่วนกลุ่มสินค้าใดที่ภาครัฐควรเร่งเข้ามาช่วยเหลือเพื่อลดผลกระทบจากสินค้าราคาถูกและไม่มีมาตรฐาน (Multiple choices) ส่วนใหญ่มองว่า ร้อยละ 70 กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า รองมาร้อยละ 55.6 กลุ่ม อาหาร และเครื่องสำอาง และร้อยละ 49.6 กลุ่ม สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และสินค้าแฟชั่น

อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมมีมุมมองต่อการแข่งขันกับสินค้าที่ทะลักเข้ามาในตลาดอาเซียนอย่างไร ร้อยละ57.7 ตอบว่า สินค้าไทยแข่งขันได้ยาก เนื่องจากต้นทุนที่อยู่ในระดับสูง และร้อยละ 31.2 สินค้าไทยถูกแยกส่วนแบ่งทางการตลาดบางส่วน แต่ยังสามารถรักษาตลาดไว้ได้ และร้อยละ 11.1มองว่า สินค้าไทยยังคงเป็นที่นิยมและสามารถแข่งขัน

 อ่านข่าวอื่นๆ:

สศอ.ชี้ หนี้ครัวเรือนพุ่ง เศรษฐกิจฟื้นช้า กดดัชนี MPI หดตัว 2.94%

ประเมิน "หนี้นอกระบบ" นายกฯ ไม่พอใจตัวเลขลงทะเบียนแก้หนี้

ตลาดรถมือสองแอฟริกาใต้ บูม “พาณิชย์” เห็นช่องส่งออกอุปกรณ์ยานยนต์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง